Thaksinomics มีที่ไหน?

ผมเคยกล่าวไว้ในหนังสือ “พิษทักษิณ: ผลกระทบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมภายใต้ระบอบทักษิณ” (OPENBOOKS, 2547) ว่า ก่อนที่เราจะถกเถียงกันว่า ระบอบเศรษฐกิจแบบทักษิณ หรือ Thaksinomics มีเนื้อหาสาระอย่างไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนตรงไหน คำถามสำคัญ ที่ต้องตอบเสียก่อนก็คือ Thaksinomics มีจริงหรือไม่? คำตอบของผมคือ ไม่มี !!!

ผมคิดว่า Thaksinomics ไม่มีจริง หากเป็นเพียงวาทกรรมที่ถูกริเริ่มสร้างขึ้นและผลิตซ้ำบ่อยครั้งโดยฝ่ายนิยมทักษิณ จนติดปาก สื่อมวลชนและสังคม ที่ทางของ Thaksinomics เหมือนกับเป็นวาระที่ถูกกำหนดมาให้แล้ว จำเป็นต้องยอมรับมัน จนดูเสมือนว่าเราทำได้ แค่เพียงตอบคำถามว่า เราจะ “อธิบาย” มันอย่างไร “อยู่” กับมันอย่างไร และมันจะนำเราไปสู่อะไรThaksinomics ลอยมาจากที่ใดและปักรากอยู่ในสังคมเศรษฐกิจไทยตั้งแต่เมื่อใด ผมเชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ตัวและยังรู้สึกงงๆ อยู่ รู้ตัวอีกทีเราก็อยู่ภายใต้ Thaksinomics กันหมดแล้ว จึงถือเป็นภาระที่จะคิด ฟัง อ่าน เขียน เพื่อ “เข้าใจ” มันให้มากที่สุด จะได้ “วิเคราะห์” และ “วิจารณ์” มันได้ เมื่อนักวิชาการพยายามผลิตคำอธิบายและหาเหตุผลประกอบดำรงอยู่ของมัน (เสมือนว่ามันมีอยู่จริง มันมีอยู่แล้ว) นักวิชาการจึงได้แต่เล่นตามเกมวาทกรรมที่ถูกกำหนดวาระมาแล้วตั้งแต่ต้น ยิ่งทุ่มทรัพยากร ทั้งสมองและเวลา ในการผลิตคำอธิบายด้วยเหตุผลทางวิชาการ ไม่ว่าจะในทางบวกหรือลบ มากเท่าใด ก็ยิ่งสะท้อนความเชื่อที่ว่า Thaksinomics มีอยู่จริง และยิ่งยืนยันความเชื่อว่าระบอบดังกล่าวมีลักษณะตัวตนเฉพาะ (Identity) ซึ่งแตกต่างออกไปจากระบอบอื่นหรือ แตกต่างจากอดีต จริงความชอบธรรม (ในการดำรงอยู่) ของระบอบดังกล่าวก็เกิดขึ้น แม้จะเป็นระบอบที่ไม่ชอบธรรมก็ตาม หรือจะเป็นระบอบที่ชอบธรรมก็ตาม (ซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกต่อไปแล้ว แต่ประเด็นสำคัญคือ เรายอมรับการมีอยู่ของมันแล้วต่างหาก ซึ่งการยอมรับการมีอยู่จริงของมันมีความสำคัญไม่แพ้ประเด็นที่ว่า มันอยู่อย่างไร ทำงานอย่างไร ดีหรือเลว)

ผมมีความเห็นว่า Thaksinomics มีหน้าที่ในการดำรงอยู่ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง มากกว่าในฐานะชุดของนโยบายเศรษฐกิจที่มีเนื้อหาสาระและตัวตนเฉพาะ อย่างที่ระบอบหนึ่งๆ ควรจะเป็น Thaksinomics เป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการสร้างยี่ห้อทางการเมือง เป็นหนึ่งในกระบวนการทำสินค้า(ทางการเมืองที่ผลิตโดยคุณทักษิณ)ให้ผู้บริโภคในตลาดนโยบายรู้สึกแตกต่าง Thaksinomics ทำหน้าที่เป็น “เปลือก” หุ้มสินค้าเดิมๆ ให้ดูแตกต่างทันสมัย แม้เนื้อหาข้างในจะกลวงโบ๋ ซ้ำซาก ไร้อุดมการณ์เบื้องหลัง และไร้จุดยืน ก็ตามเช่นนี้แล้ว สำหรับเจ้าของที่ต้องการขายสินค้ายี่ห้อนี้ การที่สังคมยอมรับการมีอยู่ของมัน ก็คือ การยอมรับว่าสินค้านั้นแตกต่างจากสินค้าอื่นจริง จะใช้ดีหรือไม่ สะอาดหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่คนให้ “คุณค่า” และถูก “ทำให้เชื่อ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึง “ความแตกต่าง” ของมัน เป็นทุนทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของคุณทักษิณ ที่ทำให้เขาแตกต่างโดดเด่นเหนือนักการเมืองอื่น

เหตุใดผมจึงคิดว่า Thaksinomics ไม่มีจริง? ผมคิดว่า หากเราจะเรียกนโยบายเศรษฐกิจว่าเป็น “ระบอบ” อะไรสักอย่าง ชุดของนโยบายเศรษฐกิจนั้นต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นสิ่งที่เจ้าของระบอบได้คิดใหม่ทำใหม่ขึ้นมา อย่างแท้จริง อย่างแตกต่างจากชุดความคิดเดิม มุมมองต่อโลกเดิม ที่เคยคิดเคยเชื่อกันอยู่แล้ว นอกจากนั้น ชุดของนโยบายเศรษฐกิจต้องมี “ความคงเส้นคงวา” (Consistency) อย่างยิ่ง และสามารถสืบค้นไปถึง “อุดมการณ์” (Ideology) ที่อยู่เบื้องหลังชุดของนโยบายเศรษฐกิจเหล่านั้นได้ Thaksinomics ไม่มีลักษณะสำคัญดังกล่าว เราจึงไม่ควรให้คุณค่ามันในฐานะระบอบ ในทางกลับกันเราจำเป็นต้องตรวจสอบการดำรงอยู่ของมัน ก่อนที่จะถูกทำให้เชื่อง และเชื่อในการมีอยู่ของมันอย่างง่ายๆ หรืออย่างไม่รู้ตัว เหตุผลสำคัญที่ผมคิดว่า Thaksinomics มีสถานะเพียงแค่เครื่องมือทางการเมือง หาใช่ระบอบเศรษฐกิจใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจาก

หนึ่ง Thaksinomics ไม่มีแก่นแกนความคิดที่เป็นระบบ และไม่มีความคงเส้นคงวาของนโยบาย เต็มไปด้วยความคิดและนโยบายเศรษฐกิจที่สะเปะสะปะ แยกส่วน ยากจะหาจุดร่วม ไม่มีความคิดองค์รวมที่เป็นระบบ หาแก่นแกนที่เป็นปรัชญาพื้นฐานหรืออุดมการณ์เบื้องหลังไม่ได้

หากถามผมว่า ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของคุณทักษิณคืออะไร ผมตอบไม่ได้ เพราะมันไม่มีคุณทักษิณเป็นนักธุรกิจทั้งตัวและหัวใจ หาใช่นักเศรษฐศาสตร์ไม่ ไม่ว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์กระแสใด

วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มีเป้าหมายเพื่อจัดสรรทรัพยากรส่วนรวมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งแตกต่างจากนักธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด สนใจเฉพาะส่วนของตัวเองเป็นสำคัญ มิได้ใส่ใจภาพรวม หรือป่าทั้งป่า ที่มีตัวละครหลากหลายประกอบกันเป็นเศรษฐกิจ ต้องเข้าใจว่า หน่วยเศรษฐกิจหนึ่งอาจดีขึ้นรวยขึ้นภายใต้การแบกรับต้นทุนของหน่วยเศรษฐกิจอื่น

วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสรอง มีเป้าหมายเพื่ออธิบายกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ปัจจัยทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม โดยส่วนมาก มีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมในบั้นปลาย วิธีคิดเช่นนี้ยิ่งแตกต่างจากวิธีคิดของนักธุรกิจทั่วไปในระบบทุนนิยมที่ให้คุณค่ากับการแสวงหาความร่ำรวยส่วนตนเหนือสิ่งอื่นใด หาได้ใส่ใจปัจจัยอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่ มิหนำซ้ำ บ่อยครั้ง บนเส้นทางแสวงหาความร่ำรวยยังได้ทำลายความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม

เช่นนี้แล้ว ชุดของนโยบายเศรษฐกิจในรัฐบาลทักษิณจึงมิได้มีจุดปลายเพื่อให้สังคมส่วนรวมมีสวัสดิการสูงสุด (คนทั่วไปในสังคมกินดีอยู่ดีมากที่สุด) แต่อย่างใด หากเป็นนโยบายเฉพาะส่วน เฉพาะกลุ่ม เสียมากกว่า กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มอาจได้ประโยชน์จากบางนโยบาย โดยที่กลุ่มอื่นต้องแบกรับภาระต้นทุน
แม้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้จะเป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลอื่นก็จริง แต่เมื่อนำนโยบายที่แยกส่วนมาผสมกันแล้ว กลับขัดแย้งไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
นโยบายเศรษฐกิจแต่ละนโยบายตอบสนองอุดมการณ์ต่างรูปแบบกัน อย่างชนิดที่ไม่น่าจะอยู่ร่วมกันได้ ดังเช่น การผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับนโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่น โฆษณาชวนเชื่อว่าส่งเสริมให้คนไทยและประเทศไทยพึ่งตนเอง ยืนอยู่บนขาตนเอง แต่กลับใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทำให้ชาวบ้านมีหนี้และต้องพึ่งรัฐมากขึ้น อีกทั้ง ยังผลักดันนโยบายเปิดเสรีการค้าและการเงิน ที่ลดอำนาจอธิปไตยในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและทำให้ต้องพึ่งพิงภาคต่างประเทศมากขึ้น

ตัวอย่างอื่นๆ ของนโยบายที่ขัดแย้งกันเองในเชิงอุดมการณ์ เช่น นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ(เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กับนโยบายแปลงวิสาหกิจเอกชนเป็นของรัฐ (เช่น รถไฟฟ้าหรือซื้อสโมสรฟุตบอล) นโยบายให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคน แต่ใช้ผลกำไรของหวยบนดิน ที่ทำลายคุณภาพคน นโยบายประกาศสงครามกับคอร์รัปชั่นทั้งที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น

สอง โดยเนื้อหาแล้ว นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณมิได้มีชุดความคิดหรือนโยบายเศรษฐกิจที่คิดใหม่ทำใหม่ ไม่มีการประดิษฐ์องค์ความรู้ใหม่ทางเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลก็ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจคล้ายกันนี้ โดยด้านหนึ่ง ใช้นโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่นส่งเสริมการเปิดเสรี แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ลดการกำกับควบคุมของภาครัฐ เป็นมิตรกับสถาบัน “ตลาด” ตามแรงกดดันจากสถาบันแบบเสรีนิยมใหม่ เช่น จากองค์กรระหว่างประเทศ อย่าง IMF จากสิ่งแวดล้อมของโลกาภิวัตน์ ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ใช้นโยบายชาตินิยม ท้องถิ่นนิยม และประชานิยม เช่น ช่วยเหลือกลุ่มทุนในประเทศ เอาใจคนยากจนระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้คนจนหายจน และลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย นโยบายหรือเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ เช่น นโยบายรัฐสวัสดิการทั้งหลาย นโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ก็เคยมีผู้ใช้ในอดีต หรือเลียนแบบต้นตอมาจากต่างประเทศแล้วนำมาประยุกต์ ปรับปรุง จัดหีบห่อเสียใหม่

ลำพังการพิจารณาเฉพาะรูปแบบการบริหารที่แตกต่าง เช่น การตัดสินใจอย่างฉับไว การดึงอำนาจบริหารแทบทุกระดับเข้าสู่ตัวเองเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท การใช้วิถีนักธุรกิจมาบริหารระบบราชการ ความโดดเด่นและเหนือชั้นด้านการตลาด ฯลฯ ไม่เพียงพอที่จะเรียกมันว่า “ระบอบใหม่” เพราะปัจจัยเหล่านั้นเป็นเพียงระดับพื้นผิวหรือเปลือกนอก หาใช่ระดับเนื้อในที่เป็นแก่นแท้ของมัน

Thaksinomics จึงเป็นระบอบ (จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ระบอบ) ที่เราให้คุณค่ามันสูงเกินไป ทั้งที่ไส้ในฉาบฉวยสับสน ไร้อุดมการณ์เบื้องหลัง ไร้จุดยืน มิได้ผลิตองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาใหม่แต่อย่างใด มิพักต้องเอ่ยถึงปัญหาการขาดกติกากำกับควบคุมที่ดี (Good Governance) นอกจากนั้น ชุดของนโยบายเศรษฐกิจอาจสร้างภาระให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว ดังที่นักเศรษฐศาสตร์มักวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนืองๆ
น่าเศร้าตรงที่ คนไทยสามารถทำได้ดีที่สุด ก็แค่ “รู้ทัน” เท่านั้น
รู้ทัน ... แล้วไงต่อล่ะครับ ?
ทางออกสำหรับคนกลัวถูกกระทืบอยู่ตรงไหนครับ ?

-- ปกป้อง จันวิทย์

8 Comments:

  • TDRI ECONOMISTS:
    Thaksinomics 'not a driver of growth' 

    Members of the country's foremost development research think-tank said yesterday Thaksin Shinawatra's economic policy had not contributed to the country's bullish economic performance over the past five years, as the prime minister has frequently claimed.


    Economists at the Thailand Development Research Institute (TDRI) said the Thaksin government had instead left more questions hanging over economic performance, transparency of policy management, populist policies and universal healthcare schemes.


    The four economists presented their assessment of "Thaksinomics" during a press conference at the Thai Journalists' Association.


    "We are accused by the government of being its regular critics. However, we have left bias behind and conducted our analysis based on facts and numbers," said Ammar Siamwalla, a respected TDRI economist.


    He insisted the assessment was the personal opinion of the economists rather than an official TDRI statement.


    The economists came up with four conclusions.


    First, Thaksin should not take all of the credit for the economic recovery from the 1997 crisis.


    He said this government had benefited from the economic stability laid down by the previous government of Chuan Leekpai, which had striven for fiscal austerity, said Somchai Jitsuchon, TDRI's research director for macroeconomic development.


    Thaksin has often said his government was the main factor in driving the country out of the clutches of the International Monetary Fund.


    However, the economists said the process of recovery had already been "auto-piloted" from the previous government.


    Besides this, the process for economic recovery bore fruit under the Thaksin government, as it took five and a half years for the country to recover.


    Among Asian countries affected by the financial crisis, Thailand suffered most, with economic growth of minus 6.1 per cent from 1997-98.


    The deeper economic problems led to a later recovery compared with that for Malaysia, the Philippines, South Korea and Singapore, whose recovery took only two and a half years, said Somchai.


    Second, there is no evidence to show that the Thai economy under Thaksin has performed better than that of neighbouring countries.


    Thailand's average economic growth was 5 per cent from 2001-05, better by 0.5 to 1 per cent than other Asean countries.


    Somchai noted, however, that growth was higher only during the first three years of the Thaksin government, with the last two years being the same as for other countries.


    Somchai said the government may blame the lower growth rate on the tsunami for having an adverse affect on the tourism industry, but any real impact was small, shaving only 0.35 per cent off of last year's GDP.


    Moreover, the dual-track policy, a key part of Thaksinomics, has not done much to promote domestic consumption. A rise in domestic consumption was the result of a low-interest-rate environment.


    Furthermore, the public did not fully use measures under the dual-track policy to promote their capabilities, which has led to debt-accumulation problems.


    Nonetheless, returns on stock-market investment have increased remarkably under the Thaksin government.


    But returns in the past two years have diminished.


    Overall, returns from stock-market investment under Thaksin have yet to recoup the accumulated losses that investors incurred from the financial crisis.


    "So, we cannot claim that Thaksin's economic management was obviously better than that for other countries. Export demand largely contributed to growth," he said.


    The economists also noted that Thaksin's populist policies had not boosted capacity among borrowers.


    The Thaksin government allocated Bt80 billion to a revolving fund aimed at increasing income, reducing expenditure and creating opportunity for villagers.


    Among the various populist programmes, spending on the Village Fund scheme was the highest, with the fastest disbursement, said Somchai.


    Somchai also charged that government debt restructuring for the poor missed its target.


    He said the government register of the poor was not accurate and pointed out that 84.9 per cent those who registered as poor were in fact not poor.


    He said 82 per cent of those who did not show up for registration were poor.


    While the scheme was created with good intentions for helping the poor, it passed over the poor, he said.


    Somkiat Tangkitvanich, a TDRI research director, also said the Thaksin government had implemented a number of policies that also, by coincidence, benefited Shin Corp subsidiaries.


    For instance, the Board of Investment granted an eight-year tax exemption for Shin Satellite's iPSTAR project. The corporate tax exemption in this case totalled Bt16 billion.


    Moreover, the Thai government transferred the risk from the Burmese government to Thai taxpayers by guaranteeing the Exim Bank's loan extension for the Burmese government for telecom infrastructure development, of which a certain amount was for purchasing the services from one Thai company.

    Wichit Chaitrong


    The Nation
    http://www.nationmultimedia.com/2006/03/30/business/business_30000503.php  

    Posted by Nation

    By Anonymous Anonymous, At 3/30/2006 10:45:00 AM  

  • คนเขียนอุบาทว์มาก ไม่มีความเป็นกลางในการเขียนบทความ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง (facts) แต่เป็นแค่ความคิดเห็น (opinion) แล้วจะมาเขียนระบายหาสวรรค์วิมาณอะไร ไปหากำแพงซอยเปลี่ยว ๆ ขีดเขียนทาสีเล่น
    ตอนไม่มีคนผ่านมาเห็นน่าจะดีกว่า ทำเป็นเขียนเหมือนจะมีความรู้ ข้อเท็จจริงที่ศึกษามา อ้างอิงได้ แต่เปล่าเลยเป็นแค่ข้อคิดเห็นล้วน ๆ ไร้สาระ เสียเวลาชาวบ้านนั่งอ่าน ระบบการศึกษาของคนไทยมันแย่แบบนี้แหละ คนเขียนสะท้อน
    ออกมาให้เห็นชัดเจนว่า ระบบการศึกษาของคนไทยที่ผ่านมาผลิตคนไทยให้มีคุณภาพได้แค่นี้ 

    Posted by เอือม

    By Anonymous Anonymous, At 6/01/2006 12:00:00 AM  

  • Thai people and Thai media nowadays are at opposite sides. Thai media is not neutral media anymore and it well has its purpose as repeatedly and obviously demonstrated in biassed opinions. Problem arises from Thai people lack systematic education that will help them in their judgement. Only stupid Thai people will believe in what Thai media are saying currently. Smart Thai people will know immediately what Thai media say are now full of bias and not represent facts as it should be for the media...

    By Anonymous Anonymous, At 6/01/2006 12:35:00 AM  

  • คุณเอือมมีขนหน้าแข้งใครติดปากบ้างใหมครับ 

    Posted by เอือมคุณเอือม

    By Anonymous Anonymous, At 8/16/2006 02:08:00 PM  

  • As a Thai, I have to regretfully agree with the comment made by ANONYMOUS above. The Thai media is totally not neutral anymore. Sadly, I cannot believe that media has affected the Thais this much.

    And the comment made above, please make your statement more trustworthy. This only creates tension within the country.

    For the Thais' sake. 

    Posted by Champ

    By Anonymous Anonymous, At 11/08/2006 08:40:00 AM  

  • I like Thaksin.
    Although I cannot tell you that he is absolutely good man, he is the best PM of Thailand as I am alive.
    But, I am sure that he is the best hero of Thailand.
    Who could do many things for Thailand as he did?
    Please come back, fight for the other Thais(Total Thais-the worst peple.)?
    Don't mind if there must be killing. Kill bad people for the rest can go on. Kill them.
    Come back, kill them. The first one should be the musalim soldier. 

    Posted by SK

    By Anonymous Anonymous, At 1/27/2007 09:57:00 PM  

  • THREE CHEERS FOR TAKSIN

    I've been searching the web to find some Thai or Foreign person(s) living in Thailand who would say something about "KHUN Taksin" in ENGLISH so I could put my "2 cents" worth of opinion down in a "blog" as well.
    I LIKE Mr. Taksin. I agree with This Mr. SK on many points but disagree about killing people. Even if they're bad. But if bad people resist arrest or start dueling guns with the law enforcers and get killed, well that's a different story. I do not accept race discrimination. As a matter of fact, I have many muslim friends and just like the people of other races, there're good people and bad people. All people living under The KING'S roof are all governed by the same laws.
    I've been living here in Thailand for about 45 years now. I think Mr. Taksin is the Best Prime Minister and Leader of the Thai nation that the country has ever had. He was always on the move. Going all over the country to see and hear what the community leaders and ever rural people had to say about the problems they faced in all areas of their daily lives and what they wanted in order to earn income or increase their income with his own ears and eyes. Every Saturday at 8.00 am, he would be on the radio to review what his government had accomplised during the past week and what was lacking. Even when he was out of the country, he would find time to talk to the people. Some major accomplishments: Wasn't it during KHUN Taksin's term that Thailand was able to repay the IMF (INTERNATIONAL MONETARY FUND) or better known as the world bank? Wasn't it under Mr. Taksin that the the 30 baht gold card free hospital care was initiated? Up to know, we still have really dedicated social nurses coming to our house once a month to visit our elderly mother in law who had a stroke, and is suffering from diabetes, high blood pressure joint problems. You name the disease. She probably has it. What about the underground lottery? It is really flurishing now. During Taksin's era, no one dared to be an underground lottery dealer. I have first hand experience. What about drugs? It's now pretty easy to get the stuff. The economy, Banks are very quiet. Not as much people standing in line. Interest rates have gone down. Banks have tightened up on their lending policy. Foodstuff prices have increase. The strong Thai baht. My friends come to Thailand and complain about the exchange rate. They used to get close to 40 baht to the dollar. Now there're lucky to get 29 baht for one US $. Some of my friends ask me if there was any likelihood of another revolution!! What should I tell them? Does one wonder if Mr. Taksin had been "Double Crossed?" Taksin frequently visits a really big important and aged well known public figure, whose house is located near the National Public Library. What did both men talk about? What advice was given to Mr. Taksin? Number One General in the Army said just a week or so before the "coup" "Army people are not politicians. They just look after the security of the country. The rest is history. It was a bloodless Coup. But it set the country back in many aspect especially in the credibility and confidence in the standing or Thailand in the eyes of the civilized world. Could you imagine what would happen if the American Army staged a coup in America or England for that matter? It's unimaginable. Now the Thai People are suffering. There is no one at the helm of the interim government to call the economic shots or steer "Economic Ship" through the rough seas of economic turmoil. Each man for himself. Now everything that goes wrong is blamed on a man who cannot defend imself. The wrath of "conquestors", "side kicks", and those joining in on the "Bandwagon" are aimed at the "Poor Man's" family relatives and business supporters. And you call yourself "MEN" MEN WITH NO HONOR HIDe BEHIND OLD MEN. DOes one DARE LOOK INTO THE EYES OF THE "POOR MAN" and give him a chance to defend himself. Does anyone know meaning of the word TRAITOR. Every story has two sides to te coin. At least it was a "bloodless coup". At least the interim government is trying it's best. "Thank the Lord Buddha" No supression. No martial law. I have to commend the Army, Police, government officials, special forces and all the wonderful people living in the afflicted southern provinces for their moral strength, stamina and their patience in accessing the unrest situation. I'm sure they can now see who are the dissentors and causers of violence and unrest.

    Signing off for now, yours truly,
    Charlee

    By Blogger Charlee, At 8/06/2007 12:15:00 AM  

  • I agree with Mr SK and Charlee.
    I support Thaksin. He's the best PM Thailand has ever had although, as the previous comments mentioned alreaady, he's not an entirely good man. At least under his administration Thailand has experienced economic development, more impressive than that under any administration.

    By Anonymous Anonymous, At 11/04/2007 07:41:00 PM  

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]



<< Home