สงครามเด่น ที่สหรัฐอเมริกาแพ้

ปี 1951 แพ้จีน ที่ เกาหลี

ทหารจีนร่วมแสนคน"เดิน"กันไปล้อมทหารมะกันและ UN ที่เกาหลี ก่อนที่จะเริ่มการโจมตีครั้งแรกในตอนคํ่าปี 1950 ท่านอย่าคิดว่าทหารจีนเขาจะ"เดิน" กันเป็นกองทัพให้เห็นกันง่ายๆนะ เขาค่อยๆ"เดิน" กันมาตอนกลางคืน และพักนอนตอนกลางวัน ด้วยเหตุนี้กองทัพมะกันจึงถูกรุมล้อมและ โจมตีโดยมิได้คาดหมายเอาไว้ กองทัพมะกันและ UN สูญเสียทหารและบาดเจ็บทั้งหมด 1,093,839 คน จากการถูกโจมตี 5 ครั้งโดยจีน ทางฝ่ายจีนเองก็บาดเจ็บถึง 390,000 คน แต่การโจมตีทั้ง 5 ครั้งนี้ทําให้ทหารมะกันและ UN ต้องพ่ายแพ้ และต้องถอยทัพติดกันเป็นเส้นทางที่ยาวไกลอย่างไม่เคยมีปรากฎการณ์มาก่อนในประวัติศาสตร์ แมคอาเทอ นายพลมะกันโกรธจัดจะใช้ระเบิดปรมาณูทลายเมืองต่างๆในจีน แต่ประธานาธิบดีมะกันกลัวโซเวียตจะเข้ามาร่วมใช้ระเบิดปรมาณูต้าน จึงทําให้เกิดการถกเถียงกันภายในกองทัพมะกัน ผลก็คือนายพล แมคอาเทอ ถูกปลดออกจากตําแหน่ง ส่วนทหารมะกันและ UN ซึ่งต้องถอยทัพอันยาวไกล ลงมาจากเกาหลีเหนือนั้นก็ปักหลักตั้งรับอยู่ที่เกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 1953 มาจนถึงปัจจุบัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ปี 1961 แพ้คิวบา

ในปี 1959 นั้นคงเป็นปีที่น่าตกใจมิน้อยสําหรับนักท่องเที่ยว และนายทุนอเมริกันในประเทศคิวบา ที่ต้องถูกสลับฉากจาก ระบําโป๊ของสาวช่าช่า มาเป็นภาพของกลุ่ม นักปฎิวัติสังคมนิยมหนวดเครารุงรัง ซึ่งโผล่ออกมาจากป่าเพื่อยึดที่ทางและธุรกิจของชาวมะกันเอาไว้เป็นของส่วนรวมของชาวคิวบา "คนป่า" กลุ่มนี้ซึ่งนําโดย นายแพทย์เอินเนสโต กูวาร่า (Che) และ ดร. ฟิเดล คาสโตร ประกาศว่าประเทศคิวบา จะไม่ฟังคําสั่งจากสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป รัฐบาลมะกันและประธานาธิบดี จอน เคนเนดี ได้รับรู้ข่าวก็โกรธ พร้อมส่งกองทัพของ CIA ไปลงที่หาดในประเทศคิวบาในปี 1961 เพื่อเตรียมยึดประเทศกลับคืน พวก CIA หาได้รู้ไม่ว่า ดร. ฟิเดล คาสโตร และกลุ่ม "คนป่า" ทั้งหลายได้เตรียมตัว ต้อนรับพวกเขาไว้นานแล้ว ครั้นได้เวลาก็เข้าโจมตีกองทัพมะกัน และสามารถกวาดล้างและ จับกุมกองกําลังทั้งหมดของมะกันได้โดยใช้เวลาเพียง 72 ชั่วโมง เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่น่าอับอายอย่างยิ่งต่อรัฐบาลมะกัน หลังจากนั้นไม่นาน สหรัฐอเมริกาจึงแก้แค้นโดยการควํ่าบาตรประเทศคิวบาทางเศรษฐกิจมาตลอดจนถึงบัดนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ปี 1975 แพ้เวียดนาม

หลังจากปี 1954 เมื่อเวียดนามได้ชัยชนะจากฝรั่งเศส ประชาชนชาวเวียดนามก็เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมทั่วเวียดนาม แต่ทางสหรัฐอเมริกากลัวว่าโฮจิมินจะได้รับเลือกเพราะประชาชนเลื่อมใสเขามาก จากการที่เขาเป็นผู้นํา ในการกู้เอกราชมาจากฝรั่งเศส สหรัฐจึงตั้งรัฐบาลชั่วคราวไว้ที่เวียดนามใต้ เพื่อดูแลผลประโยชน์ ของตนที่หลงเหลือมาจาก สมัยจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส โดยมิยอมให้มีการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ของเวียดนามเห็นว่าเวียดนามใต้ นั้นเป็นเพียงรัฐบาล "หุ่น" ของสหรัฐ พวกเขาจึงเริ่ม เสื่อมศรัทธาและหัน ไปร่วมมือกับรัฐบาลของโฮจิมินแทน สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มส่งกองทหารไป คุ้มกันรัฐบาลเวียดนามใต้ในช่วง 1965 มิให้เสื่อมลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ และได้มีการรบพุ่งกันขึ้น หลายครั้งกับทหารเวียดนามเหนือ พอมาถึงปี 1968 ทหารสหรัฐในเวียดนามมีจํานวนมากถึง 500,000 คน หลายท่านนั้นก็ได้มาประจํา อยู่แถวถนนพัฒน์พงค์ในบ้านเรานั่นเอง คงเป็นที่น่าเสียดายสําหรับนายทุนประเวณี ที่จะต้องสูญเสียลูกค้าประจําดังกล่าว เมื่อทหารสหรัฐได้ถูกโจมตีอย่างหนัก โดยกองกําลังเวียดนามเหนือ ในช่วงปีใหม่ของ 1968 ทางสหรัฐได้เสียทหารจากการถูกโจมตีครั้วนั้น 5000 คน ทําให้เกิดกระแสต่อต้านสงคราม อย่างแรงขึ้นในเมืองมะกัน ริชาร์ด นิคสัน ประธานาธิบดีคนใหม่ จึงเริ่มการถอนทหารออกจากเวียดนามจนหมดภายในปี 1973 ต่อมาอีกสองปี สงครามเวียดนามก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ปี 2006 แพ้ไทย ที่สนามหลวง

โปรดติดตามได้เร็วๆนี้ จากการออกไปของ "หุ่น" หน้าเหลี่ยมอันเป็นที่รักของสหรัฐ แม้ว่าสื่อสหรัฐอย่าง Washington Post หรือ CNN จะวิจารณ์ว่า "หุ่น" ของประเทศตนนั้นยังแข็งแรงในชนบทอยู่ก็ตาม

การออกไปของ "หุ่นหน้าเหลี่ยม" ย่อมมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐ และจะเป็นเหตุให้กองกําลังสหรัฐ (และ CIA) ไม่สามารถใช้ราชอาณาจักรไทยเป็นฐานทัพได้อีกต่อไป ประเทศไทยจะมีเพื่อนในภูมิภาคมากขึ้น และความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลงในที่สุด ไทยจะสามารถต่อรอง FTA กับจีนได้ เพราะจีนได้ประโยชน์จากการเป็นมิตรกับไทยทางด้านยุทธศาสตร์ภูมิภาค (geo-politics) มากกว่าการขายหอม และ กระเทียม

การตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่พร้อมกับการรวมตัวของคนตุลาฯให้รัฐบาล (หลังจากได้เตะ "หน้าเหลี่ยม" ออกไป) จะทําให้พรรคสุนัขจรจัดของสหรัฐ (อย่างประชาธิปัตย์) ต้องสูญเสียความชอบธรรมไปด้วยกันกับ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน

ต่างชาติจะต้องหันมาศึกษาประชาธิปไตยแบบไทยๆ ประชาธิปไตยที่เสียงดัง รุงรัง ยุ่งเหยิง เซ็กซี่ เร่าร้อน เหงื่อตก ตดเหม็น จริงใจ และใฝ่สูง !

มันเป็นประชาธิปไตยของการถกเถียง ประชาธิปไตยของการจัดเวที ประชาธิปไตยของการปวดขี้ (เพราะอิ่มท้อง) และที่สําคัญ มันเป็นประชาธิปไตยของการ "วิวัฒนาการ" ร่วมกัน ไม่ใช่ประชาธิปไตยของการ "โหวต"ร่วมกัน

โปรดติดตามได้เร็วๆนี้ !

ขายชินคอร์ปฯกับความมั่นคงของชาติ

โดย วิชัย บำรุงฤทธิ์

ผู้ใดกระทำการใดๆเพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไปซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใดๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบ หรือการสงคราม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี ถ้าความผิดดังกล่าวในสองวรรคก่อน ได้กระทำเพื่อให้รัฐต่างประเทศได้ประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

ข้อความข้างต้นนั้นเป็นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 124 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันท่านผู้อ่านเฉลียวใจบ้างหรือไม่ว่า ทำไม?การชุมนุมของผู้คนวงการต่างๆ ณ ท้องสนามหลวงจึงมีผ้าคาดหัวว่า “กู้ชาติ”และหากท่านติดตามเรื่องราวการขายหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯซึ่งเป็นบริษัทที่ครอบครัวของท่านนายกฯทักษิณมีส่วนได้ประโยชน์ก็จะทำให้ท่านเริ่มได้คิดอะไรบางอย่างขึ้นมาบ้าง

ณ ที่นี้ผู้เขียนจะไม่นำพฤติกรรมยอกย้อนซ่อนเงื่อนเรื่องการหลบเลี่ยงภาษีการค้าที่ลูกชายและลูกสาวของท่านนายกฯได้มีส่วนรู้เห็นจนกระทั่งลูกชายจะถูกปรับในข้อหาไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่สิ่งที่จะให้ท่านผู้อ่านร่วมพิจารณามันเป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น เพราะเกี่ยวพันกับความมั่นคงของชาติ

คงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าบริษัทชินคอร์ปฯของตระกูลชินวัตรมีบริษัทในเครือชื่อบริษัทชินแซทฯที่เป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคมและไอพีสตาร์

ผู้เขียนใคร่ขอความกรุณาท่านผู้อ่านย้อนกลับไปอ่านข้อความของประมวลกฎหมายอาญามาตรา124 ข้างต้นอีกสักสามครั้ง ...หากท่านพิจารณาถ้อยคำทีละวรรคทีละประโยค คงจะพบว่าความมั่นคงของชาติไทยอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับ “การเสี่ยงภัย” อยู่ในภาวะ ที่ “ล่อแหลม” อยู่ในภาวะที่ “ไร้หลักประกัน”นับตั้งแต่บริษัทชินคอร์ปฯได้โอนสิทธิ การใช้ประโยชน์ไปให้บริษัทเทมาเสกซึ่งเป็นบริษัทในกำกับของรัฐบาลประเทศสิงคโปร์

เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายประสานกับการขายหุ้นชินคอร์ปฯไม่เป็นสงสัยเลยว่าบริษัทที่ลูกชายและลูกสาวท่านนายกฯตลอดจนเครือญาติ “ตระกูลชินวัตร” มีส่วนเกี่ยวข้องในการ ให้รัฐต่างประเทศได้ประโยชน์ที่สามารถจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดาวเทียมไทยคม และไอพีสตาร์ที่จะเรียกดู เรียกเก็บข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ “ความลับ”ของประเทศ อาทิ ลักษณะรายละเอียดทางกายภาพของประเทศ,ที่ตั้งหน่วยราชการ, ที่ตั้งหน่วยทหาร ,การกระจุกตัวของชุมชนฯลฯ ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่ไม่พึงเปิดเผยโดยละเอียดแก่ต่างชาติ เพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติยิ่งเทคโนโลยี ผ่านดาวเทียมในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเก็บข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์และที่สำคัญเขาสามารถใช้ตลอด24ชั่วโมง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือผู้บริหารชินคอร์ปฯไม่เฉลียวใจบ้างเลยหรือว่าการขายหุ้นของตนนั้นส่งผลกระทบที่นำความมั่นคงของชาติไปสู่ความเสี่ยง ที่ชาวต่างชาติมีส่วนได้ประโยชน์อย่างมหาศาลด้านข่าวและข้อมูล นอกเหนือจากผลประโยชน์ด้านกำไรที่มีมูลค่าเป็นเงิน...และนี่คือที่มาของการที่นายกฯทักษิณถูกวิพากษ์อย่างหนักหน่วงเพราะมันเกี่ยวข้องกับท่านอย่างไม่อาจจะปฏิเสธได้ ด้านหนึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวท่านนายกฯอีกด้านหนึ่งมันบ่งชี้ว่าท่านเป็นนายกรัฐมนตรีที่ขาด “จริยธรรมทางการบริหาร”เป็นอย่างมากที่คำนึงถึงแต่ “กำไรสูงสุด”ของเอกชนโดยไม่คำนึงถึง “ความมั่นคงแห่งชาติ”

เสียงตอบโต้จากนายแพทย์พรหมมินทร์ ผู้ปกป้องท่านนายกฯนั้นอ้างแต่เพียงว่า สัดส่วนในการถือหุ้นยังถือว่าเป็นบริษัทของคนไทยอยู่(โดยปกปิดไม่ให้ประชาชนทราบว่าสิทธิในการบริหารจัดการบริษัทนั้นอยู่ภายใต้การบงการของรัฐบาลสิงคโปร์โดยสิ้นเชิง)ซึ่งเป็นการย้ำให้เห็นว่า “ความมั่นคงของชาติ”ของรัฐบาลชุดนี้มีค่าด้อยกว่า “กำไรสูงสุด”ของบริษัทชินคอร์ปฯ

ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นที่มาของคำตอบว่า เหตุใดการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงจึงใช้สโลแกนคำว่า “กู้ชาติ”อย่างชัดถ้อยชัดคำ...
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและผู้ศรัทธาเลื่อมใสเห็นว่าผู้เขียนมีอคติ เป็นพวกอันธพาลหาเรื่องก็โปรดตอบให้กระจ่างชัดในวันที่แถลงข่าว หรือวันที่ปราศรัยที่ใดก็ได้ว่า การขายหุ้นของชินคอร์ปฯต่อประเด็นนี้มันเหมาะสมและชอบด้วยจริยธรรมของผู้บริหารประเทศแล้ว?

การกล่าวอ้างว่าทำทุกอย่างตามกติกาและ ชอบด้วยกฎหมายนั้นแท้จริงแล้วก็หมิ่นเหม่อย่างยิ่งเมื่อพิจารณาในรูปธรรมของปัญหา

เมื่อพิจารณาจากบรรทัดฐานด้านจริยธรรมและคุณธรรมในการบริหารประเทศในฐานะผู้นำสูงสุดของประเทศต่อกรณีดังกล่าวก็คงมีข้อสรุปอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ทักษิณ ...ออกไป”เป็นคำตอบสุดท้ายที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

การอาสากลับบริหารกิจการบ้านเมืองอีกวาระหนึ่งเป็นสิ่งไม่พึงกระทำจนกว่าท่านจะสะสางเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเสียก่อน...ผู้ทำหน้าที่รักษากฎกติกาด้านความมั่นคงของชาติควรเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วกระมัง?

ดอกไม้ และกำลังใจ:พฤติกรรมอัปยศ

ดอกไม้ และกำลังใจ:พฤติกรรมอัปยศในสังคมการเมืองไทย
โดย วิชัย บำรุงฤทธิ์

การ มอบดอกไม้และให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เป็นพฤติกรรมที่เห็นและเป็นอยู่อย่างดาษดื่นในขณะนี้

สิ่งที่น่าสนใจตรงที่ผู้เข้ามอบดอกไม้และให้กำลังใจ ที่ปรากฏส่วนข้างมากเป็นเกษตรกร, แม่บ้านพ่อบ้านชนชั้นกลางค่อนข้างมีรายได้น้อย โดยมีข้าราชการกระทรวงต่างๆเข้าร่วมสอดแทรกประปรายหลายคนที่เห็นแทบจะกล่าวได้ว่าในชีวิตจริงของเขาเหล่านั้นแม้วัยจะล่วงเลยกลางคนมาแล้ว คงซื้อดอกกุหลาบนับครั้งได้ และก็คงไม่คุ้นเคยกับการมอบดอกกุหลาบให้กำลังใจผู้อื่นแล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ถ้าไม่มีแกนนำประสานงานเป็นต้นคิด แล้วมันจะเกิดวันเช่นนี้ได้อย่างไร? ถ้าไม่มีใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้คนเหล่านี้เดินทางแล้วมันจะสะดวกง่ายดายถึงเพียงนี้เชียวหรือที่ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถเข้าพบผู้นำสูงสุดด้านการบริหารประเทศในทำเนียบรัฐบาล ถ้าไม่มีผู้อำนวยการเรื่องราวดังกล่าวยังไม่ทันจางหายจากวงสนทนา เสียงร้องขอไปรษณียบัตรสนับสนุนจากประชาชนจากท่านผู้นำก็ดังมาจากทำเนียบ พร้อมๆกับข่าวคราวขบวนรถอีแต๋นของเกษตรกรภาคเหนือกำลังเคลื่อนขบวนมายังท้องสนามหลวงเพื่อเป็น “กำลังใจ”ให้ท่านผู้นำนาม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เกิดขึ้นอีกแล้วไม่น่าเชื่อว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นในยุคที่ไทยมีผู้นำที่ประกาศกร้าวอยู่เป็นนิจ ว่า เป็นผู้กล้า เป็นผู้ฉลาดและเป็นผู้มั่งคั่งในทรัพย์ศฤงคารที่ผู้นำการเมืองในโลกยุคนี้ไม่มีใครเทียบได้ผู้นำท่านนี้นี่แหละที่เคยประณามองค์กรเหนือรัฐอย่างสหประชาชาติว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ”

ผู้นำท่านนี้แหละที่ใช้วาจาสามหาวด่ากราดผู้อาวุโสและนักวิชาการในสังคมไทยมามากหน้าหลายคน ที่ผู้คนวงการต่างๆจำไม่ลืมก็คือผู้นำท่านนี้นี่แหละที่ใช้วาจาหมิ่นเหม่จาบจ้วงพระเกจิ อาจารย์แห่งภาคอีสานและผู้นำท่านนี้อีกนั่นแหละที่ใช้วาจาหมิ่นเหม่หลายครั้งหลายหนเมื่อเอ่ยถึงองค์พระประมุขของชาติทั้งๆ ที่เห็นและเป็นอยู่ท่านผู้นำก็กินดี อยู่ดี ไปไหนมาไหนมีบริวารล้อมหน้าล้อมหลังเสริมบารมีเป็นปรกติ แถมยังแสดงคารมโจมตีคู่แข่งได้เสมอต้นเสมอปลาย ยังตัดสินใจ “ยุบสภา”โดยไม่แยแสคำทักท้วงอย่างมีเหตุมีผลของสมาชิกรัฐสภาแล้ววันนี้เกิดอะไรขึ้นหรือ?จึงอ่อนแอ จนต้องการกำลังใจจากมวลชนอันไพศาลท่านผู้นำไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยแม้แต่น้อย...แล้วกำลังใจมันหายไปไหน? จึงโหยหิวกำลังใจเสียเหลือเกินถ้าไม่ใช่เล่ห์เหลี่ยมและมารยาที่หวังผลทางการเมืองชี้นำความคิด

ท่านผู้นำจะกล้าลงแรงสร้างภาพเช่นว่าละหรือ?ขบวนรถอีแต๋นของเกษตรกรจากภาคเหนือแลดูคึกคักมีชีวิตชีวาเพราะวาดหวังว่าจะมีชีวิตดีขึ้นบ้างหากได้ไปประกอบส่วน “ให้กำลังใจ”ท่านผู้นำกับเขาในครั้งนี้สมาชิก อบต.จากภาคอีสานหัวใจระทึกและหวั่นวิตกว่าถ้าไม่ร่วมครั้งนี้ “กองทุนหมู่บ้าน”จะถูกตัดผู้ยากไร้จากภาคเหนือ ใต้ ออก ตก ต่างเดินทางมายังกรุงเทพมหานครด้วยความหวังว่าชีวิตคงจะดีขึ้นบ้าง และหากพลาดสิ่งที่หวังไว้ การได้มาเที่ยวกรุงเทพฟรีๆก็พอจะเป็นคำปลอบประโลมใจที่พอสมเหตุสมผลไม่ให้ชีวิตต้องขมขื่นไปมากกว่านี้ใครกันแน่ที่ควรได้รับกำลังใจ ระหว่าง“ผู้นำ” กับ “เกษตรกรผู้ยากไร้” ระหว่าง “ผู้นำ”กับ “ข้าราชการชั้นผู้น้อย”ฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์ศฤงคารที่เสพสุขตายแล้วเกิดใหม่หลายสิบชาติก็ใช้ไม่หมด กับอีกฝ่ายหนึ่งต้องอาบเหงื่อต่างน้ำสร้างผลผลิตในไร่นาที่ต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาผลผลิตปีแล้วปีเล่าฝ่ายหนึ่งมีอำนาจราชศักดิ์กินอิ่มนอนอุ่นมีทุนมหาศาลกับอีกฝ่ายที่เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีรายได้ชักหน้าไม่ถึงหลังมีความหวังอยู่กับการเสี่ยงโชคที่ท่านผู้นำเป็นผู้กำหนดชะตากรรมใครกันแน่ที่ควรได้รับกำลังใจ?

ใครกันแน่ที่ควรได้รับการฟื้นฟูชีวิตให้ดีขึ้น ?แน่นอนที่สุดเกษตรกรผู้ยากไร้และ ข้าราชการชั้นผู้น้อยเป็นกลุ่มเป้าหมายระดับต้นๆที่ไม่ควรละเลยแต่ที่เห็นและเป็นอยู่เกษตรกรผู้ยากไร้และข้าราชการชั้นผู้น้อยนับหมื่นนับแสนกลับทำหน้าที่ให้กำลังใจผู้นำของหลายครั้งหลายครานับว่าเป็นกิจกรรมที่แปลกประหลาดในสังคมไทยในยุคนี้นี่คือความโหดเหี้ยมของ “นักธุรกิจการเมือง”ที่แสร้งแสดงตัวเป็นเสือเซื่องๆ ก่อนที่จะตะปบเหยื่ออันโอชะนี่คือเล่ห์เหลี่ยมกลโกงในการเข้าหามวลชนของ “นักธุรกิจการเมือง” ที่ใช้เงินโปรยทางเพื่อสร้างภาพจัดฉากไปสู่อำนาจดอกไม้และกำลังใจที่เห็นและเป็นอยู่ระหว่าง “ผู้นำ”กับ “เกษตรผู้ยากไร้”จะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากพฤติกรรมอันอัปยศของสังคมการเมืองไทยที่ฉาบคลุมด้วย “มายาภาพ”มากกว่าการแก้ไขปัญหาอย่างเอาจริงเอาจังหากท่านอ่อนแอ, เมื่อยล้าและ ไร้กำลังใจจนต้องโหยหาเรียกร้องกำลังใจจากประชาชนอย่างที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ จง “ลาออก” ตามคำเรียกร้องของประชาชน, นักวิชาการ ตลอดจน นักเรียน นิสิต นักศึกษาหลายสถาบันที่ร้องขอให้ท่านปฏิบัติตั้งแต่วันนี้เถิด.นอกจากช่วยลดปัญหาความเครียดของคนในชาติแล้วยังช่วยขจัดพฤติกรรมอัปยศในสังคมการเมืองไทยได้อีกด้วย

แถลงการณ์จากเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535

ยืนยันสิทธิอันชอบธรรมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อต้านนายกฯ ที่มาจากการแต่งตั้งและกระบวนการนอกรัฐสภา สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองของประชาชน

ในสถานการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏเด่นชัดว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หมดความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ‘เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535’ ขอสนับสนุนการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชนในการชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา กลไกของรัฐสภาและองค์กรอิสระล้วนถูกรัฐบาลพรรคไทยรักไทยควบคุมครอบงำจนไม่สามารถทำงานได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะปกป้องเจตนารมณ์ประชาธิปไตยของการต่อสู้เดือนพฤษภาคม 2535 เอาไว้ เครือข่ายฯ มีข้อเสนอดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้นต้องวางอยู่บนฐานของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เครือข่ายฯ จึงขอคัดค้านการกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่การได้มาซึ่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ หรือ ‘รัฐบาลจากการแต่งตั้ง’ เพราะนายกฯหรือรัฐบาลจากการแต่งตั้งมิใช่เป้าประสงค์ของประชาชนที่ออกมาขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เครือข่ายฯ ขอเรียนย้ำว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลผลิตของการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย บุคคลหรือคณะบุคคลใดไม่มีสิทธิละเมิดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งไม่มีใครมีอำนาจจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้โดยอำเภอใจ

นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจนอกระบบ ทำให้เจตนารมณ์ประชาธิปไตยของประชาชนถูกปล้นไปซึ่งหน้า

ประการที่สอง แม้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจะบิดเบือนการเลือกตั้งซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน ให้กลายเป็นกระบวนการฟอกตัวของ พ.ต.ท. ทักษิณเอง ซึ่งเครือข่ายฯ ขอประณามไว้ ณ ที่นี้

แต่ เครือข่ายฯ ก็เห็นว่า การเป็นปฏิปักษ์กับการเลือกตั้งอย่างสุดขั้ว จนโน้มเอียงให้สังคมหันไปแสวงหารัฐบาลใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง ก็ย่อมไม่ใช่วิถีทางคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง และขัดต่อหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ข้อบกพร่องของการเลือกตั้งและระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่เป็นเรื่องที่แก้ไขได้โดยวิถีทางของประชาธิปไตย และควรจะต้องที่แก้ไขได้โดย ‘วิถีทางของประชาธิปไตย’

แม้เครือข่ายฯ จะเข้าใจดีถึงข้อจำกัดของการเลือกตั้งในภาวการณ์ปัจจุบันแต่เครือข่ายฯ เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นการแสดงออกถึงสิทธิ และเจตจำนงของประชาชนในการเลือกรัฐบาล ตามหลักการประชาธิปไตย อีกทั้ง ประชาชนก็ยังสามารถแสดงพลังและเจตจำนงของตนเองผ่านกระบวนการเลือกตั้งได้ในหลากหลายวิธีการ

ประการที่สาม เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้ประชาชนรวมตัวผลักดันให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้น – ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่ 2 เมษายน 2549 - เปลี่ยนแปรจาก ‘การเลือกตั้งที่ถูกบิดเบือน’ เป็น ‘การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปการเมือง’ และเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้การปฏิรูปการเมืองต้องเกิดขึ้นทันทีเมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง

เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 ขอเน้นย้ำว่า ปัญหาทางการเมืองในยุครัฐบาลไทยรักไทยเกิดขึ้นเพราะกลไกพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม เปิดโอกาสให้เกิดการบิดเบือนอำนาจไปในทางมิชอบ

ดังนั้นการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่จำเป็นต้องเป็นการปฏิรูปที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่การปฏิรูปที่นำโดยชนชั้นนำหรือนักกฎหมายมหาชนไม่กี่ราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำและระบบการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้อีก ทั้งนี้ การปฏิรูปครั้งใหม่ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากควรขยายรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรอบด้าน

ท้ายที่สุดนี้ เครือข่ายฯ ขอยืนยันว่า การต่อสู้เพื่อเป้าหมายประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ย่อมไม่มีทางลัด มีแต่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนพลังของประชาชนที่กว้างขวางโดยยึดกุม ‘วิถีทางประชาธิปไตย’ เป็นเครื่องมือเท่านั้น

เชื่อมั่นในพลังประชาชน

เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535

…………………………………………

อนึ่ง เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวของนักกิจกรรมทางสังคม ทั้งที่เคยมีบทบาทในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม 2535 มาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา, และอดีตนักกิจกรรมนักศึกษาที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้
และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผลักดันให้ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างสมบูรณ์

รายชื่อ ผู้ร่วมลงนาม

‘แถลงการณ์จากเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535’



1 เฉลิมชัย ทองสุข สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2529

โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ

2 เสาวณีย์ จิตรื่น
เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 2533

อาจาร์ประจำวิทยาลัยนวัตรกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

2 เรณู ไพศาลพานิชกุล กรรมการ /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2532

3 สมเกียรติ จันทรสีมา นายก/ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2534 บก.ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

4 วรดุลย์ ตุลารักษ์ พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534

5 พฤกษ์ เถาถวิล พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534,
อาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

6 ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล กลุ่มอิสระนิติธรรม 2533-2534

โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อมและโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย

7 สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2535

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา

8 ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2535
บก.เว็บไซต์ประชาไท

9 ปริยกร ปุสวิโร
กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2535
นักวิจัย มหาวิทยาลัยเบรเมน เยอรมนี

10 ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี
2535

นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ สหรัฐอเมริกา

11 นันทโชติ ชัยรัตน์ กลุ่มสวัสดิภาพแรงงาน มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง
2535

12 ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2535

13 อุษาวดี สุตะภักดิ์ เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน
(สนนอ.) ปี 2538

14 ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ รองเลขาธิการ /
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2540

15 ชัยธวัช ตุลาฑล เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2541

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน

16 อุเชนทร์ เชียงเสน เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2542

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน

17 ชมมณี สุทธินาค อุปนายก/ องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2542

18 สุภิญญา ทองรัตนาศิริ สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542

19 สันติชัย อาภรณ์ศรี สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2545

20 ศรายุทธ์ ใจหลัก เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2543

21 ทรงศักดิ์ ปัญญา รองเลขาธิการ /
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2544

22 ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์ ผู้ประสานงาน /
องค์การประสานงานเพื่อประชาธิปไตย มข. (อปป.มข.)

ปี 2542 และ 2543

23 ธนลักษณ์ สาเศียร ผู้ประสานงาน /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2543

24 รอมฏอน ปันจอร์ ผู้ประสานงาน /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สภาพแวดล้อม 16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2544 ผู้สื่อข่าวผู้จัดการ

25 พงศธร ศรเพชรนรินทร์ เลขาธิการ/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี
2545

26 สันติชัย อาภรณ์ศรี สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2545

27 พิชิต ไชยมงคล เลขาธิการ/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2546

28 สิทธิพร จราดล ผู้ปฏิบัติงาน/
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทไทย ปี 2545-2546

29 กมลพร ปีอาทิตย์ ฝ่ายประสานนอก/ ชมรมศึกษาปัญหาแห่งเสื่อมโทรม
2542

30 ศิริพร พรมวงศ์ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี2547

31 อัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ กรรมการ /สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี2547

32 อดิศร เกิดมงคล
อดีตรองนายกองค์กรบริหารนักศึกษาสถาบันราชภัฏเชียงราย

และกลุ่มราชภัฏเพื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม

33 พิชิต พิทักษ์

34 ภัควดี วีระภาสพงษ์

35 สาวิตรี พูลสุขโข โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา

36 ประดิษฐ์ ลีลานิมิตร โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา

37 ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิชย์ สถาบันต้นกล้า

38 พรพิมล สันทัดอนุวัตร สถาบันต้นกล้า

39 กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า

40 อัจฉรา เกียรติประไพ สถาบันต้นกล้า

41 วุฒิชัย ศรีคำภา กลุ่มเยาวชนตะกอนยม

42 อังคณา กระบวนแสง สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย

43 จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

44 เพ๊ญโฉม ตั้ง กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม

45 สุภาภรณ์ มาลัยลอย โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

46 ส.รัตนมณี พลกล้า
ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชนชายฝั่งอันดามัน

47 สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

48 นายฐานันดร พิมพ์น้อย ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

49 นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ บริษัท
กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

50 นายธีรวุฒิ ทองทับ ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี
จำกัด

51 ใบตอง รัตนขจิตวงศ์ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

52 กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

53 วัฒนา นาคประดิษฐ์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

54 เฉลิมชัย ทองสุข สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี

2529
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐ

ฮาวายอิ

55 นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ กรรมการบริหารพรรคธรรมาธิปไตย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2531-34

นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ

56 วัฒนชัย วินิจจะกูล นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี
2529

57 นฤมล ไพบูลย์สิทธิคุณ ผู้ประสานงาน /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2542

58 ปาริชาต ผลเพิ่ม นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี
2536