ชาวไทยต้องไล่ ให้เป็นกิจวัตร!

หมดยุคของแก็งส์เถื่อนที่เรียกตนเองว่า รัฐบาล

ผ่านมาแล้วไม่ว่าจะกี่รัฐบาลในประวัติศาสตร์ไทย ประชาชนได้พบว่า รัฐ ไม่ได้ทำตัวเป็นตัวแทนประชาชนอย่างที่ชอบอ้าง (จะมีข้อยกเว้น ก็แต่ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงพริบตาที่นายปรีดี พนมยงค์เป็นนายก) ตรงกันข้าม รัฐบาลเหล่า่นี้กลับทำตัวเหมือนแก็งส์เถื่อน เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง โดยอ้างความชอบธรรมจากการเลือกตั้งสี่วินาที ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกคน จะเลือกที่จะเป็นนายข องตนเอง เมื่อเกิดปัญหา ก็ประสานงานหาทางแก้กันเอง อย่าหวังพึ่งรัฐบาลไหน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลที่ได้มาด้วยการปฏิวัติ โผล่มาเมื่อใด ชาวไทยต้องไล่ให้เป็นกิจวัตร!

ตัวอย่างชัดๆ ของเครือข่ายชาวบ้านที่คิดเองทำเอง โดยไม่ต้องรอให้แก็งส์รัฐบาลใด มาให้ความช่วยเหลือ....

เทคโนโลยีแบบบ้านๆประหยัดได้เกือบล้านค่าพลังงาน

นยุคที่พลังงานแพงขึ้นทุกวัน ชาวบ้านที่ตำบลอู่โลก จังหวัดสุรินทร์ ลองคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานดู พบว่าค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าฟืน และค่าก๊าซ เมื่อรวมกันนั้นปาเข้าไปเกินครึ่งของรายได้ของแต่ละครัวเรือน (1) ชาวบ้านในตำบลดังกล่าว จึงหาทางรอดด้วยการประหยัดพลังงาน และคิดค้นวิธีใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลปรากฏว่าเทคโนโลยีแบบบ้านๆ อย่างเตาถ่านปั้นเอง ก๊าซชีวภาพจากขี้หมู และน้ำมันมะพร้าว ทำให้ชาวบ้านสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 10% และลดการใช้ฟืนและถ่านไปได้ถึง 20% คิดเป็นเงินประมาณเกือบหนึ่งล้านบาทต่อปี ในตำบลที่มีคนประมาณหนึ่งพัน เป็นผลบุญจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วบวกกับการวิจัยด้วยตนเอง

ค รั้นเมื่อหมอมิ๊ง อดีตรมต กระทรวงพลังงานภายใต้ทักษวย ได้รับทราบเรื่องความสำเร็จของชาวบ้านอู่โลก เลยรีบต่อยอดด้วยการให้เครดิตว่ารัฐสามารถมีบทบาทเป็นฝ่ายกระตุ้นซะงั๊น (2)

ชาวนาไม่รอแก็งส์ทักษิณมาต่อยอด บุกตลาดโลก เชื่อมโยงผู้บริโภคเอง

ใ ครบอกว่าต้องแก้ผ้า เสริมอึ๋มเท่านั้่นจึงจะโกอินเตอร์ได้ ชาวนาไทยผิวคล้ำดำแห้งนี่แหละ โกอินเตอร์มาแล้ว ในสมัยที่รัฐบาลทักษวยรุกรี้รุกรน อยากเซ็น Free Trade กับรัฐบาลสหรัฐฯจนเนื้อเต้น(เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มเกษตรยักษ์ใ หญ่อย่างซีพีและบริษัทในเครือชินคอร์ป)นั้น มีชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่จังหวัดสุรินทร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มนักเรี ยนนักศึกษาที่สหรัฐฯ เดินสายให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตรที่พวกเขาสร้างมานานในขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นให้ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ได้รู้จักกับข้าวปลอดสารพิษของไทยมากขึ้น

ช าวบ้านกลุ่มนี้ เริ่มตระหนักตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วว่า ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมีและการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (monoculture) ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้นักหนานั้น นอกจากจะทำให้ต้นทุนสูงเกินความจำเป็นแล้ว ยังทำลายสุขภาพ (ของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค) ชาวบ้านเริ่มสังเกตว่าหลังฉีดยาฆ่าแมลง มักมีอาการแปลกๆ เช่น ไอจาม และผื่นขึ้น ต้นทุนที่สูงของปุ๋ยเคมียังทำให้ชาวนาติดอยู่ในวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุดของหน ี้ (3) เพื่อหลุดพ้นจากวิถีชีวิตที่รัฐยัดเยียดมาให้นี้ ชาวบ้านจึงหันไปสู่วิถีดั้งเดิมด้วยการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ปลูกพืชโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง (4) การลงขันทำสหกรณ์ทำให้ชาวบ้านสามารถตั้งโรงสีของตนได้โดยไม่ต้องใช้บริการขอ งโรงสีของนายทุนที่ชอบโกงตาชั่ง เมื่อเริ่มทำสักพัก ปรากฏว่าสุขภาพดีขึ้น และผลผลิตกลับมากขึ้นต่อไร่ พอที่จะเลี้ยงตนเอง และบางครั้งก็มีเหลือขายด้วย สหกรณ์ที่สุรินทร์นี้จึงเริ่มขยายขึ้น

ก ารก่อตัวเป็นสหกรณ์นอกจากจะทำให้สามารถรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใครแล้ว ยังทำให้ขายข้าวได้ราคาดีเพราะไม่ต้องถูกกดราคาโดยพ่อค้าคนกลาง และที่น่าสนที่สุดในยุคโลกาภิวัตต์ชาวนาไทยสามารถเจาะตลาดโลกได้โดยตรงด้วยค วามช่วยเหลือจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมในประเทศตะวันตกอีกด้วย

"In Thailand, for example, which provides 75 percent of the rice imported to the US, 68 percent of farmers in the northeast growing region are saddled with debts that are three times their annual income. "(5)

"แม้ประเทศไทยจะตีตลาดข้าวกว่า 75%ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาในภาคอีสาน กลับมีหนี้ท่่วมสามเท่าของรายได้แต่ละคน"(5)

ผู้บริโภคอยากได้อาหารชีวจิตที่เป็นธรรม

ใ นสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีผู้บริโภคจำนวนมากที่ต้องการบริโภคผัก ผลไม้และข้าวปลอดสารพิษ และต้องการสนับสนุนชาวนาขนาดเล็กจากประเทศกำลังพัฒนา ที่มักอยู่ในชายขอบของสังคมเสมอ จึงเกิดเป็นความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade Movement) โดยผู้บริโภคเหล่านี้จะยอมจ่ายราคาสูง เพื่อแลกกับสินค้ามีที่มีคุณภาพ เป็นธรรม(ต่อชาวนา) และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ข ้าวหอมมะลิของสหกรณ์ชาวนาที่จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันพบได้ที่ร้านซูเปอร์มาร์เกตตามเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ และยุโรปในยี่ห้อ Alter Eco ซึ่งเป็นบริษัทที่เริ่มในประเทศฝรั่งเศส มีจุดประสงค์คือเพิ่มความเป็นธรรมต่อชาวนาชาวไร่ขนาดเล็ก ทำให้ชาวนาชาวไร่พึ่งตนเองได้ และสรรหาผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (6)

ต ัวอย่างเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า คน สามารถแก้ปัญหาเองได้ด้วยการสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกันโดยไม่ต้องแบมือขอคว ามช่วยเหลือจากแก็งส์เถื่อนที่เรียกตนเองว่า รัฐบาล แต่เท่าที่ผ่านมา รัฐบาลทำลายความสามารถของคนในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง (7)

แนวคิด

ส ำหรับผู้ผลิตชาวไทยที่ต้องการคิดเองทำเอง และเบื่อที่จะรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อความอยู่รอดในยุคโลกาภิวัฒน์ Thai Friend Forum ขอเสนอหลักการง่ายๆ ดังนี้

๑. SIMPLE CODE: ตั้งสหกรณ์ร่วมทุน มีการบริหารแบบ หนึ่งคน หนึ่งเสียง

ข ้อดีของสหกรณ์คือ มีความยุติธรรม ไม่ต้องมีใครเป็นลูกจ้างใคร ไม่มีเจ้านาย ทุกคนต้องลงแรงทำงาน ทำให้ไม่ต้องมีใครทำงานหนักเกินกว่าคนอื่น โดยเฉลี่ยทุกคนจึงมีเวลาว่างมากขึ้น มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่สามารถถูกซื้อ หรือต่อยอดโดยนายทุน หรือนักการเมืองคนใด ข้อเสียของสหกรณ์คือ อาจตัดสินใจได้ช้า และต้องใช้ความอดทนในการประสานงานทำงานร่วมกัน

๒. DIVERSITY: ผ ลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำเสนอควรมีความหลากหลาย เช่นไม่ใช่ปลูกพืชชนิดเดียว หรือมาจากแหล่งผลิตแห่งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกทำลายในสเกลใหญ่อย่างเช่นโรคพืช หรือภัยพิบัติธรรมชาติ ยึดหลักจากนิเวศน์วิทยาที่ว่าระบบที่หลากหลายนั้นมักเข้มแข็งและยั่งยืนกว่า ร ะบบที่ไม่หลากหลาย

๓. NETWORK: สหกรณ์เชื่อมโยงกับสหกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น สหกรณ์ชาวนาไทย อาจเชื่อมโดยตรงกัับสหกรณ์ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ทำให้ไม่ต้องผ่านนายทุนขูดรีด การใช้อินเตอร์เนตให้เป็นก็ช่วยได้มาก อาจมีการขายตรงทางอินเตอร์เนต

๔. FEEDBACKS: ร ับฟังความเห็นจากผู้บริโภค และปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สุด สหกรณ์ต่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ที่เสียงผู้บริโภคมักไปไม่ถึงซีอีโอ feedbackหลักของบรรษัทยักษ์ใหญ่คือกลไกตลาด ซึ่งมักไม่สะท้อนความต้องการ (i)ความเป็นธรรม (ii)สิ่งแวดล้อมที่สมดุล และ(iii)ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ

ใ นเมื่อคนไทย เครือข่ายกันเองแล้ว ก็ไม่ต้องมีทั้ง "นายหน้า" และ "นาย ก" มาคอยต่อยอดความดีที่คนไทยทำไป ในที่สุด นักต่อยอดอย่างเช่นทักษวย เที่ยวเร่เอาชาวนาพาด ไหล่เพื่อเรียกคะแนนสงสารได้อีก เมื่อถึงวันนั้น แก็งส์ต่อยอด ก็จะค่อยๆ เหี่ยวและหายไปในที่สุด แต่ถ้าหากมีแก็งส์ต่อยอดโผล่ขึ้นมาใหม่...

ชาวไทยต้องไล่ ให้เป็นกิจวัตร!

อ่านเพิ่มเติมได้อีกที่ ...

(1) Janchitfah, Supara. 2005. "Energy policy opening to the public," Bangkok Post, Mar 6, 2005, http://www.palangthai.org/en/story/22.

(2) Appropriate Technology Newsletter, June 20, 2003, http://www.ata.or.th/media/Newsletter%20April%20-%20June%2003%20Part%20I.pdf.pdf

(3) การปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือการปลูกพืชพันธุ์เดียวในพื้นที่ขนาดใหญ่ซ้ำๆ ปีแล้วปีเล่า เพื่อให้ง่ายต่อการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว เป็นวิธีปลูกที่แนะนำโดยนานาชาติและนักวิชาการไทยที่ไปเรียนรู้จากสหรัฐฯ ในสมัยประมาณพ ศ 2503 (ค.ศ. 1960s) ในระยะสั้น การปลูกแบบนี้ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี แต่ในระยะยาวทำลายความสมดุลของระบบนิเวศน์ ทำลายหน้าดิน และทำให้เสี่ยงต่อโรคพืชมากขึ้น จึงต้องใช้ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ผลข้างเคียงคือการทำลายหน้าดิน ทำให้ยิ่งต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงมากขึ้นเป็นวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทำลายน้ำ ทำลายดิน ทำลายความสมดุลของระบบนิเวศน์และที่แย่ที่สุดคือทำลายความสามารถในการพึ่งตน เองได้ของชาวนาไทย อ่านเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Monoculture
http://en.wikipedia.org/wiki/Green_Revolution

(4) “In the past we could drink the water from the field....But then I noticed frogs, fish, and other animals were dying from the chemicals. That’s when I started to become afraid of what we were using.” สมัยก่อนพวกเราดื่มน้ำจากนาได้ ต่อมาเริ่มสังเกตว่ากบ ปลาและสัตว์อื่นๆ เริ่มตายจากสารเคมีในยาฆ่าแมลง พวกเราจึงเริ่มหวาดกลัวกับสิ่งที่พวกเรากำลังใช้ นายประสงค์ ศรีสะอาดกล่าว, http://www.coopamerica.org/pubs/realmoney/articles/fairtraderice.cfm.

(5) Novey, Joelle. 2006. "Fair Trade Rice Makes Debut," Real Money, Nov/Dec 2006, http://www.coopamerica.org/pubs/realmoney/articles/fairtraderice.cfm,
http://www.engagetheworld.org/FairTradeRice.html

(6) http://www.altereco-usa.com/main.php

(7) เตชะไพบูลย์, วิลาศ. 2005. จิตสำนึกร่วม ที่เปลี่ยนไป, http://thaifriendforum.blogspot.com/2005/01/blog-post_26.html.

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]



<< Home