จดหมายถึงพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย
โดย ศิโรตม์
คล้ามไพบูลย์
นับตั้งแต่ “ปรากฎการณ์สนธิ” ได้ยกระดับเป็นการจัดตั้ง “พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย” ความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ดูจะเติบใหญ่ขึ้นทุกระยะ ถึงขั้นที่สามารถจัดชุมนุมใหญ่แบบยืดเยื้อโดยมีจุดหมายอยู่ที่การขับไล่นายกรัฐมนตรีได้ จากเดิมที่ใครต่อใครต่างก็ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ทั้งหมดจะปิดฉากลงอย่างไร
โดยปกติของการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น นักเคลื่อนไหวทุกคนรู้ดีว่าเป้าหมายแบบนี้หมายถึงการผลักขบวนให้เดินไปสู่จุดหมายบางอย่างที่ล่าถอยไม่ได้ , นำไปสู่การเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างเต็มที่ หรือพูดอีกอย่างก็คือมีโอกาสที่จะประจันหน้าคนกลุ่มที่กุมกลไกรัฐและการปราบปรามโดยตรง
จริงอยู่ รัฐบาลทรราชย์ในอดีตคือฝ่ายที่ริเริ่มใช้ความรุนแรงต่อประชาชน จึงไม่มีประชาชนหรือผู้นำชุมนุมรายไหนที่ควรถูกกล่าวหาว่า “พาคนไปตาย”
อย่างที่เคยเกิดในสมัย 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535
อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงมีอยู่ว่าในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ทั้งหมดนั้น ผู้นำการชุมนุมไม่ได้มีหน้าที่เพื่อต่อสู้ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว
หากยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมชุมนุมทุกคน
ในฐานะที่ผู้เขียนเคยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ศึกษาเรื่องการเมืองและประชาธิปไตย รวมทั้งคุ้นเคยกับมิตรสหายในพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยมาบ้าง จึงขอเสนอความเห็นต่อการชุมนุมในขณะนี้สักเล็กน้อย
ข้อแรก การเคลื่อนไหวปี 2549 แตกต่างจากการเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม เพราะคู่ต่อสู้ทางการเมืองไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการทหารที่นายกรัฐมนตรีควบคุมอำนาจ 3 เหล่าทัพและตำรวจได้อย่างเข้มแข็ง หากคือรัฐบาลของนายทุนขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มว่าไม่สามารถจะคุมกองทัพทั้งหมดได้อย่างเต็มที่ คุมได้ก็แต่ผู้นำกองทัพปีกที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอง
เฉพาะในข้อนี้ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวจึงไม่จำเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่อาจคิดถึงการชุมนุมเพื่อตรึงพื้นที่ที่มีลักษณะยืดเยื้อ เพื่อที่จะฉวยใช้ความไม่ลงรอยของชนชั้นนำ ให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองกับฝ่ายผู้ชุมนุมให้มากที่สุด
ข้อสอง ด้วยเหตุที่เป้าหมายของการต่อสู้ของปี 2535 อยู่ที่การขับไล่เผด็จการทหาร ขณะที่ผู้นำของฝ่ายต่อต้านก็คืออดีตนายทหารที่มีอิทธิพลต่อแกนนำส่วนอื่นอย่างสำคัญ ยังผลให้ความเคลื่อนไหวถูกกำหนดบนฐานการคิดแบบนี้ นั่นก็คือฐานคิดที่มองการชุมนุมบนถนนราชดำเนินแบบเดียวกับการรบยามสงคราม
ในปี 2549 ประชาชนไม่ได้เผชิญกับเผด็จการทหาร จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้นำการชุมนุมจะคิดถึงการต่อสู้แบบเดียวกับปี 2535 หากควรกำหนดขั้นตอนการเคลื่อนไหวโดยตระหนักว่าการเมืองแตกต่างจากการทหาร เพราะขณะที่ทหารมุ่งแย่งชิงพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ การต่อสู้ทางการเมืองกลับมุ่งช่วงชิงความชอบธรรมแลความยอมรับในสังคม ก่อนที่จะอาศัยความเห็นพ้องต้องกันนี้ไปกดดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
พูดให้สั้นที่สุด ไม่จำเป็นที่ขบวนการ 2549 ต้องหมกมุ่นอยู่แต่การเดินขบวนเพื่อยึดพื้นที่ เพราะไม่ใช่มีแต่การยึดพื้นที่เท่านั้นที่จะสามารถกดดันนายกรัฐมนตรี
ในข้อนี้ แม้ประชาชนจะมีสิทธิโดยชอบที่จะชุมนุม, ปิดถนน และเดินขบวนได้ แต่ผู้นำการชุมนุมมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในอันที่จะป้องกันไม่ให้การใช้สิทธินี้กลายเป็นการประจันหน้าทางการเมืองและความรุนแรง
ข้อสาม ผู้ร่วมชุมนุมในปี 2535 จำนวนมากมีสายสัมพันธ์กับองค์กรจัดตั้ง, มูลนิธิ, สหภาพ, สมัชชา , และพรรคการเมืองต่างๆ ทำให้การตัดสินใจชุมนุมเป็นเรื่องของการตกลงร่วมกันในหมู่ผู้นำและนักเคลื่อนไหวจำนวนน้อยจากองค์กรแบบนี้ ขณะที่โดยส่วนใหญ่ของผู้ร่วมชุมนุมในปี 2549 ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอะไรทั้งนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่นักเคลื่อนไหวและนักปราศรัยไม่กี่คนจะผูกขาดกำหนดทิศทางของการชุมนุมทางการเมือง
ในประเด็นนี้ ควรตระหนักด้วยว่าจุดแข็งที่สุดของขบวนการ 2549 คือการเป็นขบวนการต่อสู้ในรูปเครือข่ายที่แต่ละฝ่ายแต่ละองค์กรล้วนมีลักษณะจัดตั้งตัวเอง
(self-organization) ถึงขั้นที่คนแทบทุกฝ่ายได้เริ่มเคลื่อนไหวและแสดงจุดยืนต่อต้านนายกรัฐมนตรีโดยเป็นเอกเทศมาอย่างกว้างขวาง จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้นำการชุมนุมต้องตระหนักถึงจุดแข็งนี้ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้นำและผู้แทนของคนกลุ่มย่อยฝ่ายต่างๆ มีบทบาทนำการชุมนุม
อย่าลืมว่าการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง คือวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้การชุมนุมวันที่ 26 ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำที่คาดเดาพฤติกรรมไม่ได้ ซ้ำยังป้องกันไม่ให้ใครก็ตามกำหนดการเคลื่อนไหวโดยคิดถึงแต่ชัยชนะทางยุทธวิธี
ข้อสี่ การเดินขบวนจากสนามหลวงไปถนนราชดำเนินในวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 เกิดขึ้นเมื่อผู้นำการชุมนุมบางคนอ้างว่าประชาชนไม่อาจชุมนุมอยู่กับที่ได้เพราะความรู้สึกต่อต้านเผด็จการได้สุกงอมอย่างเต็มที่ , เพราะประชาชนพร้อมจะสู้โดยไม่เสียดายชีวิต ฯลฯ อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในวันนั้นมีอยู่ว่าไม่เคยมีใครถามประชาชนว่าพวกเขาคิดอย่างไร
ในการต่อสู้ทางการเมืองขนาดใหญ่นั้น เป็นไปได้มากที่บรรยากาศและปริมาณของผู้คนจะกระตุ้นให้ผู้นำชุมนุมเห็นว่าผู้ร่วมชุมนุมต้องการชัยชนะทางการเมืองโดยวิธีการเฉียบพลัน เกิดเป็นภาพลวงตาว่าประชาชนรับการชุมนุมลักษณะยืดเยื้อไม่ได้ แล้วผลักการเคลื่อนไหวทั้งหมดไปสู่ทิศทางที่ในที่สุดแล้วทำลายเจตนารมณ์ของการเคลื่อนไหวเอง
ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม หลังจากรัฐบาลเผด็จการทหารปราบปรามผู้ชุมนุมไม่นานนัก และในขณะที่ “ผู้ชายเดือนพฤษภา” บางคนหนีหายไป
ประชาชนหันไปรวมตัวกันใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมกับความคาดหวังที่แพร่สะพัดไปทั่วกรุงเทพว่าทหารบางส่วนจะออกมาปฏิวัติเพื่อล้มล้างรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.สุจินดา ก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะปิดฉากลงด้วยการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
บทเรียนจากเดือนพฤษภาคม 2535 แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่แปรสภาพเป็นการเดินขบวน, การประจันหน้า และการปะทะอย่างไม่จำเป็น ท้ายที่สุด ย่อมผลักดันให้คนทั้งหมดมองไม่เห็นทางเลือกอื่น นอกจากรอคอยความช่วยเหลือจากทหารและชนชั้นนำในสังคม
อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยคงเห็นว่าผู้เขียนกำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานคิด ส่วนเป้าหมายของการพูดนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้การชุมนุมผลักตัวเองไปสู่สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความรุนแรงโดยไม่จำเป็น
แน่นอนว่าไม่มีผู้นำการชุมนุมคนไหนอยากให้การชุมนุมปิดฉากลงอย่างโหดร้าย เพราะความโหดร้ายและการสูญเสียของผู้ร่วมชุมนุมจะตามหลอกหลอนมโนธรรมสำนึกของผู้นำการชุมนุมไปตลอดชีวิต
เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียแบบนี้ ผู้นำการชุมนุมจึงพึงหลีกเลี่ยงวิธีคิดและวางแผนการชุมนุมแบบนักการทหาร ระวังระไวมายาคติและภาพลวงตาแบบนักยุทธวิธีทางการเมือง แต่ควรคิด, สำรวจ, และสร้างความเป็นไปได้ทางการเมืองทุกชนิดที่จะทำให้เจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนปรากฎเป็นจริง
คล้ามไพบูลย์
นับตั้งแต่ “ปรากฎการณ์สนธิ” ได้ยกระดับเป็นการจัดตั้ง “พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย” ความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ดูจะเติบใหญ่ขึ้นทุกระยะ ถึงขั้นที่สามารถจัดชุมนุมใหญ่แบบยืดเยื้อโดยมีจุดหมายอยู่ที่การขับไล่นายกรัฐมนตรีได้ จากเดิมที่ใครต่อใครต่างก็ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ทั้งหมดจะปิดฉากลงอย่างไร
โดยปกติของการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น นักเคลื่อนไหวทุกคนรู้ดีว่าเป้าหมายแบบนี้หมายถึงการผลักขบวนให้เดินไปสู่จุดหมายบางอย่างที่ล่าถอยไม่ได้ , นำไปสู่การเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างเต็มที่ หรือพูดอีกอย่างก็คือมีโอกาสที่จะประจันหน้าคนกลุ่มที่กุมกลไกรัฐและการปราบปรามโดยตรง
จริงอยู่ รัฐบาลทรราชย์ในอดีตคือฝ่ายที่ริเริ่มใช้ความรุนแรงต่อประชาชน จึงไม่มีประชาชนหรือผู้นำชุมนุมรายไหนที่ควรถูกกล่าวหาว่า “พาคนไปตาย”
อย่างที่เคยเกิดในสมัย 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535
อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงมีอยู่ว่าในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ทั้งหมดนั้น ผู้นำการชุมนุมไม่ได้มีหน้าที่เพื่อต่อสู้ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว
หากยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมชุมนุมทุกคน
ในฐานะที่ผู้เขียนเคยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ศึกษาเรื่องการเมืองและประชาธิปไตย รวมทั้งคุ้นเคยกับมิตรสหายในพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยมาบ้าง จึงขอเสนอความเห็นต่อการชุมนุมในขณะนี้สักเล็กน้อย
ข้อแรก การเคลื่อนไหวปี 2549 แตกต่างจากการเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม เพราะคู่ต่อสู้ทางการเมืองไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการทหารที่นายกรัฐมนตรีควบคุมอำนาจ 3 เหล่าทัพและตำรวจได้อย่างเข้มแข็ง หากคือรัฐบาลของนายทุนขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มว่าไม่สามารถจะคุมกองทัพทั้งหมดได้อย่างเต็มที่ คุมได้ก็แต่ผู้นำกองทัพปีกที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอง
เฉพาะในข้อนี้ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวจึงไม่จำเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่อาจคิดถึงการชุมนุมเพื่อตรึงพื้นที่ที่มีลักษณะยืดเยื้อ เพื่อที่จะฉวยใช้ความไม่ลงรอยของชนชั้นนำ ให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองกับฝ่ายผู้ชุมนุมให้มากที่สุด
ข้อสอง ด้วยเหตุที่เป้าหมายของการต่อสู้ของปี 2535 อยู่ที่การขับไล่เผด็จการทหาร ขณะที่ผู้นำของฝ่ายต่อต้านก็คืออดีตนายทหารที่มีอิทธิพลต่อแกนนำส่วนอื่นอย่างสำคัญ ยังผลให้ความเคลื่อนไหวถูกกำหนดบนฐานการคิดแบบนี้ นั่นก็คือฐานคิดที่มองการชุมนุมบนถนนราชดำเนินแบบเดียวกับการรบยามสงคราม
ในปี 2549 ประชาชนไม่ได้เผชิญกับเผด็จการทหาร จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้นำการชุมนุมจะคิดถึงการต่อสู้แบบเดียวกับปี 2535 หากควรกำหนดขั้นตอนการเคลื่อนไหวโดยตระหนักว่าการเมืองแตกต่างจากการทหาร เพราะขณะที่ทหารมุ่งแย่งชิงพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ การต่อสู้ทางการเมืองกลับมุ่งช่วงชิงความชอบธรรมแลความยอมรับในสังคม ก่อนที่จะอาศัยความเห็นพ้องต้องกันนี้ไปกดดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
พูดให้สั้นที่สุด ไม่จำเป็นที่ขบวนการ 2549 ต้องหมกมุ่นอยู่แต่การเดินขบวนเพื่อยึดพื้นที่ เพราะไม่ใช่มีแต่การยึดพื้นที่เท่านั้นที่จะสามารถกดดันนายกรัฐมนตรี
ในข้อนี้ แม้ประชาชนจะมีสิทธิโดยชอบที่จะชุมนุม, ปิดถนน และเดินขบวนได้ แต่ผู้นำการชุมนุมมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในอันที่จะป้องกันไม่ให้การใช้สิทธินี้กลายเป็นการประจันหน้าทางการเมืองและความรุนแรง
ข้อสาม ผู้ร่วมชุมนุมในปี 2535 จำนวนมากมีสายสัมพันธ์กับองค์กรจัดตั้ง, มูลนิธิ, สหภาพ, สมัชชา , และพรรคการเมืองต่างๆ ทำให้การตัดสินใจชุมนุมเป็นเรื่องของการตกลงร่วมกันในหมู่ผู้นำและนักเคลื่อนไหวจำนวนน้อยจากองค์กรแบบนี้ ขณะที่โดยส่วนใหญ่ของผู้ร่วมชุมนุมในปี 2549 ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอะไรทั้งนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่นักเคลื่อนไหวและนักปราศรัยไม่กี่คนจะผูกขาดกำหนดทิศทางของการชุมนุมทางการเมือง
ในประเด็นนี้ ควรตระหนักด้วยว่าจุดแข็งที่สุดของขบวนการ 2549 คือการเป็นขบวนการต่อสู้ในรูปเครือข่ายที่แต่ละฝ่ายแต่ละองค์กรล้วนมีลักษณะจัดตั้งตัวเอง
(self-organization) ถึงขั้นที่คนแทบทุกฝ่ายได้เริ่มเคลื่อนไหวและแสดงจุดยืนต่อต้านนายกรัฐมนตรีโดยเป็นเอกเทศมาอย่างกว้างขวาง จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้นำการชุมนุมต้องตระหนักถึงจุดแข็งนี้ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้นำและผู้แทนของคนกลุ่มย่อยฝ่ายต่างๆ มีบทบาทนำการชุมนุม
อย่าลืมว่าการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง คือวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้การชุมนุมวันที่ 26 ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำที่คาดเดาพฤติกรรมไม่ได้ ซ้ำยังป้องกันไม่ให้ใครก็ตามกำหนดการเคลื่อนไหวโดยคิดถึงแต่ชัยชนะทางยุทธวิธี
ข้อสี่ การเดินขบวนจากสนามหลวงไปถนนราชดำเนินในวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 เกิดขึ้นเมื่อผู้นำการชุมนุมบางคนอ้างว่าประชาชนไม่อาจชุมนุมอยู่กับที่ได้เพราะความรู้สึกต่อต้านเผด็จการได้สุกงอมอย่างเต็มที่ , เพราะประชาชนพร้อมจะสู้โดยไม่เสียดายชีวิต ฯลฯ อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในวันนั้นมีอยู่ว่าไม่เคยมีใครถามประชาชนว่าพวกเขาคิดอย่างไร
ในการต่อสู้ทางการเมืองขนาดใหญ่นั้น เป็นไปได้มากที่บรรยากาศและปริมาณของผู้คนจะกระตุ้นให้ผู้นำชุมนุมเห็นว่าผู้ร่วมชุมนุมต้องการชัยชนะทางการเมืองโดยวิธีการเฉียบพลัน เกิดเป็นภาพลวงตาว่าประชาชนรับการชุมนุมลักษณะยืดเยื้อไม่ได้ แล้วผลักการเคลื่อนไหวทั้งหมดไปสู่ทิศทางที่ในที่สุดแล้วทำลายเจตนารมณ์ของการเคลื่อนไหวเอง
ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม หลังจากรัฐบาลเผด็จการทหารปราบปรามผู้ชุมนุมไม่นานนัก และในขณะที่ “ผู้ชายเดือนพฤษภา” บางคนหนีหายไป
ประชาชนหันไปรวมตัวกันใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมกับความคาดหวังที่แพร่สะพัดไปทั่วกรุงเทพว่าทหารบางส่วนจะออกมาปฏิวัติเพื่อล้มล้างรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.สุจินดา ก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะปิดฉากลงด้วยการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
บทเรียนจากเดือนพฤษภาคม 2535 แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่แปรสภาพเป็นการเดินขบวน, การประจันหน้า และการปะทะอย่างไม่จำเป็น ท้ายที่สุด ย่อมผลักดันให้คนทั้งหมดมองไม่เห็นทางเลือกอื่น นอกจากรอคอยความช่วยเหลือจากทหารและชนชั้นนำในสังคม
อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยคงเห็นว่าผู้เขียนกำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานคิด ส่วนเป้าหมายของการพูดนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้การชุมนุมผลักตัวเองไปสู่สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความรุนแรงโดยไม่จำเป็น
แน่นอนว่าไม่มีผู้นำการชุมนุมคนไหนอยากให้การชุมนุมปิดฉากลงอย่างโหดร้าย เพราะความโหดร้ายและการสูญเสียของผู้ร่วมชุมนุมจะตามหลอกหลอนมโนธรรมสำนึกของผู้นำการชุมนุมไปตลอดชีวิต
เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียแบบนี้ ผู้นำการชุมนุมจึงพึงหลีกเลี่ยงวิธีคิดและวางแผนการชุมนุมแบบนักการทหาร ระวังระไวมายาคติและภาพลวงตาแบบนักยุทธวิธีทางการเมือง แต่ควรคิด, สำรวจ, และสร้างความเป็นไปได้ทางการเมืองทุกชนิดที่จะทำให้เจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนปรากฎเป็นจริง
1 Comments:
การกระทำของพวกท่านทั้งหลายที่เข้าไปร่วมกับพันธมิตรฯ กำลังเข้าทางของผู้ที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติบ้านเมือง ที่เขาพยายามทำทุกวิถีทางที่จะยุยงให้คนไทยด้วยกันเกิดการแตกความสามัคคีกัน ทะเลาะกันเอง หรือแม้กระทั่งฆ่ากันเอง ซึ่งขณะนี้วัตถุประสงค์ของพวกมันใกล้จะเป็นจริงแล้ว พวกเราชาวไทยทุกคนจะยอมให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นกับประเทศชาติของเราหรือ ในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่ง ยอมไม่ได้ที่จะให้ไอ้พวกกุ๊ยข้างถนนที่ไม่รู้หัวนอนปลายตีน ที่เข้ามาทำธุรกิจและเสียผลประโยชน์ ใช้เรื่องส่วนตัว มาชักจูงคนไทยให้คนไทยทะเลาะกันเอง ใช้วาจาอันหยาบคายกร่นด่า ทำตัวเป็นอันธพาล ไม่ยอมรับระบบอะไรทั้งสิ้น คนไทยอีกกี่สิบล้านคนเขายอมรับหรือ กูและคนไทยที่รักชาติทุกคนไม่ยอม และ ขออาราธนาสิ่งศักดิ์ทั้งหลายที่สถิตย์อยู่ ณ ประเทศไทย รวมทั้งพระสยามเทวธิราช จงดลบันดาลให้พวกมึงจงประสบแต่ความล้มเหลวในทุกๆเรื่อง และขอให้เวรกรรมที่พวกมึงได้ทำไว้จงสนองตอบให้กับพวกมึงเป็นร้อยเท่าทวีคูณ ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าอย่างไม่รู้จบสิ้น
By Anonymous, At 8/30/2008 09:47:00 PM
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home