ทำไมแปรรูปแล้วค่าไฟจะแพง
บทวิเคราะห์ โดย พลังไท
แปรรูปการไฟฟ้าแล้วค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหรือไม่?
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ได้มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้า จากเดิมที่อิงต้นทุน ภาระการใช้หนี้และเงินลงทุนในโครงการใหม่ มาเป็นการประกันผลตอบแทนการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจากผลการศึกษาของกระทรวงพลังงานเอง การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟนี้จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น4%เมื่อ เทียบกับระบบเดิม
ความเกี่ยวเนื่องระหว่างค่าไฟฟ้าที่ได้ขยับขึ้นแล้วและ การเปลี่ยนสถานภาพของการไฟฟ้าจากองค์การของรัฐ เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ที่มุ่งผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นนั้น มีพัฒนาการอย่างที่ขั้นเป็นตอน ดังนี้
1. ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Boston Consulting Group (BCG) มาศึกษาเรื่องการเตรียมการนำการไฟฟ้าเข้าตลาดหุ้น จากผลการศึกษาในส่วนของอัตราค่าไฟฟ้า มีเนื้อหาหลักที่สรุปได้ดังนี้
1) หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบที่อิงผลตอบแทนการลงทุน (Return – based) แทนระบบเดิมที่อิงความต้องการรายได้ (Cash - based) เพื่อให้เหมือนกับบริษัทในต่างประเทศซึ่งได้ผ่านการแปรรูปแล้ว และให้เป็นที่ดึงดูดแก่นักลงทุนที่สนใจซื้อหุ้น ถึงแม้ว่าระบบใหม่จะมีข้อเสียคือ ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้น
2) ภายใต้ระบบที่อิงผลตอบแทน หลักเกณฑ์ที่นิยมใช้คือเกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน (Return on Invested Capital, ROIC)
ในต่างประเทศค่าเฉลี่ยของระดับ ROIC ของบริษัทในกิจการไฟฟ้าอยู่ที่ 4.2% (ดูภาพประกอบ)
3) ถึงแม้ค่าเฉลี่ยต่างประเทศอยู่ที่ 4.2% ที่ปรึกษา BCG กลับเสนอว่า ระดับ ROIC ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย คือ 9%
4) เนื่องจาก ROIC ในปัจจุบันของ 3 การไฟฟ้าต่ำกว่า 9% หากนำเกณฑ์ ROIC เท่ากับ 9% มาใช้ทันที จะทำให้ค่าไฟฟ้าขึ้นอีก 4% จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. วันที่ 9 ธันวาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการศึกษาของ BCG ซึ่งรวมถึงการใช้ผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) เป็นหลักในการคิดค่าไฟเพื่อรองรับการแปรรูป
3. เดือนมกราคม 2547 กฟผ. ทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรพบว่า หากรัฐบาลไม่ขึ้นค่าไฟฟ้า ค่า ROIC ของ กฟผ. ในปี 2547 – 2551 จะอยู่ที่ระดับ 1 – 4 % (ต่ำกว่าเป้า 9% อยู่มาก ซึ่งจะทำให้ไม่ดึงดูดต่อนักลงทุน)
4. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลประกาศขึ้นค่า Ft 12.16 สตางค์ / หน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4.8% โดยอ้างว่าต้นทุนสูงขึ้นเพราะต้องใช้น้ำมันเตาแทนก๊าซจากแหล่งเยตะกุน ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง ทั้งๆ ที่ภาระดังกล่าวควรเป็นความรับผิดของของ ปตท. ในฐานะผู้จัดหาก๊าซ ไม่ควรจะตกมาถึงผู้ใช้ไฟ (ในทางกลับกันหาก กฟผ. ไม่สามารถรับก๊าซได้ตามสัญญา กฟผ. ต้องจ่ายค่า Take – or – Pay ให้ปตท. แต่ในหน้าที่ปตท. ส่งก๊าซไม่ได้ตามสัญญา ความเสียหายที่เกิดขึ้นกลับเป็นภาระของกฟผ. และผู้ใช้ไฟ โดยปราศจากความรับผิดชอบ)
5. วันที่ 17 ก.พ. 2547 กฟผ. และ รมว.พลังงาน ออกมาเตือนว่า งวดต่อไปค่า Ft ต้องขึ้นอีก 5 สตางค์ / หน่วย โดยอ้างสาเหตุว่าก๊าซไม่พออีกเช่นเคย
ในช่วง 4-5 เดือนมานี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะปรับแต่งตัวเลขอัตราค่าไฟฟ้าก่อนการแปร รูป ซึ่งมีผลต่อกำไรของ กฟผ. เพื่อให้เป็นที่ยอมรับแก่นักลงทุน ดังนั้น หากมีการแปลงสภาพ กฟผ. ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นอย่างแน่นอน
จากข้อเท็จจริง ข้างต้น การที่รัฐบาลมักตอบคำถามเรื่อง การแปรรูปทำให้ค่าไฟแพงหรือไม่ว่า ค่าไฟฟ้าในอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับดูแลการไฟฟ้าที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ มติ ครม. เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2546 ได้ระบุชัดเจนว่า กรอบการกำกับดูแลที่จะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า คือ เกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) คณะกรรมการกำกับดูแลที่รัฐบาลจะจัดตั้งขึ้นคงทำได้ก็เพียงดำเนินการตามกรอบท ี่รัฐบาลได้วางแล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่รัฐบาลมักกล่าวถึง ณ วันนี้ ยังไม่มีตัวตน ไม่มีกฏหมายใดๆรองรับอำนาจ หน้าที่ ที่ชัดเจน และโดยโครงสร้างและที่มาแล้ว ยังไม่มีความเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองอีกด้วย
ภายหลังจากที ่มีเสียงคัดค้านการขึ้นค่าไฟฟ้าเพื่อรองรับการแปรรูปมากขึ้น ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานก็ได้ประกาศว่า ทางรัฐบาลจะหามาตรการตรึงค่าไฟเป็นเวลา 1 ปีนับจากการแปรรูป การตรึงค่าไฟนี้มีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคอย่างไร
สมมติฐานของการตรึงค่ าไฟ คือ ไฟฟ้าขึ้นราคาเป็นการชั่วคราวเหมือนกรณีน้ำมัน ในความเป็นจริง ผลการวิเคราะห์ฐานะการเงินของ กฟผ. แสดงให้เห็นว่า หากไม่มีการขึ้นค่าไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเกณฑ์ผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) ในปี 2547 – 2551 จะอยู่แค่เพียง 1 – 4 % ไม่เป็นไปตามเป้า 9 % ที่กำหนด สมมติฐานดังกล่าวจึงไม่สมเหตุสมผลกับแนวโน้มค่าไฟในความเป็นจริง
ประ สบการณ์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ภาระจากการตรึงค่าไฟฟ้าไม่ได้หายไปไหนหลังจากที่รัฐพยายามตรึงค่า Ft ในช่วงมิ.ย.46-ม.ค.47 ท้ายสุด ก็ไม่สามารถแทรกแซงได้อีก ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้น 12เ สตางค์/หน่วย หรือเกือบ5% นอกจากนี้ ผลจากการตรึงค่า Ft ยังได้ก่อเกิดหนี้ค้างชำระอีกจำนวน 4,800 ล้านบาท เงินจำนวนนี้จะต้องทยอยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟภายใน 3 ปี
บทเรียนจ ากการตรึงค่าไฟฟ้า คือ ภาระค่าไฟไม่ได้หายไปไหน จะช้าเร็วผู้ใช้ไฟฟ้าก็ต้องจ่ายอยู่ดี เพียงแต่อาจจะจ่ายในรูปค่า Ft ที่สูงขึ้น หรือ เงินภาษีอุดหนุนค่าไฟที่รัฐต้องเจียดมาจาก งบการศึกษา งบสาธารณสุข หรืออื่นๆ เท่านั้นเอง
ทางออกหนึ่งที่รัฐบาลกำลังพิจารณ าเพื่อแก้ปัญหาภาวะค่าไฟหนักอึ้ง คือ การจัดตั้งกองทุนไฟฟ้าจำนวน 60,000 ล้านบาท เพื่อใช้บรรเทาผลกระทบค่าไฟ กองทุนนี้จะมีที่มาจากรายได้และเงินปันผลจากการแปรรูป กฟผ.และอาจมีเงินภาษีสมทบด้วยส่วนหนึ่ง มาตรการนี้ หากนำมาใช้จริง จะสะท้อนให้เห็นความจริงอันน่าสลดใจของการแปรรูป ในปัจจุบัน กฟผ. มีกำไรจากการดำเนินการสูงถึง 30,000 ล้านบาท/ปี ซึ่ง 35% ของเงินจำนวนนี้ส่งเข้าเป็นรายได้ของรัฐ แต่ในอนาคตภายหลังแปรรูป รัฐกลับต้องสูญเสียรายได้ประเทศจำนวนถึง 60,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพ กฟผ. ทั้งๆที่การแปรรูปคือ การขายความเป็นเจ้าของกิจการรัฐส่วนหนึ่งให้เอกชน
แปรรูปการไฟฟ้าแล้วค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหรือไม่?
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ได้มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟฟ้า จากเดิมที่อิงต้นทุน ภาระการใช้หนี้และเงินลงทุนในโครงการใหม่ มาเป็นการประกันผลตอบแทนการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจากผลการศึกษาของกระทรวงพลังงานเอง การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคิดค่าไฟนี้จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น4%เมื่อ เทียบกับระบบเดิม
ความเกี่ยวเนื่องระหว่างค่าไฟฟ้าที่ได้ขยับขึ้นแล้วและ การเปลี่ยนสถานภาพของการไฟฟ้าจากองค์การของรัฐ เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ที่มุ่งผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นนั้น มีพัฒนาการอย่างที่ขั้นเป็นตอน ดังนี้
1. ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Boston Consulting Group (BCG) มาศึกษาเรื่องการเตรียมการนำการไฟฟ้าเข้าตลาดหุ้น จากผลการศึกษาในส่วนของอัตราค่าไฟฟ้า มีเนื้อหาหลักที่สรุปได้ดังนี้
1) หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบที่อิงผลตอบแทนการลงทุน (Return – based) แทนระบบเดิมที่อิงความต้องการรายได้ (Cash - based) เพื่อให้เหมือนกับบริษัทในต่างประเทศซึ่งได้ผ่านการแปรรูปแล้ว และให้เป็นที่ดึงดูดแก่นักลงทุนที่สนใจซื้อหุ้น ถึงแม้ว่าระบบใหม่จะมีข้อเสียคือ ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้น
2) ภายใต้ระบบที่อิงผลตอบแทน หลักเกณฑ์ที่นิยมใช้คือเกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน (Return on Invested Capital, ROIC)
ในต่างประเทศค่าเฉลี่ยของระดับ ROIC ของบริษัทในกิจการไฟฟ้าอยู่ที่ 4.2% (ดูภาพประกอบ)
3) ถึงแม้ค่าเฉลี่ยต่างประเทศอยู่ที่ 4.2% ที่ปรึกษา BCG กลับเสนอว่า ระดับ ROIC ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย คือ 9%
4) เนื่องจาก ROIC ในปัจจุบันของ 3 การไฟฟ้าต่ำกว่า 9% หากนำเกณฑ์ ROIC เท่ากับ 9% มาใช้ทันที จะทำให้ค่าไฟฟ้าขึ้นอีก 4% จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. วันที่ 9 ธันวาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการศึกษาของ BCG ซึ่งรวมถึงการใช้ผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) เป็นหลักในการคิดค่าไฟเพื่อรองรับการแปรรูป
3. เดือนมกราคม 2547 กฟผ. ทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรพบว่า หากรัฐบาลไม่ขึ้นค่าไฟฟ้า ค่า ROIC ของ กฟผ. ในปี 2547 – 2551 จะอยู่ที่ระดับ 1 – 4 % (ต่ำกว่าเป้า 9% อยู่มาก ซึ่งจะทำให้ไม่ดึงดูดต่อนักลงทุน)
4. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลประกาศขึ้นค่า Ft 12.16 สตางค์ / หน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4.8% โดยอ้างว่าต้นทุนสูงขึ้นเพราะต้องใช้น้ำมันเตาแทนก๊าซจากแหล่งเยตะกุน ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง ทั้งๆ ที่ภาระดังกล่าวควรเป็นความรับผิดของของ ปตท. ในฐานะผู้จัดหาก๊าซ ไม่ควรจะตกมาถึงผู้ใช้ไฟ (ในทางกลับกันหาก กฟผ. ไม่สามารถรับก๊าซได้ตามสัญญา กฟผ. ต้องจ่ายค่า Take – or – Pay ให้ปตท. แต่ในหน้าที่ปตท. ส่งก๊าซไม่ได้ตามสัญญา ความเสียหายที่เกิดขึ้นกลับเป็นภาระของกฟผ. และผู้ใช้ไฟ โดยปราศจากความรับผิดชอบ)
5. วันที่ 17 ก.พ. 2547 กฟผ. และ รมว.พลังงาน ออกมาเตือนว่า งวดต่อไปค่า Ft ต้องขึ้นอีก 5 สตางค์ / หน่วย โดยอ้างสาเหตุว่าก๊าซไม่พออีกเช่นเคย
ในช่วง 4-5 เดือนมานี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะปรับแต่งตัวเลขอัตราค่าไฟฟ้าก่อนการแปร รูป ซึ่งมีผลต่อกำไรของ กฟผ. เพื่อให้เป็นที่ยอมรับแก่นักลงทุน ดังนั้น หากมีการแปลงสภาพ กฟผ. ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นอย่างแน่นอน
จากข้อเท็จจริง ข้างต้น การที่รัฐบาลมักตอบคำถามเรื่อง การแปรรูปทำให้ค่าไฟแพงหรือไม่ว่า ค่าไฟฟ้าในอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับดูแลการไฟฟ้าที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ มติ ครม. เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2546 ได้ระบุชัดเจนว่า กรอบการกำกับดูแลที่จะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า คือ เกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) คณะกรรมการกำกับดูแลที่รัฐบาลจะจัดตั้งขึ้นคงทำได้ก็เพียงดำเนินการตามกรอบท ี่รัฐบาลได้วางแล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่รัฐบาลมักกล่าวถึง ณ วันนี้ ยังไม่มีตัวตน ไม่มีกฏหมายใดๆรองรับอำนาจ หน้าที่ ที่ชัดเจน และโดยโครงสร้างและที่มาแล้ว ยังไม่มีความเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองอีกด้วย
ภายหลังจากที ่มีเสียงคัดค้านการขึ้นค่าไฟฟ้าเพื่อรองรับการแปรรูปมากขึ้น ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานก็ได้ประกาศว่า ทางรัฐบาลจะหามาตรการตรึงค่าไฟเป็นเวลา 1 ปีนับจากการแปรรูป การตรึงค่าไฟนี้มีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคอย่างไร
สมมติฐานของการตรึงค่ าไฟ คือ ไฟฟ้าขึ้นราคาเป็นการชั่วคราวเหมือนกรณีน้ำมัน ในความเป็นจริง ผลการวิเคราะห์ฐานะการเงินของ กฟผ. แสดงให้เห็นว่า หากไม่มีการขึ้นค่าไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเกณฑ์ผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) ในปี 2547 – 2551 จะอยู่แค่เพียง 1 – 4 % ไม่เป็นไปตามเป้า 9 % ที่กำหนด สมมติฐานดังกล่าวจึงไม่สมเหตุสมผลกับแนวโน้มค่าไฟในความเป็นจริง
ประ สบการณ์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ภาระจากการตรึงค่าไฟฟ้าไม่ได้หายไปไหนหลังจากที่รัฐพยายามตรึงค่า Ft ในช่วงมิ.ย.46-ม.ค.47 ท้ายสุด ก็ไม่สามารถแทรกแซงได้อีก ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้น 12เ สตางค์/หน่วย หรือเกือบ5% นอกจากนี้ ผลจากการตรึงค่า Ft ยังได้ก่อเกิดหนี้ค้างชำระอีกจำนวน 4,800 ล้านบาท เงินจำนวนนี้จะต้องทยอยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟภายใน 3 ปี
บทเรียนจ ากการตรึงค่าไฟฟ้า คือ ภาระค่าไฟไม่ได้หายไปไหน จะช้าเร็วผู้ใช้ไฟฟ้าก็ต้องจ่ายอยู่ดี เพียงแต่อาจจะจ่ายในรูปค่า Ft ที่สูงขึ้น หรือ เงินภาษีอุดหนุนค่าไฟที่รัฐต้องเจียดมาจาก งบการศึกษา งบสาธารณสุข หรืออื่นๆ เท่านั้นเอง
ทางออกหนึ่งที่รัฐบาลกำลังพิจารณ าเพื่อแก้ปัญหาภาวะค่าไฟหนักอึ้ง คือ การจัดตั้งกองทุนไฟฟ้าจำนวน 60,000 ล้านบาท เพื่อใช้บรรเทาผลกระทบค่าไฟ กองทุนนี้จะมีที่มาจากรายได้และเงินปันผลจากการแปรรูป กฟผ.และอาจมีเงินภาษีสมทบด้วยส่วนหนึ่ง มาตรการนี้ หากนำมาใช้จริง จะสะท้อนให้เห็นความจริงอันน่าสลดใจของการแปรรูป ในปัจจุบัน กฟผ. มีกำไรจากการดำเนินการสูงถึง 30,000 ล้านบาท/ปี ซึ่ง 35% ของเงินจำนวนนี้ส่งเข้าเป็นรายได้ของรัฐ แต่ในอนาคตภายหลังแปรรูป รัฐกลับต้องสูญเสียรายได้ประเทศจำนวนถึง 60,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพ กฟผ. ทั้งๆที่การแปรรูปคือ การขายความเป็นเจ้าของกิจการรัฐส่วนหนึ่งให้เอกชน