สาวตูดไว ใจเยี่ยงโจร !

ตํานานพื้นบ้าน ที่ไม่เหน็ดเหนื่อย กับการจี้ปล้นทางกาย และทางใจ

คนโบราณมักกล่าวถึง "สาวตูดไว" เมื่อพบเจ้าหล่อนที่ออกหน้าออกตา ด่วนใจ "จับ" สุภาพบุรุษรูปงาม ที่มักจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าตัวหล่อนเอง นอกจากนี้ก็มักจะต้องมีการ แย่ง ชิงตัวสุภาพบุรุษจากสุภาพสตรีกระกูลสูง ที่หมั้นหมายกันไว้แล้ว

ม.ร.ว. คึกฤทธิ ปราโมช ได้เขียนบทไว้อย่างดุเดือดใน สี่แผ่นดิน ...

"อ้าว ! ก็พี่เนื่องเขาบอกว่าจะแต่งงานกับลูกสาวแม้ค้าขายข้าวแกงพ่อเป็นเจ๊กไงล่ะ...
ฉันไม่เห็นใจ ! ฉันไม่ยอมเข้าใจ ! มีอย่างรึ อยู่ๆก็ลุกขึ้นมีเมียไม่รู้เนื้อรู้ตัว ฉันเคยพูดหลายครั้งแล้วว่าพี่เนื่องเป็นคนเหลวแหลกไม่มีสติ คราวนี้เห็นหรือยังล่ะพลอย คิดถึงใจฉันบ้างซี ได้พี่สะใภ้เป็นลูกคนขายข้าวแกง ทีนี้ฉันจะไปดูหน้าใครได้ ถ้ามีใครเขาถามขึ้นมา ฉันจะทําอย่างไร"

นางสมบุญ สาวสวยจากนครสวรรค์ผู้ "จับ" พี่เนื่องได้นี้ จึงถูกมองโดยชนชั้นศักดินาอย่าง ม.ร.ว. คึกฤทธิ ปราโมช ว่าตํ่าช้า และเข้าข่าย "สาวตูดไว" อย่างหาตําหนิมิได้ทีเดียว

แต่ถึงกระนั้น ตํานาน "สาวตูดไว" ก็ยังเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่สามัญชนและชนชั้นล่างอยู่มิน้อยทีเดียว ยิ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจมากเท่าใด "สาวตูดไว" ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากเท่านั้น

คุณป้าท่านหนึ่งที่ตลาดนํ้าพุ มักจะร้องเพลง "แต๊ะอั๋ง แต๊ะเอีย" ของพุ่งพวง ดวงจันทร์ เมื่อยามคึงคะนอง (จังหวะสามช่า)

"หนูอยาก จะได้แต๊ะเอีย หนูยอมให้เสี่ยเขาแตะแต๊ะอั๋ง
เสี่ยจ๋ามาหาหนูมั่ง ไม่มาแต๊ะอั๋ง ก็ควรจะส่งแต๊ะเอีย !"

นอกจากเพลงลูกทุ่งที่มักจะมี "สาวใช้เกรด A" ขโมยผัวของหญิงไฮโซแล้ว ยังมีเพลงพื้นบ้านอย่าง "มะเมี๊ย" สาวพม่าที่เสี่ยงโชค"จับ" เจ้าชายเชียงใหม่

"มะเมี๊ยเป็นสาวแม้ค้าชาวพม่า เมืองมะละแม่ง
งามลํ้าเหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่งหลงฮักสาว
มะเมี๊ยบ่เคยฮักใผ๋ มอบใจ๋ให้หนุ่มเชื้อเจ้า
เป็นลูกอุปราชชาวเชียงใหม่"

นิยายพื้นบ้านหลายเรื่องที่นํามาทําเป็นภาพยนตร์อย่าง ดาวพระศุกร์ หรือ บ้านทรายทอง ก็เป็นเรื่องราวและความหวังของชนชั้นล่างที่จะนําความมั่งมีมาให้ครอบครัว พจมาน สว่างวงศ์ ไม่เพียงเป็นแค่ลูกเลี้ยงเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์และ ความหวังของชนชั้นที่ถูกเอาเปรียบทางสังคมเอาทีเดียว เธอคือผู้บริสุทธิ์ ที่ถูกรังแก และการที่เธอได้ครอบครองบ้านทรายทองในที่สุดนั้น ก็เป็นสิ่งที่ชาวบ้านเห็นว่ายุติธรรมแล้ว

ในทางกลับกัน พวกไฮโซ มักจะมอง "สาวตูดไว" ว่ามันไม่ต่างจากการเป็น "โจร" ท่านคึกฤทธิ ปราโมช เล็งเห็นว่าความรักกับฐานะทางสังคมนั้นมันแยกออกจากกันไม่ได้ และเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นบุคคล (ุอย่างที่ Madonna เคยวิเคราะห์ไว้ในเพลง Material Girl ) นางสมบุญจากนครสวรรค์ จึงถูกมองว่าเป็นโจร ที่ลักตัวพี่เนื่องไปจากสาวตระกูลมั่งมีอย่างแม่พลอย

อันที่จริงแล้ว ตํานาน "โจร" พื้นบ้านก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับตํานาน "สาวตูดไว" อย่างแยกไม่ออกและก็เป็นที่นิยมชมชอบไม่แพ้กัน ตํานานปล้นคนรวย ช่วยคนจนนั้นมีมากในสังคมที่มีความเหลื่อมลํ้าสูง

ตํานานโจรที่มีชื่อว่า Robin Hood ก็เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวบ้านผู้ตกยากในยุโรปยุคกลาง ในหมู่ประเทศลาตินอเมริกาก็มีตํานานโจรมากมาย ที่เล่าขานกันในหมู่ชาวบ้าน อย่างเรื่องของนายปันโจ เวีย (Pancho Villa) โจรผู้ช่วยปลดแอกประเทศ Mexico หรือตํานานสงครามกองโจรของ เช กูวาร่า (Che Guevara) เป็นต้น

หากท่านไปเที่ยว Mexico ภาพที่ท่านจะได้เห็นบ่อยที่สุด (ในที่ธุรกันดาร) ก็คือภาพนายปันโจ ขุนโจร ตัวคลํ้า หนวดยาว หมวกบาน ปืนคู่ โพสท์ท่าอยู่บนรองเท้าบูท โดยมีต้นกระบองเพชรเป็นฉากหลัง

ในภูมิภาคแถบเอเชียของเรา ตํานานโจรที่ออกจะเด่นชัดที่สุดก็คือตํานาน 108 โจรจากเหลียงซาน (อย่าไปสับสนกับ 108 โจรใต้นะครับ) ตํานานโจรอันนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 900 ปีที่แล้วในประเทศจีน ณ ภูเขาเหลียงซาน โจร 108 ท่านนี้ ประกอบด้วยปัญญาชนที่ถูกรัฐบาลรังแก หรือชาวบ้านที่ทําผิดกฎหมาย อย่างการชกพ่อค้ามาเฟียที่ชอบลักตัวลูกสาวชาวบ้านไปเป็นเมีย หรือการเตะต่อยนายอําเภอที่เรียกร้องส่วยมากเกินไป

เนื่องจากกฎหมายของจีนในยุคนั้นมักจะเข้าข้างพ่อค้าที่เซ็งลี้เก่ง คนจีนที่มีใจซื่อสัตย์จึงต้องรวมตัวกันเป็น "โจร" เพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่และกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่ที่สุดแล้วโจร 108 ทั้งหมดนี้ก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐหลอกฆ่าเสียจนสิ้น เหลือไว้เพียงแค่ตํานานให้เล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองของจีนยังเชื่อว่าวิญญาณของโจร 108 ท่านนี้ยังไม่ตาย เช่นเดียวกับวิญญาณของ กวนอู หรือ กบฎผีบุญ ของบ้านเรา

ตํานานโจรพื้นบ้านเหล่านี้คือสัญลักษณ์และความหวังของชนชั้นล่าง จึง ยังตายไม่ได้ และมักถูกเหมาให้เป็น "ผี" เอาไว้คุ้มครองชาวบ้านผู้ไร้ซึ่งอํานาจ

มีนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง เคยถามว่าทําไมตํานานโจรพื้นบ้านเหล่านี้จึงมีผู้หญิงน้อยนัก ?

ข้อสังเกตุข้อหนึ่งก็คือว่า แท้จริงแล้วเรามีตํานานโจรหญิงเป็นจํานวนมาก แต่เจ้าหล่อนนั้นใช้บริบทในการปล้น (หรือกระบวนการทอดถอนทุนจากเจ้าสัว) ที่ต่างจากหนุ่มปืนไวทั้งหลาย โดยเฉพาะในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (patriarchy) การจี้ปล้นในรูปแบบของ "เมียน้อย" หรือ "กะหรี่" นั้นทําได้ง่ายกว่าและได้ประสิทธิภาพเหนือการใช้ปืนหลายเท่า

ตํานานโจรในสังคมที่เหลื่อมลํ้า (ไม่ว่าจะตูดไว หรือ ปืนไว) จึงน่าจะเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นถึงความต้องการและความหวังของชนพื้นบ้านที่จะปลดปล่อยตนเองจากสภาพชีวิตที่ถูกเอาเปรียบ แต่มันเป็นความต้องการที่ยังไร้ระบบการจัดการอันชัดเจน เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางสังคม มันเป็นเพียงแค่ความหวังให้ชาวบ้านได้เสพไปวันๆเท่านั้น

ทว่า คนเรานั้นเมื่อถูกเอาเปรียบก็ยังพอทนได้
แต่ถ้าสิ้นหวังแล้วนั้นคงจะดํารงชีวิตอยู่ยาก

3 Comments:

  • "พจมาน" !! 

    Posted by ใช่เลย

    By Anonymous Anonymous, At 3/04/2006 02:17:00 PM  

  • ผมไม่เห็นด้วยกับบางส่วนของข้อความข้างบนครับ
    - การจี้ปล้นในรูปแบบของ "เมียน้อย" หรือ "กะหรี่" นั้นทําได้ง่ายกว่า
    อืมมันออกจะดูเอียงชายจังเลยนะครับ เพราะการจี้ปล้นในรูปแบบอย่างว่ามันก็เป็นการใช้ชีวิตลงไปตรงจุดนั้นเหมือนกัน

    และในการเปรียบเทียบเรื่องขอ มะเมี๊ยนั่น ตามที่ผมทราบ ผมว่ามันเป็นเรื่องของความรักที่ต่างชนชั้น ไม่ได้มีใครจับใคร หรือหวังผลประโยชน์จากใคร เป็นคนละประเด็นกับ เสี่ยกับแต๊ะอั๋ง

    ผมว่ามันน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ด้านดิบของผู้ชายที่อยากจะ -เอา- โดยมีผู้สนอง คือหญิงที่อยาก จะ -เอาเงิน- มา เป็นเรื่องของการหลงไป คือ แสวงหาความสุขจากสิ่งอื่นที่เป็นปัจจัยภายนอก มากกว่านะครับ (เงิน - กามา)

    ขอบคุณครับ
     

    Posted by peeratop@hotmail.com

    By Anonymous Anonymous, At 3/30/2006 08:11:00 PM  

  • By Blogger Pop, At 1/02/2010 09:49:00 PM  

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]



<< Home