ตายเป็นตาย รัฐบาลจะไม่ยอมถอย

พ.ต.ท.ทักษิณชี้ขาด:

“ตายเป็นตายรัฐบาลจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด”

มุ่งหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ทั่วประเทศแน่นอน


การแปรรูป กฟผ.:บทเรียนจาก ปตท.

โดย ประสาท มีแต้ม

๑. ความเป็นมา

เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๗ นายกทักษิณฯได้กล่าวอย่างเกรี้ยวกราดผ่านรายการวิทยุประจำเช้าวันเสาร์ในประ เด็นการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งในขณะนั้นได้เกิดกระแสการคัดค้านจากทั่วประเทศว่า “ตายเป็นตาย รัฐบาลจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด”ด้วยเหตุผล ๒ ด้าน คือ

ด้านที่เป็นเหตุผลหลักที่ต้องแปรรูปมี ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อความมีประสิทธิภาพและให้เกิดการแข่งขัน (๒) เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ (๓) เพื่อให้เกิดการระดมทุนในการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ต่อไปได้ โดยรัฐบาลจะไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ ให้ กฟผ. หรือไม่ต้องการเพิ่มหนี้สาธารณะให้กับประเทศอีก

สำหรับเหตุผลของด้านที่ไม่ยอมถอยก็เพราะกลัวว่าจะเสียความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศ หรือเกรงว่าหุ้นจะร่วงอย่างมโหฬารนั่นเอง

แต่ในที่สุดรัฐบาลทักษิณก็ต้องยอมถอยเพราะเกรงจะเสียคะแนนนิยมในช่วงการเลือกตั้งใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘

เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงการรณรงค์หาเสียงครั้งนี้ พรรคไทยรักไทยก็ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้เพื่อให้ประชาชนผู้ออกเสียงได้มีการถ กเถียงและใช้ประกอบการตัดสินใจกันเลย

ที่หนักหนากว่านั้น หัวหน้าพรรคไทยรักไทยก็ไม่ยอมขึ้นเวทีเพื่อถกนโยบายกับพรรคอื่นเหมือนเช่นการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านๆมา

ตรงกันข้ามกับการเมืองในประเทศญี่ปุ่น ที่นายกฯโคอิซึมิใช้ประเด็นการขายกิจการไปรษณีย์เป็นประเด็นรณรงค์

หลังจากชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นเมื่อต้นปีนี้ รัฐบาลทักษิณกลับเตรียมนำรัฐวิสาหกิจที่ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประชาชน อย่างเช่น กฟผ. แต่งตัวแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดอย่างเงียบเชียบ เพื่อจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในเร็วๆนี้ พร้อมกับการใช้เล่ห์เหลี่ยมสารพัด เช่น ตอบแทนผลประโยชน์ก้อนโตให้กับพนักงานที่เคยคัดค้านอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันพนักงานที่ยืนหยัดคัดค้านก็จะถูกกลั่นแกล้งต่างๆนานาจากผู้บริหาร

บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุผลในการแปรรูปว่าข้ออ้างของนายกฯทั้ง ๓ ข้อนั้นว่าแท้ที่จริงแล้วมีเหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้จะนำเสนอบทเรียนจากการแปรรูป ปตท.มาประกอบด้วย

๒. สถานภาพของ กฟผ.

กฟผ.(อายุองค์กรประมาณ ๓๕ ปี) เป็นกิจการของรัฐหรือของประชาชนเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้กับประชาชน จากนั้นก็ส่งพลังงานไฟฟ้าต่อให้กับการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพ ื่อขายต่อให้กับประชาชน ทรัพย์สินของ กฟผ. ไม่ว่าจะเป็นที่ดินบริเวณที่สายไฟฟ้าผ่าน หรือเขื่อนต่างๆ ล้วนได้มาจากการเวนคืนหรือรอนสิทธิ์มาจากประชาชน

จากรายงานประจำปี ๒๕๔๗ กฟผ. มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ๓.๗ แสนล้านบาท(ขอใช้ตัวเลขเพื่อให้เข้าใจกันง่ายง่ายๆ) มีรายได้รวมในปีนั้นเท่ากับ ๒.๓ แสนล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้น ๔๒,๐๐๐ ล้านบาท และกำไรสุทธิ ๓ หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น ๑๘.๒ % และ ๑๒.๙ % ของรายได้ ตามลำดับ

กิจการที่มีขนาดใหญ่และทำกำไรสุทธิอย่างงามอย่างต่อเนื่องมาตลอดจะไม่มีปัญญาลงทุนเองเชียวหรือ และถ้าคิดจะขอกู้ ด้วยหลักทรัพย์มากมายและมีลักษณะผูกขาดอยู่ในตัวเช่นนี้ เจ้าของเงินจะกลัวอะไร หรือถ้าคิดจะออกพันธบัตร หรือตั้ง “กองทุน” ก็คงมีคนแย่งกันซื้อ

ในด้านการขยายการลงทุนเพิ่มเติม จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP( 2547-2558) กฟผ. ที่เคยวางไว้ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติมปีละ ๑,๘๖๐ เมกกะวัตต์ ก็กำลังปรับลดลงมาที่ระดับ ๑,๐๐๐เมกกะวัตต์ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวลดลง จากเดิมที่คาดการปีนี้จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4.5-5.5% เหลือเพียง 3.5-4.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(คำสัมภาษณ์ของนายไกรสีห์ กรรณสูตร จากผู้จัดการรายวัน- ๒๐ ตุลาคม ๔๘)

หากประเมินค่าก่อสร้างอย่างคร่าวๆ ก็พบว่ากำไรสุทธิที่ กฟผ.ได้รับก็พอๆกับต้นทุนค่าสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ นั่นคือไม่ต้องกู้เพิ่มก็สามารถสร้างได้

ในด้านความโปร่งใสหรือการตรวจสอบได้ ระบบระเบียบการเงินการคลังของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายก็เข้มงวดพอใช้ได้ไม่ใช่หรือ

อย่างไรก็ตาม หากนักการเมืองคิดจะโกงกิน พวกเขาก็มีวิธีการที่แยบยลจนยากที่ “ระเบียบการเงิน” ใดๆ จะจับได้(แต่สังคมจับได้)

ในด้านการแข่งขัน แม้ กฟผ.กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว แต่ก็พยายามหามาตรการเพื่อให้ กฟผ. มีส่วนแบ่งการตลาดถึง ๕๐% นับว่าเป็นมาตรการที่ไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่นอยู่แล้ว

อีกอย่างหนึ่ง ระบบสายส่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งไฟฟ้าและเคยเป็นสมบัติของประชาชานมาก ่อน แทนที่จะถูกกันไว้เป็นสมบัติของส่วนรวม บริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) กลับยึดเอาไปด้วย

เมื่อสายส่งและเสาไฟฟ้าเป็นของ กฟผ. แต่เพียงผู้เดียว ย่อมเป็นการกีดกันผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นๆไปในตัว กล่าวเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ก็คือว่า ระบบสายส่งไฟฟ้าเป็นถนน ผู้ผลิตไฟฟ้าเหมือนรถยนต์ หากถนนไม่ได้เป็นสมบัติของสาธารณะแล้วอะไรจะเกิดขึ้น

ดังนั้นเหตุผลในการแปรรูป กฟผ. ที่ท่านนายกฯกล่าวล้วนไม่น่าเชื่อถือทั้ง ๓ ข้อและทั้งสองด้าน(รวมด้านที่ไม่ยอมถอย)

๓. ผลประโยชน์ ๔ ชั้นของกลุ่มทุน

ในกระบวนการขายรัฐวิสาหกิจต้องมีการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปกติมักจะคิดค่าปรึกษา (advisory fee) ประมาณ ๑% ของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่จะขาย และอีกไม่เกิน ๓% เป็นค่าประกันการขายหุ้น(underwriting fee) กฟผ. มีทรัพย์ถึง ๓.๗ แสนล้านบาท เงินก้อนนี้จะโตขนาดไหน นี่เป็นผลประโยชน์ชั้นที่หนึ่ง

จากบทเรียนในการแปรรูป ปตท. หุ้นเข้าตลาดในราคา ๓๕ บาทต่อหุ้น ปัจจุบันขึ้นไปอยู่ที่ ๒๓๐ บาท จำนวน ๒,๘๕๐ ล้านหุ้น ถ้าคิดว่ามีการซื้อขายกันเพียง ๒๕% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เราสามารถคำนวณได้ว่าส่วนต่างของราคามีค่าถึงกว่า ๑.๓ แสนล้านบาท

นี่เป็นผลประโยชน์ขั้นที่สอง

แม้ท่านนายกฯทักษิณได้ประกาศเตือนในที่ประชุม ครม.ว่า ห้ามญาติพี่น้องของรัฐมนตรีเข้าไปซื้อ แต่ก็เป็นการยากที่จะห้ามคนขับรถของรัฐมนตรี

เพื่อนฝูงในแวดวง ปตท. เล่าให้ผมฟังว่า ตอนที่หุ้น ปตท.ขึ้นถึง ๔๕ บาท พนักงานของ ปตท.ก็รีบขายออกไปเยอะแล้ว เรื่องนี้พนักงาน กฟผ. โปรดระวัง แต่ก็คงจะป้องกันได้ยาก เพราะพนักงานระดับล่างๆ ก็เตรียมกู้สหกรณ์เพื่อมาซื้อหุ้น กฟผ. ถึงวันนั้นก็คงต้องมีการขายเพื่อลดหนี้

ไหนๆ ก็พูดถึงพนักงาน กฟผ. แล้ว ที่ทางรัฐบาลบอกว่าจะไม่มีการปลดพนักงานออกนั้น โปรดระวังให้ดี เพราะถ้าคิดจำนวนพนักงานต่อจำนวนเมกกะวัตต์ที่เรามีแล้ว พบว่า กฟผ.มีพนักงานสูงกว่าของประเทศญี่ปุ่นถึงเกือบ ๓ เท่า

ถึงรัฐบาลจะ “อมพระมาพูด” ว่าจะไม่ปลดพนักงานก็ต้องคิดให้ดี

สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สาม คือการส่งคนของตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการประจำ รวมทั้งเป็นผู้บริหารด้วย ในกรณีของ ปตท. ซึ่งมีคณะกรรมการ ๑๕ คน ปรากฏว่ามีอยู่ ๓ ท่านเป็นผู้ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับท่านนายกฯทักษิณ เช่น ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และที่ปรึกษานายกฯ เป็นต้น นอกจากนี้ระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.ก็มีนามสกุลเดียวกับท่านนายกฯ ด้วย

เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท.กับ กฟผ. แล้ว จะพบสิ่งที่น่าสนใจ ๒ อย่าง คือ (๑) กรรมการของ ปตท.บางคนยังเป็นกรรมการของ ปตท. ด้วย เช่น คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น และ (๒) ประมาณ ๗๐% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ กฟผ. ใช้อยู่ต้องซื้อมาจาก ปตท. ในราคาที่แพงมากโดยเฉพาะค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ทุก ๑๐๐ บาทที่คนไทยจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าจะกลับเข้าสู่กระเป๋าของ ปตท.ถึง ๔๓ บาท

ผมเข้าใจว่า นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ กฟผ. ไม่ยอมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น กังหันลม ที่มีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ ๑ หมื่นล้านบาท หรือผลิตจากขี้หมู ขี้วัวที่มีมูลค่ากว่าปีละ ๑ พันล้านบาท นี่ยังไม่นับไฟฟ้าจากชีวมวล เช่น เศษไม้ ซึ่งในบ้านเรามีจำนวนมหาศาลและเป็นแหล่งเงินที่ชาวบ้านตามหัวไร่ปลายนาสามาร ถใช้เป็นตัวลดปัญหาความยากจนลงได้

สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สี่ คือระบบอินเตอร์เนตที่จะมากับสายส่งไฟฟ้าซึ่งสามารถเข้าถึงเกินกว่า ๙๘% ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อวันนั้นมาถึงผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์คงจะเข้ามาร่วมทุนด้วย

๔. บทเรียน(อีกอย่างหนึ่ง) จาก ปตท.

ท่านนายกฯทักษิณกล่าวว่า หุ้นของ กฟผ. จะนำออกมาขายเพียง ๓๐% เท่านั้น ที่เหลือยังคงเป็นของกระทรวงการคลังอยู่

เรื่องนี้ก็เป็นกลลวงอีกอย่างหนึ่ง จากรายงานของ ปตท. พบว่าในเดือนเมษายน ๒๕๔๖ กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙.๒๘% แต่พอมาถึง กันยายน ๒๕๔๗ กลับลดลงเหลือเพียง ๕๒.๔๘% เท่านั้น

แปลเป็นไทยได้ว่า ขณะนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีของ ปตท. ในปี ๒๕๔๗ ซึ่งสูงถึง ๖๒,๖๖๖ ล้านบาท(หรือ ๑๒.๒% ของยอดขาย) แทนที่จะเป็นของประชาชนทั้งหมดก็ต้องตกเป็นของผู้ถือหุ้นไม่กี่คนถึงเกือบคร ึ่งหนึ่ง

คาดกันว่าในปี ๒๕๔๘ ปตท.จะมีกำไรสุทธิเกือบหนึ่งแสนล้านบาท ในขณะที่คนไทยทั้งประเทศต้องแบกรับจ่ายค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมี มาก่อน

ผมจะขอจบบทความนี้ด้วยการเปรียบเทียบค่าตอบแทนของกรรมการ(เบี้ยประชุมและโบน ัส) ของ ปตท.(ซึ่งแปรรูปไปแล้ว) และ กฟผ. (ซึ่งยังไม่แปรรูป) ในปีเดียวกันคือ ๒๕๔๗

พบว่า ของ กฟผ. มีจำนวน ๒.๖๙ ล้านบาท ในขณะที่ ปตท. มีจำนวน ๒๒.๙ ล้านบาท คิดเป็นกว่า ๘ เท่าตัว ส่วนเงินเดือนและโบนัสของผู้บริหาร ปตท. จำนวน ๘ คน รับไปเบาะๆ รวม ๖๐.๒ ล้านบาท

เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นกระบวนการดังในการ์ตูนจากหนังสือ “ซื้อรัฐวิสาหกิจแถมประเทศไทย” โดย ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ คือเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมทรราชย์” ที่ผมนำเสนอไว้ตั้งแต่ต้น นั่นเอง

1 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]



<< Home