นักเรียน นอกโรง



การเป็นนักเรียนนอก ที่ไม่สังกัดกับมหาลัยฯใดๆเลยนั้นมีด้วยหรือ แล้วผู้ไม่แสวงหาปริญญา เหล่านี้กลับไปทําอะไรบ้าง




ปี 1921 นายโจ ชายหนุ่มจากจีนแผ่นดินใหญ่ในชุดพนักงานโรงงานรถยนต์ กําลังเดินโซเซกลับบ้านพักในกรุงปารีสพร้อมกับหนังสือสังคมศาสตร์เล่มใหม่ ที่เขาซื้อมาได้จากการสะสมค่าแรงไว้หลายสัปดาห์ ชีวิตและความเป็นอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ของนายโจ นั้น ออกจะเรียบง่ายและปราศจากความหรูหราใดๆทั้งสิ้น ภาพที่ยังคงติดตาชาวเมืองปารีสอยู่ คงจะเป็นภาพของเจ้าโย่ง เดินแบกภาชนะต้มนํ้าและอาหารติดตัว พร้อมด้วยสมุดบันทึกคู่ชีพ ไปตามซอกซอยและสถานที่ต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวทั่วไปพยายามจะหลีกเลี่ยง

นายโจมาเมืองนอกเพื่อศึกษาแนวคิดและระบบสังคมต่างๆ รวมทั้งระบบทุนนิยม ซึ่งเขากําลังสนใจอย่างแรงในฐานะพนักงานโรงงาน สมุดบันทึกของเขานั้นจึงเต็มไปด้วย รายละเอียดการทํางานในโรงงานรวมทั้งสภาพความทุกข์ทรมาณของของคนงานด้วย

"มหาลัยฯ" ของนายโจนั้นนอกจากจะมาในรูปแบบของโรงงานแล้ว ยังจะมาในรูปแบบของการอ่านสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ การพูดคุยกับชาวเมือง และการท่องเที่ยวอีกต่างหาก การเรียนของเขานั้นมีจุดหมาย และวิธีการที่ต่างจากเพื่อนชาวจีนนักเรียนนอกหลายคน ที่อยู่ร่วมกันในกรุงปารีส ครั้งหนึ่งเขาได้พบปะพูดคุยกับนักเรียนหลายคนและได้มีการแนะนําตัวกันขึ้น เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าเขามาปารีสเพื่อมาเรียนการก่อสร้าง อีกคนหนึ่งต้องการเรียนวิศกรรมเครื่องกลเพื่อจะได้ไปตั้งบริษัทส่วนตัว พอมาถึงตาของนายโจ เขาพูดเพียงสั้นๆว่า

"กูมาเรียนเพื่อจะไปเปลี่ยนระบบสังคมของจีน ว่ะ"

คํากล่าวอันนี้ออกจะฟังดูแปลกหูแปลกตาอยู่บ้าง แต่ไม่นานนักเพื่อนร่วมรุ่นของเขาที่พอจะรับได้กับแนวคิดทํานองนี้ ก็เริ่มมารวมตัวกันเป็นจํานวนมากจนกลายเป็นกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "เยาวชนสังคมนิยมแห่งฝรั่งเศส" หลังจากนั้นไม่นาน นายโจก็เริ่มทําหน้าที่เป็นเลขาธิการของกลุ่ม โดยทําการประสานงานกับกลุ่มเยาวชนในประเทศจีนอีกเสียด้วย จุดนี้เองคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมของจีน (ที่ทําให้ตระกูล Shin ต้องหนีมาอยู่เมืองไทย)

จะว่าไปแล้วเรื่องการเป็น"นักเรียนนอกโรง" นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายท่านคงได้เคยดูหนังเรื่อง "Gandhi" และคงจะจําได้ถึงฉากที่ทนายหนุ่มจากอินเดียถูกเตะออกจากรถไฟในปี 1893 ถ้าลองไปอ่านบันทึกของนายคานธี ก็คงจะพบว่า ฮอลลีวูด เขาหาได้หลอกลวงเราไม่ในครั้งนี้

่บันทึกของนายคานธี นั้นยังบอกอีกว่าเขาถูกปฏิเสธ จากการเป็นครูในประเทศอินเดียเนื่องจาก เขานั้นเป็นคนที่ไม่มีปริญญาจากมหาลัยฯใดๆทั้งสิ้น นายคานธี เป็นทนายความที่ประเทศอังกฤษได้ด้วยการสอบจดทะเบียนวิชาชีพนั่นเอง อันนี้น่าสนครับ เพราะแม้แต่คนที่ไปเรียนมหาลัยฯโด่งดังทางกฏหมายในอังกฤษแล้วยังสอบกันไม่ผ่านเลย แล้วเจ้าหนุ่มวัย22 ปีที่มิได้ลงทะเบียนเรียนที่มหาลัยฯใดๆเลยนั้น ยังจะสอบผ่านได้ไรเล่า

ก่อนอื่นต้องขอเล่าให้ฟังก่อน ว่าทําไมนายคานธี นั้นจึงไม่เลือกที่จะไปเรียนมหาลัยฯ เหมือนกับนักเรียนนอกคนอื่นๆ เขาเล่าไว้ในบันทึกว่า

"กู ลองไปสืบดูเรื่องการเรียนที่มหาลัยฯ Oxford และ Cambridge รวมทั้งถามเพื่อนบางคนอีกด้วย จึงรู้ว่า ถ้ากูดันไปเรียนที่มหาลัยฯเหล่านี้ละก้อ กูคงต้องเสียค่ากินอยู่อย่าง มหาศาล แถมยังต้องอยู่อังกฤษ นานกว่าที่เตรียมเอาไว้เสียอีก"

เมื่อทราบดังนั้นแล้ว นายคานธี จึงเลือกที่จะสอบเทียบ London Matriculation แทน ในช่วงแรกนั้นเขาไปสมัครเรียนที่ศูนย์กวดวิชา ซึ่งไม่ได้ทําให้เขาสอบผ่านแต่อย่างใด หลังจากสอบตกมาแล้วหมาดๆ เขาจึงเริ่มเตรียมตัวสอบใหม่โดยการหาหนังสือมาอ่านเอง สร้างตารางเวลาเอง และ "อยู่อย่างเรียบง่าย" โดยการ กินแต่ข้าวต้ม โคคา และ ขนมปัง เขาเล่าว่าวิธีการ "อยู่อย่างเรียบง่าย" นั้น ทําให้เขาสามารถมีสติในการศึกษาด้วยตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นผลทําให้เขาสอบผ่าน London Matriculation แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาได้ ปริญญาแต่อย่างใด มันเป็นเพียงแค่ การรับรองว่าเขาเป็นคนมีความรู้ ในระดับหนึ่งเท่านั้น

หลังจากนั้นไม่นานนายคานธี ก็เตรียมตัวสอบจดทะเบียนเป็นทนายความโดยใช้วิธีเดียวกันกับการสอบ London Matriculation เขาเริ่มไปหารายชื่อหนังสือที่ต้องอ่านมา จากนั้นจึงยืมหนังสือดังกล่าวมาอ่าน รวมทั้งการกําหนดตารางเรียน และการกินและอยู่อย่างเรียบง่ายด้วยตัวเอง

จะว่าไปแล้วข้อสุดท้ายนี้ดูจะยากสักหน่อยเนื่องจาก ที่อังกฤษนั้น เขาบังคับว่าผู้ที่ต้องการเป็นทนายความนั้น จะต้องเก็บหน่วยกิจการ "ออกสังคม" และดื่มเหล้าให้ครบเสียก่อน เรื่องการออกสังคมนั้น นายคานธีกล่าวไว้ว่า

"สําหรับพวกเราชาวอินเดียแล้ว มันเป็นเรื่องที่น่าตกใจนะ หากจะต้องค้นพบว่าราคาเหล้านั้นแพงกว่า ราคาอาหาร ! "

แถมทุกคนที่มาออกสังคมนั้น ยังต้องถูกบังคับให้ซื้อเหล้าดื่มอีกเสียด้วย แล้วเนื่องจากนายคานธีเป็นคนไม่กินเนื้อสัตว์ ผลก็คือ "กู แทบจะกินอะไรไม่ได้เลยในงานเลี้ยงประเภทนี้" แต่อย่างไรก็ตามเขาก็สามารถหลุดพ้นจากงานสังคมเหล่านี้ไปได้เมื่อเขาสอบ ผ่านการจดทะเบียนวิชาชีพทนายความ ในปี 1891

ในยุคปัจจุบันนั้นก็เริ่มมีนักเรียนไทยในเมืองนอกจํานวนหนึ่งที่กําลังทํางานอยู่ในขณะเดียวกันกับการเป็น "นักเรียนนอกโรง" ในลักษณะเดียวกับนายโจ และนายคานธี นักเรียนประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่นักเรียนทุนแต่จะเป็นคนงาน ที่ได้วีซ่ามาทํางานที่ร้านอาหารไทยในเมืองนอก เนื่องจากพวกเขาไม่มีเงินที่จะไปจ่ายค่าเทอมของมหาลัยฯ (ซึ่งเฉลี่ยประมาณหลายล้านบาทต่อปี) นักเรียนนอกโรง เหล่านี้จึงจําต้องเรียนเอาเองจากหนังสือห้องสมุดสาธารณะ รวมทั้งการทําความรู้จักกับพื้นที่และชาวเมือง

มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งมาทํางานร้านอาหารอยู่หลายปีในขณะที่เรียน คอมพิวเตอร์ ด้วยตัวเองควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันนี้ลูกพี่เขาตั้งบริษัท Computer Consultant เป็นของตัวเองแล้ว แถมยังได้เงินเดือนนับล้านบาท (ขอคิดเป็นเงินไทยนะ ) ผมจึงถามเขาว่า "อย่างนี้ พี่คงไม่กลับเมืองไทยแล้วสิ ก็สบายแล้วนี่" ลูกพี่ได้ยินดังนั้นก็ทําตัวกระสับกระส่าย ราวกับกลัวว่าตนจะมิได้รับใช้สังคมไทย แล้วให้เหตุผลว่า

"กูจะกลับบ้านโว้ย....คิดถึงก๋วยเตี๋ยวเรือ"



--------------------------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติมที่

Gandhi - An Autobiography The story of my experiments with truth

Zhou Enlai - The Early Years by Chae-Jin Lee, Stanford University Press

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]



<< Home