ตะลึง! รัฐทำคนไทยเป็นอัลไซเมอร์!

พบแล้ว สาเหตุการเป็นอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควรของคนไทย คือ การปกครองแบบรัฐรวมศูนย์!.......

การปกครองแบบรวมศูนย์กับการทำลายวงจรการประเมินผลของเซลล์สมอง

รัฐรวมศูนย์สามารถทำลายเซลล์สมองของคนไทยตั้งแต่เด็ก ด้วยการลดทอนความสามารถในการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง บ่อนทำลายวงจรการประเมินผลของปัจเจกบุคคลและส่วนรวมด้วยการ

๑.ควบคุมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก
๒.ปิดกั้นและบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
๓.ยัดเยียดความเป็นตัวตนที่ศูนย์กลางอำนาจเป็นผู้สร้างให้กับปัจเจกและส่วนรวม

กิจกรรมต่างๆ ที่ปัจเจกเคยจัดการกันได้เอง เช่น การศึกษา การปกครอง การกำหนดกฏเกณฑ์ การดูแลความสงบเรียบร้อย การผลิต การบริโภค ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ถูกดึงมาจัดการโดยศูนย์กลางอำนาจรัฐการอยู่กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย กลับกลายเป็นการขึ้นตรงต่อศูนย์กลางอำนาจแต่ถ่ายเดียว

ทั้งนี้ความผิดพลาดที่เกิดจากการจัดการของศูนย์อำนาจนั้น ไม่อยู่ในวิสัยที่ปัจเจกจะบังคับให้ผู้คุมอำนาจต้องรับผิดชอบได้แต่อย่างใดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสรีก็ถูกปิดกั้นให้เหลือเพียงการรับรู้ข้อมูลทางเดียว ผ่านสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ และผ่านเครือข่ายองค์กรและบุคคลากรของส่วนกลาง เช่น สถาบันศึกษา องค์กรปกครองท้องถิ่น เท่านั้นความเป็นตัวตนของปัจเจกและของส่วนรวม ถูกทำลายลงและสร้างนิยามขึ้นมาใหม่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ขึ้นตรงต่อศูนย์กลาง ปัจเจกกลายเป็นพลเมืองดีที่ว่านอนสอนง่าย และส่วนรวมของปัจเจกก็กลายเป็นเพียงส่วนย่อยๆ ของส่วนรวมใหม่ซึ่งห่างไกลที่เรียกว่าชาติ และเป็นส่วนย่อยๆ ของส่วนรวมใหญ่ที่เรียกว่าประชาคมโลกอีกทีหนึ่ง

เป็นสาเหตุของ อัลไซเมอร์ ก่อนวัยอันควร!

ที่มา: จิตสำนึกร่วม ที่เปลี่ยนไป โดย วิลาศ เตชะไพบูลย์
http://thaifriendforum.blogspot.com/2005/01/blog-post_26.html

ชาวไทยต้องไล่ ให้เป็นกิจวัตร!

หมดยุคของแก็งส์เถื่อนที่เรียกตนเองว่า รัฐบาล

ผ่านมาแล้วไม่ว่าจะกี่รัฐบาลในประวัติศาสตร์ไทย ประชาชนได้พบว่า รัฐ ไม่ได้ทำตัวเป็นตัวแทนประชาชนอย่างที่ชอบอ้าง (จะมีข้อยกเว้น ก็แต่ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงพริบตาที่นายปรีดี พนมยงค์เป็นนายก) ตรงกันข้าม รัฐบาลเหล่า่นี้กลับทำตัวเหมือนแก็งส์เถื่อน เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง โดยอ้างความชอบธรรมจากการเลือกตั้งสี่วินาที ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกคน จะเลือกที่จะเป็นนายข องตนเอง เมื่อเกิดปัญหา ก็ประสานงานหาทางแก้กันเอง อย่าหวังพึ่งรัฐบาลไหน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลที่ได้มาด้วยการปฏิวัติ โผล่มาเมื่อใด ชาวไทยต้องไล่ให้เป็นกิจวัตร!

ตัวอย่างชัดๆ ของเครือข่ายชาวบ้านที่คิดเองทำเอง โดยไม่ต้องรอให้แก็งส์รัฐบาลใด มาให้ความช่วยเหลือ....

เทคโนโลยีแบบบ้านๆประหยัดได้เกือบล้านค่าพลังงาน

นยุคที่พลังงานแพงขึ้นทุกวัน ชาวบ้านที่ตำบลอู่โลก จังหวัดสุรินทร์ ลองคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานดู พบว่าค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าฟืน และค่าก๊าซ เมื่อรวมกันนั้นปาเข้าไปเกินครึ่งของรายได้ของแต่ละครัวเรือน (1) ชาวบ้านในตำบลดังกล่าว จึงหาทางรอดด้วยการประหยัดพลังงาน และคิดค้นวิธีใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลปรากฏว่าเทคโนโลยีแบบบ้านๆ อย่างเตาถ่านปั้นเอง ก๊าซชีวภาพจากขี้หมู และน้ำมันมะพร้าว ทำให้ชาวบ้านสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 10% และลดการใช้ฟืนและถ่านไปได้ถึง 20% คิดเป็นเงินประมาณเกือบหนึ่งล้านบาทต่อปี ในตำบลที่มีคนประมาณหนึ่งพัน เป็นผลบุญจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วบวกกับการวิจัยด้วยตนเอง

ค รั้นเมื่อหมอมิ๊ง อดีตรมต กระทรวงพลังงานภายใต้ทักษวย ได้รับทราบเรื่องความสำเร็จของชาวบ้านอู่โลก เลยรีบต่อยอดด้วยการให้เครดิตว่ารัฐสามารถมีบทบาทเป็นฝ่ายกระตุ้นซะงั๊น (2)

ชาวนาไม่รอแก็งส์ทักษิณมาต่อยอด บุกตลาดโลก เชื่อมโยงผู้บริโภคเอง

ใ ครบอกว่าต้องแก้ผ้า เสริมอึ๋มเท่านั้่นจึงจะโกอินเตอร์ได้ ชาวนาไทยผิวคล้ำดำแห้งนี่แหละ โกอินเตอร์มาแล้ว ในสมัยที่รัฐบาลทักษวยรุกรี้รุกรน อยากเซ็น Free Trade กับรัฐบาลสหรัฐฯจนเนื้อเต้น(เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มเกษตรยักษ์ใ หญ่อย่างซีพีและบริษัทในเครือชินคอร์ป)นั้น มีชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่จังหวัดสุรินทร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มนักเรี ยนนักศึกษาที่สหรัฐฯ เดินสายให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตรที่พวกเขาสร้างมานานในขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นให้ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ได้รู้จักกับข้าวปลอดสารพิษของไทยมากขึ้น

ช าวบ้านกลุ่มนี้ เริ่มตระหนักตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วว่า ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมีและการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (monoculture) ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้นักหนานั้น นอกจากจะทำให้ต้นทุนสูงเกินความจำเป็นแล้ว ยังทำลายสุขภาพ (ของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค) ชาวบ้านเริ่มสังเกตว่าหลังฉีดยาฆ่าแมลง มักมีอาการแปลกๆ เช่น ไอจาม และผื่นขึ้น ต้นทุนที่สูงของปุ๋ยเคมียังทำให้ชาวนาติดอยู่ในวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุดของหน ี้ (3) เพื่อหลุดพ้นจากวิถีชีวิตที่รัฐยัดเยียดมาให้นี้ ชาวบ้านจึงหันไปสู่วิถีดั้งเดิมด้วยการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ปลูกพืชโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง (4) การลงขันทำสหกรณ์ทำให้ชาวบ้านสามารถตั้งโรงสีของตนได้โดยไม่ต้องใช้บริการขอ งโรงสีของนายทุนที่ชอบโกงตาชั่ง เมื่อเริ่มทำสักพัก ปรากฏว่าสุขภาพดีขึ้น และผลผลิตกลับมากขึ้นต่อไร่ พอที่จะเลี้ยงตนเอง และบางครั้งก็มีเหลือขายด้วย สหกรณ์ที่สุรินทร์นี้จึงเริ่มขยายขึ้น

ก ารก่อตัวเป็นสหกรณ์นอกจากจะทำให้สามารถรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใครแล้ว ยังทำให้ขายข้าวได้ราคาดีเพราะไม่ต้องถูกกดราคาโดยพ่อค้าคนกลาง และที่น่าสนที่สุดในยุคโลกาภิวัตต์ชาวนาไทยสามารถเจาะตลาดโลกได้โดยตรงด้วยค วามช่วยเหลือจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมในประเทศตะวันตกอีกด้วย

"In Thailand, for example, which provides 75 percent of the rice imported to the US, 68 percent of farmers in the northeast growing region are saddled with debts that are three times their annual income. "(5)

"แม้ประเทศไทยจะตีตลาดข้าวกว่า 75%ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาในภาคอีสาน กลับมีหนี้ท่่วมสามเท่าของรายได้แต่ละคน"(5)

ผู้บริโภคอยากได้อาหารชีวจิตที่เป็นธรรม

ใ นสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีผู้บริโภคจำนวนมากที่ต้องการบริโภคผัก ผลไม้และข้าวปลอดสารพิษ และต้องการสนับสนุนชาวนาขนาดเล็กจากประเทศกำลังพัฒนา ที่มักอยู่ในชายขอบของสังคมเสมอ จึงเกิดเป็นความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade Movement) โดยผู้บริโภคเหล่านี้จะยอมจ่ายราคาสูง เพื่อแลกกับสินค้ามีที่มีคุณภาพ เป็นธรรม(ต่อชาวนา) และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ข ้าวหอมมะลิของสหกรณ์ชาวนาที่จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันพบได้ที่ร้านซูเปอร์มาร์เกตตามเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ และยุโรปในยี่ห้อ Alter Eco ซึ่งเป็นบริษัทที่เริ่มในประเทศฝรั่งเศส มีจุดประสงค์คือเพิ่มความเป็นธรรมต่อชาวนาชาวไร่ขนาดเล็ก ทำให้ชาวนาชาวไร่พึ่งตนเองได้ และสรรหาผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (6)

ต ัวอย่างเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า คน สามารถแก้ปัญหาเองได้ด้วยการสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกันโดยไม่ต้องแบมือขอคว ามช่วยเหลือจากแก็งส์เถื่อนที่เรียกตนเองว่า รัฐบาล แต่เท่าที่ผ่านมา รัฐบาลทำลายความสามารถของคนในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง (7)

แนวคิด

ส ำหรับผู้ผลิตชาวไทยที่ต้องการคิดเองทำเอง และเบื่อที่จะรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อความอยู่รอดในยุคโลกาภิวัฒน์ Thai Friend Forum ขอเสนอหลักการง่ายๆ ดังนี้

๑. SIMPLE CODE: ตั้งสหกรณ์ร่วมทุน มีการบริหารแบบ หนึ่งคน หนึ่งเสียง

ข ้อดีของสหกรณ์คือ มีความยุติธรรม ไม่ต้องมีใครเป็นลูกจ้างใคร ไม่มีเจ้านาย ทุกคนต้องลงแรงทำงาน ทำให้ไม่ต้องมีใครทำงานหนักเกินกว่าคนอื่น โดยเฉลี่ยทุกคนจึงมีเวลาว่างมากขึ้น มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่สามารถถูกซื้อ หรือต่อยอดโดยนายทุน หรือนักการเมืองคนใด ข้อเสียของสหกรณ์คือ อาจตัดสินใจได้ช้า และต้องใช้ความอดทนในการประสานงานทำงานร่วมกัน

๒. DIVERSITY: ผ ลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำเสนอควรมีความหลากหลาย เช่นไม่ใช่ปลูกพืชชนิดเดียว หรือมาจากแหล่งผลิตแห่งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกทำลายในสเกลใหญ่อย่างเช่นโรคพืช หรือภัยพิบัติธรรมชาติ ยึดหลักจากนิเวศน์วิทยาที่ว่าระบบที่หลากหลายนั้นมักเข้มแข็งและยั่งยืนกว่า ร ะบบที่ไม่หลากหลาย

๓. NETWORK: สหกรณ์เชื่อมโยงกับสหกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น สหกรณ์ชาวนาไทย อาจเชื่อมโดยตรงกัับสหกรณ์ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ทำให้ไม่ต้องผ่านนายทุนขูดรีด การใช้อินเตอร์เนตให้เป็นก็ช่วยได้มาก อาจมีการขายตรงทางอินเตอร์เนต

๔. FEEDBACKS: ร ับฟังความเห็นจากผู้บริโภค และปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สุด สหกรณ์ต่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ที่เสียงผู้บริโภคมักไปไม่ถึงซีอีโอ feedbackหลักของบรรษัทยักษ์ใหญ่คือกลไกตลาด ซึ่งมักไม่สะท้อนความต้องการ (i)ความเป็นธรรม (ii)สิ่งแวดล้อมที่สมดุล และ(iii)ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ

ใ นเมื่อคนไทย เครือข่ายกันเองแล้ว ก็ไม่ต้องมีทั้ง "นายหน้า" และ "นาย ก" มาคอยต่อยอดความดีที่คนไทยทำไป ในที่สุด นักต่อยอดอย่างเช่นทักษวย เที่ยวเร่เอาชาวนาพาด ไหล่เพื่อเรียกคะแนนสงสารได้อีก เมื่อถึงวันนั้น แก็งส์ต่อยอด ก็จะค่อยๆ เหี่ยวและหายไปในที่สุด แต่ถ้าหากมีแก็งส์ต่อยอดโผล่ขึ้นมาใหม่...

ชาวไทยต้องไล่ ให้เป็นกิจวัตร!

อ่านเพิ่มเติมได้อีกที่ ...

(1) Janchitfah, Supara. 2005. "Energy policy opening to the public," Bangkok Post, Mar 6, 2005, http://www.palangthai.org/en/story/22.

(2) Appropriate Technology Newsletter, June 20, 2003, http://www.ata.or.th/media/Newsletter%20April%20-%20June%2003%20Part%20I.pdf.pdf

(3) การปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือการปลูกพืชพันธุ์เดียวในพื้นที่ขนาดใหญ่ซ้ำๆ ปีแล้วปีเล่า เพื่อให้ง่ายต่อการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว เป็นวิธีปลูกที่แนะนำโดยนานาชาติและนักวิชาการไทยที่ไปเรียนรู้จากสหรัฐฯ ในสมัยประมาณพ ศ 2503 (ค.ศ. 1960s) ในระยะสั้น การปลูกแบบนี้ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี แต่ในระยะยาวทำลายความสมดุลของระบบนิเวศน์ ทำลายหน้าดิน และทำให้เสี่ยงต่อโรคพืชมากขึ้น จึงต้องใช้ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ผลข้างเคียงคือการทำลายหน้าดิน ทำให้ยิ่งต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงมากขึ้นเป็นวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทำลายน้ำ ทำลายดิน ทำลายความสมดุลของระบบนิเวศน์และที่แย่ที่สุดคือทำลายความสามารถในการพึ่งตน เองได้ของชาวนาไทย อ่านเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Monoculture
http://en.wikipedia.org/wiki/Green_Revolution

(4) “In the past we could drink the water from the field....But then I noticed frogs, fish, and other animals were dying from the chemicals. That’s when I started to become afraid of what we were using.” สมัยก่อนพวกเราดื่มน้ำจากนาได้ ต่อมาเริ่มสังเกตว่ากบ ปลาและสัตว์อื่นๆ เริ่มตายจากสารเคมีในยาฆ่าแมลง พวกเราจึงเริ่มหวาดกลัวกับสิ่งที่พวกเรากำลังใช้ นายประสงค์ ศรีสะอาดกล่าว, http://www.coopamerica.org/pubs/realmoney/articles/fairtraderice.cfm.

(5) Novey, Joelle. 2006. "Fair Trade Rice Makes Debut," Real Money, Nov/Dec 2006, http://www.coopamerica.org/pubs/realmoney/articles/fairtraderice.cfm,
http://www.engagetheworld.org/FairTradeRice.html

(6) http://www.altereco-usa.com/main.php

(7) เตชะไพบูลย์, วิลาศ. 2005. จิตสำนึกร่วม ที่เปลี่ยนไป, http://thaifriendforum.blogspot.com/2005/01/blog-post_26.html.

คุยกับ Black Panther


วันนี้ได้ไปคุยกับ Bobby Seale นักปฎิวัติผู้ก่อตั้ง The Black Panther Party และคณะมาครับ แม้จะอายุมากแล้วก็ตาม เขาก็ย้งมีความคิดแปลกๆใหม่ๆอยู่เช่นเดิม “คุณเอา dvd มาให้ผมตอนนี้เลยสิ” เขาพูดกับโฆษกสาวอย่างเร่งรีบ หล้งจากได้ชมหนังเรื่อง The Revolution will not be Televised (เกี่ยวกับการปฎิวัติในประเทศเวเนซูเอลา)

“ผมจะเอาไปก๊อบแจกเครือข่ายต่อๆกันเองเราต้องเล่นแบบ กองโจร อย่าไปหวังว่าสื่อทีวีเขาจะฉายให้”

ผมเลยช่วยเสริมขึ้นมาว่าที่ “ไทยแลนด์” เด็กๆรุ่นใหม่ เขาก็ทําแบบนั้นกับ วีซีดี “เมืองไทยรายสัปดาห์”เช่นกัน จนสามารถสร้างให้เกิดกระแสระดับชาติได้ คณะของเขาตื่นเต้นกับวิธีการนี้มาก พวกเขาอยากจะดู “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” (แม้จะฟังไม่ออกก็ตาม)

นี่ิแหละครับคณะ The Black Panther ตัวจริงที่ีรัฐบาลสหรัฐเคยกลัวจนตัวสั่นมาแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว พวกเขาเคยตั้ง กองกําลังตํารวจภาคประชาชน ขึ้นมาเองโดยไม่ขึ้นต่อรัฐบาลสหรัฐ !

พวกเขาเห็นว่าคนผิวดําในสหรัฐนั้นถูกตํารวจฝรั่งรังแกมานานมากแล้ว จึงถึงเวลาอันควรที่จะถือปืนป้องกันชุมชนของต้วเอง ตํารวจสหรัฐนั้นได้ใช้อํานาจข่มเหงคนผิวดํามาตลอด แม้ถึงเวลาคับขันก็ไม่ได้ใส่ใจในหน้าที่

นายแมลค่อม เอกซ์ นักปฎิวัติผิวดําคนสําคัญ เคยบันทึกไว้ว่า

“ แม่เคยเล่าว่า ตอนผมยังอยู่ในท้องแม่ มีพวกฝรั่งที่เรียกตัวเองว่า คู คลัก คลาน (Ku Klux Klan) ขี่ม้ามาที่บ้านเรา ณ เมือง โอมาฮา รัฐเนบราสก้า ในคํ่าคืนวันหนึ่ง มันมาล้อมบ้าน โบกปืนไปมา แล้วตะโกนให้พ่อผมออกมา แม่เดินไปเปิดประตูหน้าบ้าน พร้อมกับท้องแก่ของเธอ แล้วบอกพวกมันว่า เราอยู่คนเดียวกับลูกเล็กอีก 3 คน ในขณะที่พ่อกําลังไปเทศน์อยู่ที่เมืองมิลวอกกี้ ….

คืนแห่งฝันร้ายก็ มาเยือนในปี 2472 ซึ่งเป็นความจําอันแรกของผม ผมจําได้ว่าโดนกระชากให้ตื่นขึ้นมาในความปั่นป่วน เสียงปืน เสียงร้อง ควัน และไฟ ….บ้านเราก็ติดไฟรอบข้าง พวกเรานั้นก็วิ่งชนกันอย่างแตกตื่น พยายามจะหนี แม่ผมซึ่งกําลังอุ้มทารกอยู่นั้นก็วิ่งออกจากบ้านซึ่งถล่มลงมาพร้อมกับเพลิง ผมจําได้ว่าพวกเรานั้นออกมาเหลือแต่ตัวกับกางเกงใน ตะโกนร้องเรียกขอความช่วยเหลือ พวกตํารวจฝรั่งกับคนดับเพลิงก็มายืนกอดอกอยู่เฉยๆ จนบ้านเรานั้นไหม้ติดดิน.......”

เมื่อไม่นานมานี้ พายุแคทรีนาที่ถาโถมเข้าฝั่งรัฐหลุยเซียนา ด้วยความเร็ว 140 ไมล์/ชั่วโมง (225 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ได้ทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สิน และชีวิตเป็นจํานวนมาก

ในขณะที่เมืองทั้งเมืองกำลังจมอยู่ใต้น้ำ และคนผิวดําหลายหมื่นกำลังอดน้ำ อดอาหาร และไฟฟ้า พวกเขากลับถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจยิงเสียชีวิต เมื่อพวกเขาพยายามสู้เพื่อความอยู่รอดด้วยการพังเข้าไปในร้านของชำเพื่อนำอาหารและน้ำมาประทังชีวิต รายงานข่าวจากสำนักข่าว CNN กล่าวชมเชยตํารวจอย่างภาคภูมิใจ

ผู้อยู่ในเหตุการณ์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่่า “ผมต้องระวังตัวเป็นพิเศษเพราะผมเป็นคนดํา หลังจากทางรัฐเห็นว่าเมืองไหนไม่ปลอดภัย รัฐก็จะส่งทหารมาเฝ้่าพร้อมห้ามไม่ให้ผู้ใดกลับเข้าบ้านเป็นอันขาด ใครเป็นคนผิวดําจะถูกยิงโดยง่าย ผมเห็นมากับตาแล้ว ในขณะเดียวกัน นักจับจองที่ดินและกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างกลับสามารถเข้าไปในบ้านผมได้”

เหตุการณ์เช่นนี้เองที่ทําให้ คนผิวดําเล็งเห็นว่า ตํารวจสหรัฐนั้นมีไว้เพียงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งที่รํ่ารวยเท่านั้น คนผิวดําในสหรัฐจึงตกอยู่ในสภาำพที่ลําบาก อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองและครอบครัวไ้ด้

เมื่อประชาชนผิวดําเริ่มการชุมนุมเรียกร้องสิทธิโดยสันติวิธีในช่วงปี 2506 นั้น ตํารวจสหรัฐก็ได้ใช้วิธีกลั่นแกล้งต่างๆนาๆ รวมทั้งการให้อันธพาลเข้ามาล้อมและทําร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม สุดท้ายแล้ว ดร.มาติน ลูเทอร์ คิง ซึ่งเป็นผู้นําการชุมนุมก็ถูกสังหารโดยมือปืนผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมอย่างสันติวิธี

การปราบปรามคนผิวดําโดยตํารวจสหรัฐนั้น ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังและเป็นระบบภายหลังสงครามเวียดนาม

ในช่วงสงครามเวียดนาม หน่วยงาน CIA ของสหรัฐอเมริกาได้ใช้นโยบายประชานิยม สนับสนุนการปลูกยาเสพติดทั่วโลก (ชาวเขาก็ไม่เว้น) เพื่อให้พวกเขามีรายได้ จะได้ไม่ไปร่วมมือกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ (ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มปัญญาชนผู้ไม่เห็นด้วยกับระบบทุนนิยม)

ยาเสพติด เหล่านี้ก็ได้หลั่งไหลกลับเข้่ามายังสหรัฐอเมริกา และมีการแพร่หลายในทุกกลุ่มคนและชนชั้น แต่ในช่วงปี 2523 รัฐบาลสหรัฐกลับริเริ่มนโยบายปราบปรามยาเสพติดโดยมุ่งเน้นการจับกุมคนผิวดําและคนจนเป็นหลัก

กองกําลังตํารวจภาคประชาชน ของ The Black Panther จึงตกเป็นเป้าที่รัฐบาลจะต้องกําจัดให้ได้ เพราะหากไม่กําจัดเสีย รัฐก็จะไม่สามารถดําเนินนโยบาย "ปราบปรามยาเสพติด" ได้อย่างราบรื่น

ตํารวจรัฐจึงใช้วิธีลักพาตัว ลอบสังหาร และการข่มขืนภรรยาและญาติของคณะผู้ก่อการ สุดท้ายแล้ว The Black Panther ก็ต้องพ่ายแพ้กองกําลังตํารวจรัฐบาล เพราะมีจํานวนคนและปืนไม่มากพอ นอกจากนี้แล้วคนผิวดําส่วนใหญ่ต้องการสู้กับอํานาจรัฐโดยใช้สันติวิธี

การสู้กับอํานาจรัฐโดยใช้สันติวิธี และตามกฎกติกา จึงเป็นแนวทางที่คนผิวดําในสหรัฐใช้มาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีคนผิวดําเพียง 12 % ของประชากรทั้งหมด แต่ครึ่งหนึ่งของประชากรในคุกของสหรัฐนั้นเป็นคนผิวดํา

Gandhi's Swadeshi - The Economics of Permanence

By Satish Kumar

Of the editor:
The teachings of Mahatma Gandhi were powerful enough to play a major role in the nonviolent revolution that overthrew British colonialism in India. They are clearly still of utmost relevance today. Central to Gandhi's philosophy was the principle of 'swadeshi', which, in effect, means local self-sufficiency. Satish Kumar elaborates on this important concept. Kumar is a Gandhian scholar and also a thinker and activist in the tradition of E.F. Schumacher. Born in Bikaner, in Rajastan, India, Kumar was a Jain monk early in life, then joined the Gandhian movement and later, quite literally, walked around the world. He finally settled in England, where he is now the editor of 'Resurgence' magazine and runs the Schumacher Society, the Schumacher Lecture Series, and Schumacher College. He is also the head of Green Books, an ecologically oriented publishing company.

Mahatma Gandhi was a champion of 'swadeshi', or home economy. People outside India know of Gandhi's campaigns to end British colonialism, but this was only a small part of his struggle. The greater part of Gandhi's work was to renew India's vitality and regenerate its culture. Gandhi was not interested simply in exchanging rule by white sahibs for rule by brown sahibs; he wanted the government to surrender much of its power to local villages.

For Gandhi, the spirit and the soul of India rested in the village communities. He said, "The true India is to be found not in its few cities, but in its seven hundred thousand villages. If the villages perish, India will perish too." Swadeshi is a program for long-term survival.

Principals of Swadeshi

Gandhi's vision of a free India was not a nation-state but a confederation of self-governing, self-reliant, self-employed people living in village communities, deriving their right livelihood from the products of their homesteads. Maximum economic and political power - including the power to decide what could be imported into or exported from the village - would remain in the hands of the village assemblies.

In India, people have lived for thousands of years in a relative harmony with their surroundings: living in their homesteads, weaving homespun clothes, eating homegrown food, using homemade goods; caring for their animals, forests, and lands; celebrating the fertility of the soil with feasts; performing the stories of great epics, and building temples. Every region of India has developed its own distinctive culture, to which travelling storytellers, wandering 'saddhus', and constantly flowing streams of pilgrims have traditionally made their contribution.

According to the principle of swadeshi, whatever is made or produced in the village must be used first and foremost by the members of the village. Trading among villages and between villages and towns should be minimal, like icing on the cake. Goods and services that cannot be generated within the community can be bought from elsewhere.

Swadeshi avoids economic dependence on external market forces that could make the village community vulnerable. It also avoids unnecessary, unhealthy, wasteful, and therefore environmentally destructive transportation. The village must build a strong economic base to satisfy most of its needs, and all members of the village community should give priority to local goods and services.

Every village community of free India should have its own carpenters, shoemakers, potters, builders, mechanics, farmers, engineers, weavers, teachers, bankers, merchants, traders, musicians, artists, and priests. In other words, each village should be a microcosm of India - a web of loosely inter-connected communities. Gandhi considered these villages so important that he thought they should be given the status of "village republics".

The village community should embody the spirit of the home - an extension of the family rather than a collection of competing individuals. Gandhi's dream was not of personal self-sufficiency, not even family self-sufficiency, but the self-sufficiency of the village community.

The British believed in centralized, industrialized, and mechanized modes of production. Gandhi turned this principle on its head and envisioned a decentralized, homegrown, hand-crafted mode of production. In his words, "Not mass production, but production by the masses."

By adopting the principle of production by the masses, village communities would be able to restore dignity to the work done by human hands. There is an intrinsic value in anything we do with our hands, and in handing over work to machines we lose not only the material benefits but also the spiritual benefits, for work by hand brings with it a mediative mind and self-fulfilment. Gandhi wrote, "Its a tragedy of the first magnitude that millions of people have ceased to use their hands as hands. Nature has bestowed upon us this great gift which is our hands. If the craze for machinery methods continues, it is highly likely that a time will come when we shall be so incapacitated and weak that we shall begin to curse ourselves for having forgotten the use of the living machines given to us by God. Millions cannot keep fit by games and athletics and why should they exchange the useful productive hardy occupations for the useless, unproductive and expensive sports and games." Mass production is only concerned with the product, whereas production by the masses is concerned with the product, the producers, and the process.

The driving force behind mass production is a cult of the individual. What motive can there be for the expansion of the economy on a global scale, other than the desire for personal and corporate profit?

In contrast, a locally based economy enhances community spirit, community relationships, and community well-being. Such an economy encourages mutual aid. Members of the village take care of themselves, their families, their neighbours, their animals, lands, forestry, and all the natural resources for the benefit of present and future generations.

Mass production leads people to leave their villages, their land, their crafts, and their homesteads and go to work in the factories. Instead of dignified human beings and members of a self-respecting village community, people become cogs in the machine, standing at the conveyor belt, living in shanty towns, and depending of the mercy of the bosses. Then fewer and fewer people are needed to work, because the industrialists want greater productivity. The masters of the money economy want more and more efficient machines working faster and faster, and the result would be that men and women would be thrown on the scrap heap of unemployment. Such a society generates rootless and jobless millions living as dependants of the state or begging in the streets. In swadeshi, the machine would be subordinated to the worker; it would not be allowed to become the master, dictating the pace of human activity. Similarly, market forces would serve the community rather than forcing people to fit the market.

Gandhi knew that with the globalization of the economy, every nation would wish to export more and import less to keep the balance of payments in its favour. There would be perpetual economic crisis, perpetual unemployment, and perpetually discontented, disgruntled human beings.

In communities practising swadeshi, economics would have a place but would not dominate society. Beyond a certain limit, economic growth becomes detrimental to human well-being. The modern worldview is that the more material goods
you have, the better your life will be. But Gandhi said, "A certain degree of physical comfort is necessary but above a certain level it becomes a hindrance instead of a help; therefore the ideal of creating an unlimited number of wants and satisfying them, seems to be a delusion and a trap. The satisfaction of one's physical needs must come at a certain point to a dead stop before it degenerates into physical decadence. Europeans will have to remodel their outlook if they are not to perish under the weight of the comforts to which they are becoming slaves."

In order to protect their economic interests, countries go to war - military war as well as economic war. Gandhi said, "People have to live in villages communities and simple homes rather than desire to live in palaces." Millions of people will never be able to live at peace with each other if they are constantly fighting for a higher living standard.

We cannot have real peace in the world if we look at each other's countries as sources for raw materials or as markets for finished industrial goods. The seeds of war are sown with economic greed. If we analyze the causes of war throughout history, we find that the pursuit of economic expansion consistently leads to military adventures. "There is enough for everybody's need, but not enough for anybody's greed," said Gandhi. Swadeshi is thus a prerequisite for peace.

The economists and industrialists of our time fail to see when enough is enough. Even when countries reach a very high material standard of living, they are still caught up with the idea of economic growth. Those who do not know when enough is enough will never have enough, but those who know when enough is enough already have enough.

Swadeshi is the way to comprehensive peace: peace with oneself, peace between peoples, and peace with nature. The global economy drives people toward high performance, high achievement, and high ambition for materialistic success. This results in stress, loss of meaning, loss of inner peace, loss of space for personal and family relationships, and loss of spiritual life. Gandhi realized that in the past, life in India was not only prosperous but also conducive to philosophical and spiritual development. Swadeshi for Gandhi was the spiritual imperative.

The rise of English colonialism

Historically, the Indian local economy was dependent upon the most productive and sustainable agriculture and horticulture and on pottery, furniture making, metal work, jewelry, leather work, and many other economic activities. But its basis had traditionally been in textiles. Each village had its spinners, carders, dyers, and weavers who were the heart of the village economy. However, when India was flooded with machine-made, inexpensive, mass-produced textiles from Lancashire, the local textile artists were rapidly put out of business, and the village economy suffered terribly. Gandhi thought it essential that the industry be restored, and started a campaign to stem the influx of British cloth. Due to his efforts, hundreds of thousands of untouchables and caste Hindus joined together to discard the mill-made clothes imported from England or from city factories and learned to spin their own yarn and weave their own cloth. The spinning wheel became the symbol of economic freedom, political independence, and cohesive and classless communities. The weaving and wearing of homespun cloth became marks of distinction for all social groups.

Also responsible for the destruction of India's home economy in the eighteenth century was the introduction of British education under colonial rule. Lord Macaulay, introducing the Indian Education Act in the British Parliament, said, "A single shelf of a good European library was worth the whole native literature of India ... Neither as a language of the law, nor as a language of religion has the Sanskrit any particular claim to our engagement ... We must do our best to form a class of persons, Indian in blood and colour but English in taste, in opinions, in morals and in intellect."

This aim was pursued with the entire might of the British Raj. Traditional schools were replaced by colonial schools and universities. Wealthy Indians were sent to public schools such as Eton and Harrow and universities such as Oxford and Cambridge. Educated Indians increasingly learned English poetry, English law, and English customs to the neglect of their own culture. Reading Shakespeare and the 'London Times' became much more fashionable than reading Indian classics such as the 'Ramayana', the 'Mahabarata', the 'Vedas', and the 'Upanishads'. Educated Indians saw their own culture as backward, uncivilized, and old-fashioned. They wanted to become rulers of India, but they wanted to rule like the British.

If there was any one person who represented this type of Western-educated Indian it was Jawaharlal Nehru, who became the first prime minister after independence. Nehru sought to promote the industrialization of India not via the capitalist route but by centralized planning. His inspiration came from the intellectuals of the London School of Economics and the Fabian Society - the labour Party's think tank.

Gandhi, on the other hand, believed that India's essential contribution to the world was simply het India-ness. He felt that Indians should recognize their own genius and not try to copy Western culture, which was simply a tool of colonization. Economics and politics should not simply be concerned with material things but should be the means to the fulfilment of cultural, spiritual, and religious ends. In fact, economics should not be separated from the deep spiritual foundations of life. This can be best achieved, according to Gandhi, when every individual is an integral part of the community; when the production of goods is on a small scale; when the economy is local; and when homemade handicrafts are given preference. These conditions are conducive to a holistic, spiritual, ecological, and communitarian pattern of society.

In Gandhi's view, spiritual values should not be separated from politics, economics, agriculture, education, and all the other activities of daily life. In this integral design, there is no conflict between spiritual and material. It is no good for some people to close themselves in a monastic order practising religion and for other people to say that a spiritual life is only for saints and celibates. Such a separation of religion from society will breed corruption, greed, competition, power mania, and the exploitation of the weak and poor. Politics and economics without idealism will be a kind of prostitution, like sex without love.

Someone asked Gandhi, "What do you think of Western civilization?" He simply replied, "It would be a good idea." For Gandhi a machine civilization was no civilization. A society in which workers had to labour at a conveyor belt, in which animals were treated cruelly in factory farms, and in which economic activity necessarily lead to ecological devastation could not be conceived of as a civilization. Its citizens could only end up as neurotics, the natural world would inevitably be transformed into a desert, and its cities into concrete jungles. In other words, global industrial society, as opposed to society made up of largely autonomous communities committed to the principle of swadeshi, is unsustainable. Swadeshi for Gandhi was a sacred principle - as sacred for him as the principle of truth and nonviolence. Every morning and evening, Gandhi repeated his commitment to swadeshi in his prayers.

Unfortunately, within six months of independence, Gandhi was assassinated, and Nehru gained a free hand in shaping the economy of India. Nehru found Gandhian thinking too idealistic, too philosophical, too slow, and too spiritual. He gathered around him Western-educated bureaucrats, and the enterprise to which they were jointly committed made them the unwitting agents of economic colonization. They pressed ahead with the construction of large dams and big factories, which for them were the temples and cathedrals of the new India. The spirit of dedication, idealism, and self-sacrifice that had been paramount under the leadership of Gandhi was quickly replaced by a lust for power, privilege, comfort, and money. Nehru and his colleagues followed the opposite path to that of swadeshi, and since that time, the history of India has been the history of corruption and political intrigue at the highest level. The political colonization of India might have ended officially with independence in 1947, but her economic colonization continued unabated and at an even greater pace. She has been turned into a playground for global economic forces.

Colonialism without the colonialists

Now, India continues to be ruled in the English way, but without English rulers. This is the tragedy of India, and there is no end in sight. The industrialists, the intellectuals, and the entrepreneurs in collusion with the government still see the salvation of India in her subordination to the policies of the World Bank and GATT. They see India as part of the global economy working hand in glove with the multinational corporations.

However, discontent among the Indian people is growing rapidly. The failures of the Congress Party under Nehru, his daughter, Indira Gandhi, and her son, Rajiv Gandhi, are fully evident to all. As Mahatma Gandhi predicted, the body politic is seething with corruption. The poor are poorer than ever, and the growing middle classes are turning away from the Congress Party. The farmers are agitating against the patenting of their seeds by multinational companies. The global economy of GATT is built on sand. Even though it may appear that its grip is firm, it has no grassroots support, and as its true implications become apparent, the people of India, among whom the teachings of Gandhi are still very much alive, will react against it and will return to swadeshi for the reenchantment of their local culture, their community, and their lives. In fact, the lessons of swadeshi may bring hope for an economics of permanence even among Westerns, once the fraudulent promise of economic growth and industrialism is exposed.

This is a chapter of: The Case Against the Global Economy - and for a turn toward the local; edited by Jerry Mander and Edward Goldsmith.

สงครามเด่น ที่สหรัฐอเมริกาแพ้

ปี 1951 แพ้จีน ที่ เกาหลี

ทหารจีนร่วมแสนคน"เดิน"กันไปล้อมทหารมะกันและ UN ที่เกาหลี ก่อนที่จะเริ่มการโจมตีครั้งแรกในตอนคํ่าปี 1950 ท่านอย่าคิดว่าทหารจีนเขาจะ"เดิน" กันเป็นกองทัพให้เห็นกันง่ายๆนะ เขาค่อยๆ"เดิน" กันมาตอนกลางคืน และพักนอนตอนกลางวัน ด้วยเหตุนี้กองทัพมะกันจึงถูกรุมล้อมและ โจมตีโดยมิได้คาดหมายเอาไว้ กองทัพมะกันและ UN สูญเสียทหารและบาดเจ็บทั้งหมด 1,093,839 คน จากการถูกโจมตี 5 ครั้งโดยจีน ทางฝ่ายจีนเองก็บาดเจ็บถึง 390,000 คน แต่การโจมตีทั้ง 5 ครั้งนี้ทําให้ทหารมะกันและ UN ต้องพ่ายแพ้ และต้องถอยทัพติดกันเป็นเส้นทางที่ยาวไกลอย่างไม่เคยมีปรากฎการณ์มาก่อนในประวัติศาสตร์ แมคอาเทอ นายพลมะกันโกรธจัดจะใช้ระเบิดปรมาณูทลายเมืองต่างๆในจีน แต่ประธานาธิบดีมะกันกลัวโซเวียตจะเข้ามาร่วมใช้ระเบิดปรมาณูต้าน จึงทําให้เกิดการถกเถียงกันภายในกองทัพมะกัน ผลก็คือนายพล แมคอาเทอ ถูกปลดออกจากตําแหน่ง ส่วนทหารมะกันและ UN ซึ่งต้องถอยทัพอันยาวไกล ลงมาจากเกาหลีเหนือนั้นก็ปักหลักตั้งรับอยู่ที่เกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 1953 มาจนถึงปัจจุบัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ปี 1961 แพ้คิวบา

ในปี 1959 นั้นคงเป็นปีที่น่าตกใจมิน้อยสําหรับนักท่องเที่ยว และนายทุนอเมริกันในประเทศคิวบา ที่ต้องถูกสลับฉากจาก ระบําโป๊ของสาวช่าช่า มาเป็นภาพของกลุ่ม นักปฎิวัติสังคมนิยมหนวดเครารุงรัง ซึ่งโผล่ออกมาจากป่าเพื่อยึดที่ทางและธุรกิจของชาวมะกันเอาไว้เป็นของส่วนรวมของชาวคิวบา "คนป่า" กลุ่มนี้ซึ่งนําโดย นายแพทย์เอินเนสโต กูวาร่า (Che) และ ดร. ฟิเดล คาสโตร ประกาศว่าประเทศคิวบา จะไม่ฟังคําสั่งจากสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป รัฐบาลมะกันและประธานาธิบดี จอน เคนเนดี ได้รับรู้ข่าวก็โกรธ พร้อมส่งกองทัพของ CIA ไปลงที่หาดในประเทศคิวบาในปี 1961 เพื่อเตรียมยึดประเทศกลับคืน พวก CIA หาได้รู้ไม่ว่า ดร. ฟิเดล คาสโตร และกลุ่ม "คนป่า" ทั้งหลายได้เตรียมตัว ต้อนรับพวกเขาไว้นานแล้ว ครั้นได้เวลาก็เข้าโจมตีกองทัพมะกัน และสามารถกวาดล้างและ จับกุมกองกําลังทั้งหมดของมะกันได้โดยใช้เวลาเพียง 72 ชั่วโมง เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่น่าอับอายอย่างยิ่งต่อรัฐบาลมะกัน หลังจากนั้นไม่นาน สหรัฐอเมริกาจึงแก้แค้นโดยการควํ่าบาตรประเทศคิวบาทางเศรษฐกิจมาตลอดจนถึงบัดนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ปี 1975 แพ้เวียดนาม

หลังจากปี 1954 เมื่อเวียดนามได้ชัยชนะจากฝรั่งเศส ประชาชนชาวเวียดนามก็เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมทั่วเวียดนาม แต่ทางสหรัฐอเมริกากลัวว่าโฮจิมินจะได้รับเลือกเพราะประชาชนเลื่อมใสเขามาก จากการที่เขาเป็นผู้นํา ในการกู้เอกราชมาจากฝรั่งเศส สหรัฐจึงตั้งรัฐบาลชั่วคราวไว้ที่เวียดนามใต้ เพื่อดูแลผลประโยชน์ ของตนที่หลงเหลือมาจาก สมัยจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส โดยมิยอมให้มีการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ของเวียดนามเห็นว่าเวียดนามใต้ นั้นเป็นเพียงรัฐบาล "หุ่น" ของสหรัฐ พวกเขาจึงเริ่ม เสื่อมศรัทธาและหัน ไปร่วมมือกับรัฐบาลของโฮจิมินแทน สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มส่งกองทหารไป คุ้มกันรัฐบาลเวียดนามใต้ในช่วง 1965 มิให้เสื่อมลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ และได้มีการรบพุ่งกันขึ้น หลายครั้งกับทหารเวียดนามเหนือ พอมาถึงปี 1968 ทหารสหรัฐในเวียดนามมีจํานวนมากถึง 500,000 คน หลายท่านนั้นก็ได้มาประจํา อยู่แถวถนนพัฒน์พงค์ในบ้านเรานั่นเอง คงเป็นที่น่าเสียดายสําหรับนายทุนประเวณี ที่จะต้องสูญเสียลูกค้าประจําดังกล่าว เมื่อทหารสหรัฐได้ถูกโจมตีอย่างหนัก โดยกองกําลังเวียดนามเหนือ ในช่วงปีใหม่ของ 1968 ทางสหรัฐได้เสียทหารจากการถูกโจมตีครั้วนั้น 5000 คน ทําให้เกิดกระแสต่อต้านสงคราม อย่างแรงขึ้นในเมืองมะกัน ริชาร์ด นิคสัน ประธานาธิบดีคนใหม่ จึงเริ่มการถอนทหารออกจากเวียดนามจนหมดภายในปี 1973 ต่อมาอีกสองปี สงครามเวียดนามก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ปี 2006 แพ้ไทย ที่สนามหลวง

โปรดติดตามได้เร็วๆนี้ จากการออกไปของ "หุ่น" หน้าเหลี่ยมอันเป็นที่รักของสหรัฐ แม้ว่าสื่อสหรัฐอย่าง Washington Post หรือ CNN จะวิจารณ์ว่า "หุ่น" ของประเทศตนนั้นยังแข็งแรงในชนบทอยู่ก็ตาม

การออกไปของ "หุ่นหน้าเหลี่ยม" ย่อมมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐ และจะเป็นเหตุให้กองกําลังสหรัฐ (และ CIA) ไม่สามารถใช้ราชอาณาจักรไทยเป็นฐานทัพได้อีกต่อไป ประเทศไทยจะมีเพื่อนในภูมิภาคมากขึ้น และความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลงในที่สุด ไทยจะสามารถต่อรอง FTA กับจีนได้ เพราะจีนได้ประโยชน์จากการเป็นมิตรกับไทยทางด้านยุทธศาสตร์ภูมิภาค (geo-politics) มากกว่าการขายหอม และ กระเทียม

การตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่พร้อมกับการรวมตัวของคนตุลาฯให้รัฐบาล (หลังจากได้เตะ "หน้าเหลี่ยม" ออกไป) จะทําให้พรรคสุนัขจรจัดของสหรัฐ (อย่างประชาธิปัตย์) ต้องสูญเสียความชอบธรรมไปด้วยกันกับ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน

ต่างชาติจะต้องหันมาศึกษาประชาธิปไตยแบบไทยๆ ประชาธิปไตยที่เสียงดัง รุงรัง ยุ่งเหยิง เซ็กซี่ เร่าร้อน เหงื่อตก ตดเหม็น จริงใจ และใฝ่สูง !

มันเป็นประชาธิปไตยของการถกเถียง ประชาธิปไตยของการจัดเวที ประชาธิปไตยของการปวดขี้ (เพราะอิ่มท้อง) และที่สําคัญ มันเป็นประชาธิปไตยของการ "วิวัฒนาการ" ร่วมกัน ไม่ใช่ประชาธิปไตยของการ "โหวต"ร่วมกัน

โปรดติดตามได้เร็วๆนี้ !

ขายชินคอร์ปฯกับความมั่นคงของชาติ

โดย วิชัย บำรุงฤทธิ์

ผู้ใดกระทำการใดๆเพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไปซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใดๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบ หรือการสงคราม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี ถ้าความผิดดังกล่าวในสองวรรคก่อน ได้กระทำเพื่อให้รัฐต่างประเทศได้ประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

ข้อความข้างต้นนั้นเป็นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 124 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันท่านผู้อ่านเฉลียวใจบ้างหรือไม่ว่า ทำไม?การชุมนุมของผู้คนวงการต่างๆ ณ ท้องสนามหลวงจึงมีผ้าคาดหัวว่า “กู้ชาติ”และหากท่านติดตามเรื่องราวการขายหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯซึ่งเป็นบริษัทที่ครอบครัวของท่านนายกฯทักษิณมีส่วนได้ประโยชน์ก็จะทำให้ท่านเริ่มได้คิดอะไรบางอย่างขึ้นมาบ้าง

ณ ที่นี้ผู้เขียนจะไม่นำพฤติกรรมยอกย้อนซ่อนเงื่อนเรื่องการหลบเลี่ยงภาษีการค้าที่ลูกชายและลูกสาวของท่านนายกฯได้มีส่วนรู้เห็นจนกระทั่งลูกชายจะถูกปรับในข้อหาไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่สิ่งที่จะให้ท่านผู้อ่านร่วมพิจารณามันเป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น เพราะเกี่ยวพันกับความมั่นคงของชาติ

คงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าบริษัทชินคอร์ปฯของตระกูลชินวัตรมีบริษัทในเครือชื่อบริษัทชินแซทฯที่เป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคมและไอพีสตาร์

ผู้เขียนใคร่ขอความกรุณาท่านผู้อ่านย้อนกลับไปอ่านข้อความของประมวลกฎหมายอาญามาตรา124 ข้างต้นอีกสักสามครั้ง ...หากท่านพิจารณาถ้อยคำทีละวรรคทีละประโยค คงจะพบว่าความมั่นคงของชาติไทยอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับ “การเสี่ยงภัย” อยู่ในภาวะ ที่ “ล่อแหลม” อยู่ในภาวะที่ “ไร้หลักประกัน”นับตั้งแต่บริษัทชินคอร์ปฯได้โอนสิทธิ การใช้ประโยชน์ไปให้บริษัทเทมาเสกซึ่งเป็นบริษัทในกำกับของรัฐบาลประเทศสิงคโปร์

เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายประสานกับการขายหุ้นชินคอร์ปฯไม่เป็นสงสัยเลยว่าบริษัทที่ลูกชายและลูกสาวท่านนายกฯตลอดจนเครือญาติ “ตระกูลชินวัตร” มีส่วนเกี่ยวข้องในการ ให้รัฐต่างประเทศได้ประโยชน์ที่สามารถจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดาวเทียมไทยคม และไอพีสตาร์ที่จะเรียกดู เรียกเก็บข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ “ความลับ”ของประเทศ อาทิ ลักษณะรายละเอียดทางกายภาพของประเทศ,ที่ตั้งหน่วยราชการ, ที่ตั้งหน่วยทหาร ,การกระจุกตัวของชุมชนฯลฯ ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่ไม่พึงเปิดเผยโดยละเอียดแก่ต่างชาติ เพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติยิ่งเทคโนโลยี ผ่านดาวเทียมในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเก็บข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์และที่สำคัญเขาสามารถใช้ตลอด24ชั่วโมง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือผู้บริหารชินคอร์ปฯไม่เฉลียวใจบ้างเลยหรือว่าการขายหุ้นของตนนั้นส่งผลกระทบที่นำความมั่นคงของชาติไปสู่ความเสี่ยง ที่ชาวต่างชาติมีส่วนได้ประโยชน์อย่างมหาศาลด้านข่าวและข้อมูล นอกเหนือจากผลประโยชน์ด้านกำไรที่มีมูลค่าเป็นเงิน...และนี่คือที่มาของการที่นายกฯทักษิณถูกวิพากษ์อย่างหนักหน่วงเพราะมันเกี่ยวข้องกับท่านอย่างไม่อาจจะปฏิเสธได้ ด้านหนึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวท่านนายกฯอีกด้านหนึ่งมันบ่งชี้ว่าท่านเป็นนายกรัฐมนตรีที่ขาด “จริยธรรมทางการบริหาร”เป็นอย่างมากที่คำนึงถึงแต่ “กำไรสูงสุด”ของเอกชนโดยไม่คำนึงถึง “ความมั่นคงแห่งชาติ”

เสียงตอบโต้จากนายแพทย์พรหมมินทร์ ผู้ปกป้องท่านนายกฯนั้นอ้างแต่เพียงว่า สัดส่วนในการถือหุ้นยังถือว่าเป็นบริษัทของคนไทยอยู่(โดยปกปิดไม่ให้ประชาชนทราบว่าสิทธิในการบริหารจัดการบริษัทนั้นอยู่ภายใต้การบงการของรัฐบาลสิงคโปร์โดยสิ้นเชิง)ซึ่งเป็นการย้ำให้เห็นว่า “ความมั่นคงของชาติ”ของรัฐบาลชุดนี้มีค่าด้อยกว่า “กำไรสูงสุด”ของบริษัทชินคอร์ปฯ

ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นที่มาของคำตอบว่า เหตุใดการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงจึงใช้สโลแกนคำว่า “กู้ชาติ”อย่างชัดถ้อยชัดคำ...
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและผู้ศรัทธาเลื่อมใสเห็นว่าผู้เขียนมีอคติ เป็นพวกอันธพาลหาเรื่องก็โปรดตอบให้กระจ่างชัดในวันที่แถลงข่าว หรือวันที่ปราศรัยที่ใดก็ได้ว่า การขายหุ้นของชินคอร์ปฯต่อประเด็นนี้มันเหมาะสมและชอบด้วยจริยธรรมของผู้บริหารประเทศแล้ว?

การกล่าวอ้างว่าทำทุกอย่างตามกติกาและ ชอบด้วยกฎหมายนั้นแท้จริงแล้วก็หมิ่นเหม่อย่างยิ่งเมื่อพิจารณาในรูปธรรมของปัญหา

เมื่อพิจารณาจากบรรทัดฐานด้านจริยธรรมและคุณธรรมในการบริหารประเทศในฐานะผู้นำสูงสุดของประเทศต่อกรณีดังกล่าวก็คงมีข้อสรุปอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ทักษิณ ...ออกไป”เป็นคำตอบสุดท้ายที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

การอาสากลับบริหารกิจการบ้านเมืองอีกวาระหนึ่งเป็นสิ่งไม่พึงกระทำจนกว่าท่านจะสะสางเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเสียก่อน...ผู้ทำหน้าที่รักษากฎกติกาด้านความมั่นคงของชาติควรเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วกระมัง?

ดอกไม้ และกำลังใจ:พฤติกรรมอัปยศ

ดอกไม้ และกำลังใจ:พฤติกรรมอัปยศในสังคมการเมืองไทย
โดย วิชัย บำรุงฤทธิ์

การ มอบดอกไม้และให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เป็นพฤติกรรมที่เห็นและเป็นอยู่อย่างดาษดื่นในขณะนี้

สิ่งที่น่าสนใจตรงที่ผู้เข้ามอบดอกไม้และให้กำลังใจ ที่ปรากฏส่วนข้างมากเป็นเกษตรกร, แม่บ้านพ่อบ้านชนชั้นกลางค่อนข้างมีรายได้น้อย โดยมีข้าราชการกระทรวงต่างๆเข้าร่วมสอดแทรกประปรายหลายคนที่เห็นแทบจะกล่าวได้ว่าในชีวิตจริงของเขาเหล่านั้นแม้วัยจะล่วงเลยกลางคนมาแล้ว คงซื้อดอกกุหลาบนับครั้งได้ และก็คงไม่คุ้นเคยกับการมอบดอกกุหลาบให้กำลังใจผู้อื่นแล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ถ้าไม่มีแกนนำประสานงานเป็นต้นคิด แล้วมันจะเกิดวันเช่นนี้ได้อย่างไร? ถ้าไม่มีใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้คนเหล่านี้เดินทางแล้วมันจะสะดวกง่ายดายถึงเพียงนี้เชียวหรือที่ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถเข้าพบผู้นำสูงสุดด้านการบริหารประเทศในทำเนียบรัฐบาล ถ้าไม่มีผู้อำนวยการเรื่องราวดังกล่าวยังไม่ทันจางหายจากวงสนทนา เสียงร้องขอไปรษณียบัตรสนับสนุนจากประชาชนจากท่านผู้นำก็ดังมาจากทำเนียบ พร้อมๆกับข่าวคราวขบวนรถอีแต๋นของเกษตรกรภาคเหนือกำลังเคลื่อนขบวนมายังท้องสนามหลวงเพื่อเป็น “กำลังใจ”ให้ท่านผู้นำนาม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เกิดขึ้นอีกแล้วไม่น่าเชื่อว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นในยุคที่ไทยมีผู้นำที่ประกาศกร้าวอยู่เป็นนิจ ว่า เป็นผู้กล้า เป็นผู้ฉลาดและเป็นผู้มั่งคั่งในทรัพย์ศฤงคารที่ผู้นำการเมืองในโลกยุคนี้ไม่มีใครเทียบได้ผู้นำท่านนี้นี่แหละที่เคยประณามองค์กรเหนือรัฐอย่างสหประชาชาติว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ”

ผู้นำท่านนี้แหละที่ใช้วาจาสามหาวด่ากราดผู้อาวุโสและนักวิชาการในสังคมไทยมามากหน้าหลายคน ที่ผู้คนวงการต่างๆจำไม่ลืมก็คือผู้นำท่านนี้นี่แหละที่ใช้วาจาหมิ่นเหม่จาบจ้วงพระเกจิ อาจารย์แห่งภาคอีสานและผู้นำท่านนี้อีกนั่นแหละที่ใช้วาจาหมิ่นเหม่หลายครั้งหลายหนเมื่อเอ่ยถึงองค์พระประมุขของชาติทั้งๆ ที่เห็นและเป็นอยู่ท่านผู้นำก็กินดี อยู่ดี ไปไหนมาไหนมีบริวารล้อมหน้าล้อมหลังเสริมบารมีเป็นปรกติ แถมยังแสดงคารมโจมตีคู่แข่งได้เสมอต้นเสมอปลาย ยังตัดสินใจ “ยุบสภา”โดยไม่แยแสคำทักท้วงอย่างมีเหตุมีผลของสมาชิกรัฐสภาแล้ววันนี้เกิดอะไรขึ้นหรือ?จึงอ่อนแอ จนต้องการกำลังใจจากมวลชนอันไพศาลท่านผู้นำไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยแม้แต่น้อย...แล้วกำลังใจมันหายไปไหน? จึงโหยหิวกำลังใจเสียเหลือเกินถ้าไม่ใช่เล่ห์เหลี่ยมและมารยาที่หวังผลทางการเมืองชี้นำความคิด

ท่านผู้นำจะกล้าลงแรงสร้างภาพเช่นว่าละหรือ?ขบวนรถอีแต๋นของเกษตรกรจากภาคเหนือแลดูคึกคักมีชีวิตชีวาเพราะวาดหวังว่าจะมีชีวิตดีขึ้นบ้างหากได้ไปประกอบส่วน “ให้กำลังใจ”ท่านผู้นำกับเขาในครั้งนี้สมาชิก อบต.จากภาคอีสานหัวใจระทึกและหวั่นวิตกว่าถ้าไม่ร่วมครั้งนี้ “กองทุนหมู่บ้าน”จะถูกตัดผู้ยากไร้จากภาคเหนือ ใต้ ออก ตก ต่างเดินทางมายังกรุงเทพมหานครด้วยความหวังว่าชีวิตคงจะดีขึ้นบ้าง และหากพลาดสิ่งที่หวังไว้ การได้มาเที่ยวกรุงเทพฟรีๆก็พอจะเป็นคำปลอบประโลมใจที่พอสมเหตุสมผลไม่ให้ชีวิตต้องขมขื่นไปมากกว่านี้ใครกันแน่ที่ควรได้รับกำลังใจ ระหว่าง“ผู้นำ” กับ “เกษตรกรผู้ยากไร้” ระหว่าง “ผู้นำ”กับ “ข้าราชการชั้นผู้น้อย”ฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์ศฤงคารที่เสพสุขตายแล้วเกิดใหม่หลายสิบชาติก็ใช้ไม่หมด กับอีกฝ่ายหนึ่งต้องอาบเหงื่อต่างน้ำสร้างผลผลิตในไร่นาที่ต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาผลผลิตปีแล้วปีเล่าฝ่ายหนึ่งมีอำนาจราชศักดิ์กินอิ่มนอนอุ่นมีทุนมหาศาลกับอีกฝ่ายที่เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีรายได้ชักหน้าไม่ถึงหลังมีความหวังอยู่กับการเสี่ยงโชคที่ท่านผู้นำเป็นผู้กำหนดชะตากรรมใครกันแน่ที่ควรได้รับกำลังใจ?

ใครกันแน่ที่ควรได้รับการฟื้นฟูชีวิตให้ดีขึ้น ?แน่นอนที่สุดเกษตรกรผู้ยากไร้และ ข้าราชการชั้นผู้น้อยเป็นกลุ่มเป้าหมายระดับต้นๆที่ไม่ควรละเลยแต่ที่เห็นและเป็นอยู่เกษตรกรผู้ยากไร้และข้าราชการชั้นผู้น้อยนับหมื่นนับแสนกลับทำหน้าที่ให้กำลังใจผู้นำของหลายครั้งหลายครานับว่าเป็นกิจกรรมที่แปลกประหลาดในสังคมไทยในยุคนี้นี่คือความโหดเหี้ยมของ “นักธุรกิจการเมือง”ที่แสร้งแสดงตัวเป็นเสือเซื่องๆ ก่อนที่จะตะปบเหยื่ออันโอชะนี่คือเล่ห์เหลี่ยมกลโกงในการเข้าหามวลชนของ “นักธุรกิจการเมือง” ที่ใช้เงินโปรยทางเพื่อสร้างภาพจัดฉากไปสู่อำนาจดอกไม้และกำลังใจที่เห็นและเป็นอยู่ระหว่าง “ผู้นำ”กับ “เกษตรผู้ยากไร้”จะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากพฤติกรรมอันอัปยศของสังคมการเมืองไทยที่ฉาบคลุมด้วย “มายาภาพ”มากกว่าการแก้ไขปัญหาอย่างเอาจริงเอาจังหากท่านอ่อนแอ, เมื่อยล้าและ ไร้กำลังใจจนต้องโหยหาเรียกร้องกำลังใจจากประชาชนอย่างที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ จง “ลาออก” ตามคำเรียกร้องของประชาชน, นักวิชาการ ตลอดจน นักเรียน นิสิต นักศึกษาหลายสถาบันที่ร้องขอให้ท่านปฏิบัติตั้งแต่วันนี้เถิด.นอกจากช่วยลดปัญหาความเครียดของคนในชาติแล้วยังช่วยขจัดพฤติกรรมอัปยศในสังคมการเมืองไทยได้อีกด้วย

แถลงการณ์จากเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535

ยืนยันสิทธิอันชอบธรรมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อต้านนายกฯ ที่มาจากการแต่งตั้งและกระบวนการนอกรัฐสภา สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองของประชาชน

ในสถานการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏเด่นชัดว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หมดความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ‘เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535’ ขอสนับสนุนการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชนในการชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา กลไกของรัฐสภาและองค์กรอิสระล้วนถูกรัฐบาลพรรคไทยรักไทยควบคุมครอบงำจนไม่สามารถทำงานได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะปกป้องเจตนารมณ์ประชาธิปไตยของการต่อสู้เดือนพฤษภาคม 2535 เอาไว้ เครือข่ายฯ มีข้อเสนอดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้นต้องวางอยู่บนฐานของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เครือข่ายฯ จึงขอคัดค้านการกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่การได้มาซึ่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ หรือ ‘รัฐบาลจากการแต่งตั้ง’ เพราะนายกฯหรือรัฐบาลจากการแต่งตั้งมิใช่เป้าประสงค์ของประชาชนที่ออกมาขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เครือข่ายฯ ขอเรียนย้ำว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลผลิตของการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย บุคคลหรือคณะบุคคลใดไม่มีสิทธิละเมิดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งไม่มีใครมีอำนาจจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้โดยอำเภอใจ

นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจนอกระบบ ทำให้เจตนารมณ์ประชาธิปไตยของประชาชนถูกปล้นไปซึ่งหน้า

ประการที่สอง แม้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจะบิดเบือนการเลือกตั้งซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน ให้กลายเป็นกระบวนการฟอกตัวของ พ.ต.ท. ทักษิณเอง ซึ่งเครือข่ายฯ ขอประณามไว้ ณ ที่นี้

แต่ เครือข่ายฯ ก็เห็นว่า การเป็นปฏิปักษ์กับการเลือกตั้งอย่างสุดขั้ว จนโน้มเอียงให้สังคมหันไปแสวงหารัฐบาลใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง ก็ย่อมไม่ใช่วิถีทางคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง และขัดต่อหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ข้อบกพร่องของการเลือกตั้งและระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่เป็นเรื่องที่แก้ไขได้โดยวิถีทางของประชาธิปไตย และควรจะต้องที่แก้ไขได้โดย ‘วิถีทางของประชาธิปไตย’

แม้เครือข่ายฯ จะเข้าใจดีถึงข้อจำกัดของการเลือกตั้งในภาวการณ์ปัจจุบันแต่เครือข่ายฯ เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นการแสดงออกถึงสิทธิ และเจตจำนงของประชาชนในการเลือกรัฐบาล ตามหลักการประชาธิปไตย อีกทั้ง ประชาชนก็ยังสามารถแสดงพลังและเจตจำนงของตนเองผ่านกระบวนการเลือกตั้งได้ในหลากหลายวิธีการ

ประการที่สาม เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้ประชาชนรวมตัวผลักดันให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้น – ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่ 2 เมษายน 2549 - เปลี่ยนแปรจาก ‘การเลือกตั้งที่ถูกบิดเบือน’ เป็น ‘การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปการเมือง’ และเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้การปฏิรูปการเมืองต้องเกิดขึ้นทันทีเมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง

เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 ขอเน้นย้ำว่า ปัญหาทางการเมืองในยุครัฐบาลไทยรักไทยเกิดขึ้นเพราะกลไกพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม เปิดโอกาสให้เกิดการบิดเบือนอำนาจไปในทางมิชอบ

ดังนั้นการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่จำเป็นต้องเป็นการปฏิรูปที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่การปฏิรูปที่นำโดยชนชั้นนำหรือนักกฎหมายมหาชนไม่กี่ราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำและระบบการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้อีก ทั้งนี้ การปฏิรูปครั้งใหม่ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากควรขยายรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรอบด้าน

ท้ายที่สุดนี้ เครือข่ายฯ ขอยืนยันว่า การต่อสู้เพื่อเป้าหมายประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ย่อมไม่มีทางลัด มีแต่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนพลังของประชาชนที่กว้างขวางโดยยึดกุม ‘วิถีทางประชาธิปไตย’ เป็นเครื่องมือเท่านั้น

เชื่อมั่นในพลังประชาชน

เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535

…………………………………………

อนึ่ง เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวของนักกิจกรรมทางสังคม ทั้งที่เคยมีบทบาทในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม 2535 มาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา, และอดีตนักกิจกรรมนักศึกษาที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้
และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผลักดันให้ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างสมบูรณ์

รายชื่อ ผู้ร่วมลงนาม

‘แถลงการณ์จากเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535’



1 เฉลิมชัย ทองสุข สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2529

โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ

2 เสาวณีย์ จิตรื่น
เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 2533

อาจาร์ประจำวิทยาลัยนวัตรกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

2 เรณู ไพศาลพานิชกุล กรรมการ /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2532

3 สมเกียรติ จันทรสีมา นายก/ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2534 บก.ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

4 วรดุลย์ ตุลารักษ์ พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534

5 พฤกษ์ เถาถวิล พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534,
อาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

6 ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล กลุ่มอิสระนิติธรรม 2533-2534

โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อมและโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย

7 สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2535

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา

8 ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2535
บก.เว็บไซต์ประชาไท

9 ปริยกร ปุสวิโร
กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2535
นักวิจัย มหาวิทยาลัยเบรเมน เยอรมนี

10 ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี
2535

นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ สหรัฐอเมริกา

11 นันทโชติ ชัยรัตน์ กลุ่มสวัสดิภาพแรงงาน มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง
2535

12 ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2535

13 อุษาวดี สุตะภักดิ์ เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน
(สนนอ.) ปี 2538

14 ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ รองเลขาธิการ /
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2540

15 ชัยธวัช ตุลาฑล เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2541

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน

16 อุเชนทร์ เชียงเสน เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2542

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน

17 ชมมณี สุทธินาค อุปนายก/ องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2542

18 สุภิญญา ทองรัตนาศิริ สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542

19 สันติชัย อาภรณ์ศรี สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2545

20 ศรายุทธ์ ใจหลัก เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2543

21 ทรงศักดิ์ ปัญญา รองเลขาธิการ /
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2544

22 ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์ ผู้ประสานงาน /
องค์การประสานงานเพื่อประชาธิปไตย มข. (อปป.มข.)

ปี 2542 และ 2543

23 ธนลักษณ์ สาเศียร ผู้ประสานงาน /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2543

24 รอมฏอน ปันจอร์ ผู้ประสานงาน /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สภาพแวดล้อม 16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2544 ผู้สื่อข่าวผู้จัดการ

25 พงศธร ศรเพชรนรินทร์ เลขาธิการ/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี
2545

26 สันติชัย อาภรณ์ศรี สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2545

27 พิชิต ไชยมงคล เลขาธิการ/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี 2546

28 สิทธิพร จราดล ผู้ปฏิบัติงาน/
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทไทย ปี 2545-2546

29 กมลพร ปีอาทิตย์ ฝ่ายประสานนอก/ ชมรมศึกษาปัญหาแห่งเสื่อมโทรม
2542

30 ศิริพร พรมวงศ์ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี2547

31 อัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ กรรมการ /สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ปี2547

32 อดิศร เกิดมงคล
อดีตรองนายกองค์กรบริหารนักศึกษาสถาบันราชภัฏเชียงราย

และกลุ่มราชภัฏเพื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม

33 พิชิต พิทักษ์

34 ภัควดี วีระภาสพงษ์

35 สาวิตรี พูลสุขโข โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา

36 ประดิษฐ์ ลีลานิมิตร โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา

37 ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิชย์ สถาบันต้นกล้า

38 พรพิมล สันทัดอนุวัตร สถาบันต้นกล้า

39 กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า

40 อัจฉรา เกียรติประไพ สถาบันต้นกล้า

41 วุฒิชัย ศรีคำภา กลุ่มเยาวชนตะกอนยม

42 อังคณา กระบวนแสง สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย

43 จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

44 เพ๊ญโฉม ตั้ง กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม

45 สุภาภรณ์ มาลัยลอย โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

46 ส.รัตนมณี พลกล้า
ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชนชายฝั่งอันดามัน

47 สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

48 นายฐานันดร พิมพ์น้อย ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

49 นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ บริษัท
กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

50 นายธีรวุฒิ ทองทับ ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี
จำกัด

51 ใบตอง รัตนขจิตวงศ์ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

52 กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

53 วัฒนา นาคประดิษฐ์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

54 เฉลิมชัย ทองสุข สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี

2529
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐ

ฮาวายอิ

55 นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ กรรมการบริหารพรรคธรรมาธิปไตย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2531-34

นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ

56 วัฒนชัย วินิจจะกูล นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี
2529

57 นฤมล ไพบูลย์สิทธิคุณ ผู้ประสานงาน /
คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2542

58 ปาริชาต ผลเพิ่ม นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี
2536

จดหมายถึงพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย

โดย ศิโรตม์
คล้ามไพบูลย์

นับตั้งแต่ “ปรากฎการณ์สนธิ” ได้ยกระดับเป็นการจัดตั้ง “พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย” ความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ดูจะเติบใหญ่ขึ้นทุกระยะ ถึงขั้นที่สามารถจัดชุมนุมใหญ่แบบยืดเยื้อโดยมีจุดหมายอยู่ที่การขับไล่นายกรัฐมนตรีได้ จากเดิมที่ใครต่อใครต่างก็ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ทั้งหมดจะปิดฉากลงอย่างไร

โดยปกติของการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น นักเคลื่อนไหวทุกคนรู้ดีว่าเป้าหมายแบบนี้หมายถึงการผลักขบวนให้เดินไปสู่จุดหมายบางอย่างที่ล่าถอยไม่ได้ , นำไปสู่การเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างเต็มที่ หรือพูดอีกอย่างก็คือมีโอกาสที่จะประจันหน้าคนกลุ่มที่กุมกลไกรัฐและการปราบปรามโดยตรง

จริงอยู่ รัฐบาลทรราชย์ในอดีตคือฝ่ายที่ริเริ่มใช้ความรุนแรงต่อประชาชน จึงไม่มีประชาชนหรือผู้นำชุมนุมรายไหนที่ควรถูกกล่าวหาว่า “พาคนไปตาย”
อย่างที่เคยเกิดในสมัย 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535

อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงมีอยู่ว่าในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ทั้งหมดนั้น ผู้นำการชุมนุมไม่ได้มีหน้าที่เพื่อต่อสู้ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว
หากยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมชุมนุมทุกคน

ในฐานะที่ผู้เขียนเคยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ศึกษาเรื่องการเมืองและประชาธิปไตย รวมทั้งคุ้นเคยกับมิตรสหายในพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยมาบ้าง จึงขอเสนอความเห็นต่อการชุมนุมในขณะนี้สักเล็กน้อย

ข้อแรก การเคลื่อนไหวปี 2549 แตกต่างจากการเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม เพราะคู่ต่อสู้ทางการเมืองไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการทหารที่นายกรัฐมนตรีควบคุมอำนาจ 3 เหล่าทัพและตำรวจได้อย่างเข้มแข็ง หากคือรัฐบาลของนายทุนขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มว่าไม่สามารถจะคุมกองทัพทั้งหมดได้อย่างเต็มที่ คุมได้ก็แต่ผู้นำกองทัพปีกที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอง

เฉพาะในข้อนี้ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวจึงไม่จำเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่อาจคิดถึงการชุมนุมเพื่อตรึงพื้นที่ที่มีลักษณะยืดเยื้อ เพื่อที่จะฉวยใช้ความไม่ลงรอยของชนชั้นนำ ให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองกับฝ่ายผู้ชุมนุมให้มากที่สุด

ข้อสอง ด้วยเหตุที่เป้าหมายของการต่อสู้ของปี 2535 อยู่ที่การขับไล่เผด็จการทหาร ขณะที่ผู้นำของฝ่ายต่อต้านก็คืออดีตนายทหารที่มีอิทธิพลต่อแกนนำส่วนอื่นอย่างสำคัญ ยังผลให้ความเคลื่อนไหวถูกกำหนดบนฐานการคิดแบบนี้ นั่นก็คือฐานคิดที่มองการชุมนุมบนถนนราชดำเนินแบบเดียวกับการรบยามสงคราม

ในปี 2549 ประชาชนไม่ได้เผชิญกับเผด็จการทหาร จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้นำการชุมนุมจะคิดถึงการต่อสู้แบบเดียวกับปี 2535 หากควรกำหนดขั้นตอนการเคลื่อนไหวโดยตระหนักว่าการเมืองแตกต่างจากการทหาร เพราะขณะที่ทหารมุ่งแย่งชิงพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ การต่อสู้ทางการเมืองกลับมุ่งช่วงชิงความชอบธรรมแลความยอมรับในสังคม ก่อนที่จะอาศัยความเห็นพ้องต้องกันนี้ไปกดดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

พูดให้สั้นที่สุด ไม่จำเป็นที่ขบวนการ 2549 ต้องหมกมุ่นอยู่แต่การเดินขบวนเพื่อยึดพื้นที่ เพราะไม่ใช่มีแต่การยึดพื้นที่เท่านั้นที่จะสามารถกดดันนายกรัฐมนตรี

ในข้อนี้ แม้ประชาชนจะมีสิทธิโดยชอบที่จะชุมนุม, ปิดถนน และเดินขบวนได้ แต่ผู้นำการชุมนุมมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในอันที่จะป้องกันไม่ให้การใช้สิทธินี้กลายเป็นการประจันหน้าทางการเมืองและความรุนแรง

ข้อสาม ผู้ร่วมชุมนุมในปี 2535 จำนวนมากมีสายสัมพันธ์กับองค์กรจัดตั้ง, มูลนิธิ, สหภาพ, สมัชชา , และพรรคการเมืองต่างๆ ทำให้การตัดสินใจชุมนุมเป็นเรื่องของการตกลงร่วมกันในหมู่ผู้นำและนักเคลื่อนไหวจำนวนน้อยจากองค์กรแบบนี้ ขณะที่โดยส่วนใหญ่ของผู้ร่วมชุมนุมในปี 2549 ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอะไรทั้งนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่นักเคลื่อนไหวและนักปราศรัยไม่กี่คนจะผูกขาดกำหนดทิศทางของการชุมนุมทางการเมือง

ในประเด็นนี้ ควรตระหนักด้วยว่าจุดแข็งที่สุดของขบวนการ 2549 คือการเป็นขบวนการต่อสู้ในรูปเครือข่ายที่แต่ละฝ่ายแต่ละองค์กรล้วนมีลักษณะจัดตั้งตัวเอง
(self-organization) ถึงขั้นที่คนแทบทุกฝ่ายได้เริ่มเคลื่อนไหวและแสดงจุดยืนต่อต้านนายกรัฐมนตรีโดยเป็นเอกเทศมาอย่างกว้างขวาง จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้นำการชุมนุมต้องตระหนักถึงจุดแข็งนี้ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้นำและผู้แทนของคนกลุ่มย่อยฝ่ายต่างๆ มีบทบาทนำการชุมนุม

อย่าลืมว่าการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง คือวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้การชุมนุมวันที่ 26 ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำที่คาดเดาพฤติกรรมไม่ได้ ซ้ำยังป้องกันไม่ให้ใครก็ตามกำหนดการเคลื่อนไหวโดยคิดถึงแต่ชัยชนะทางยุทธวิธี

ข้อสี่ การเดินขบวนจากสนามหลวงไปถนนราชดำเนินในวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 เกิดขึ้นเมื่อผู้นำการชุมนุมบางคนอ้างว่าประชาชนไม่อาจชุมนุมอยู่กับที่ได้เพราะความรู้สึกต่อต้านเผด็จการได้สุกงอมอย่างเต็มที่ , เพราะประชาชนพร้อมจะสู้โดยไม่เสียดายชีวิต ฯลฯ อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในวันนั้นมีอยู่ว่าไม่เคยมีใครถามประชาชนว่าพวกเขาคิดอย่างไร

ในการต่อสู้ทางการเมืองขนาดใหญ่นั้น เป็นไปได้มากที่บรรยากาศและปริมาณของผู้คนจะกระตุ้นให้ผู้นำชุมนุมเห็นว่าผู้ร่วมชุมนุมต้องการชัยชนะทางการเมืองโดยวิธีการเฉียบพลัน เกิดเป็นภาพลวงตาว่าประชาชนรับการชุมนุมลักษณะยืดเยื้อไม่ได้ แล้วผลักการเคลื่อนไหวทั้งหมดไปสู่ทิศทางที่ในที่สุดแล้วทำลายเจตนารมณ์ของการเคลื่อนไหวเอง

ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม หลังจากรัฐบาลเผด็จการทหารปราบปรามผู้ชุมนุมไม่นานนัก และในขณะที่ “ผู้ชายเดือนพฤษภา” บางคนหนีหายไป
ประชาชนหันไปรวมตัวกันใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมกับความคาดหวังที่แพร่สะพัดไปทั่วกรุงเทพว่าทหารบางส่วนจะออกมาปฏิวัติเพื่อล้มล้างรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.สุจินดา ก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะปิดฉากลงด้วยการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี

บทเรียนจากเดือนพฤษภาคม 2535 แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่แปรสภาพเป็นการเดินขบวน, การประจันหน้า และการปะทะอย่างไม่จำเป็น ท้ายที่สุด ย่อมผลักดันให้คนทั้งหมดมองไม่เห็นทางเลือกอื่น นอกจากรอคอยความช่วยเหลือจากทหารและชนชั้นนำในสังคม

อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยคงเห็นว่าผู้เขียนกำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานคิด ส่วนเป้าหมายของการพูดนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้การชุมนุมผลักตัวเองไปสู่สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความรุนแรงโดยไม่จำเป็น

แน่นอนว่าไม่มีผู้นำการชุมนุมคนไหนอยากให้การชุมนุมปิดฉากลงอย่างโหดร้าย เพราะความโหดร้ายและการสูญเสียของผู้ร่วมชุมนุมจะตามหลอกหลอนมโนธรรมสำนึกของผู้นำการชุมนุมไปตลอดชีวิต

เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียแบบนี้ ผู้นำการชุมนุมจึงพึงหลีกเลี่ยงวิธีคิดและวางแผนการชุมนุมแบบนักการทหาร ระวังระไวมายาคติและภาพลวงตาแบบนักยุทธวิธีทางการเมือง แต่ควรคิด, สำรวจ, และสร้างความเป็นไปได้ทางการเมืองทุกชนิดที่จะทำให้เจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนปรากฎเป็นจริง

จอห์น เบาว์ริง-การค้าเสรี (ระเบียบใหม่ของโลกเก่า)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
กัณฐิกา ศรีอุดม

คงเกือบไม่มีอาจารย์ หรือนักเรียนนักศึกษาไทยคนใด ที่ไม่เคยได้ยินชื่อหรือไม่รู้จักนามของ “เซอร์ จอห์น เบาว์ริง” เจ้าตำรับของ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ที่ทำให้ไทยสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 ต้อง “เสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล” และปรากฏมี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” เกิดขึ้น แต่ก็ ทำให้สยามรอดจากการตกเป็น “อาณานิคม” (โดยตรงสมบูรณ์แบบ) ไปได้ และหากจะสนใจมากไปกว่านี้ ก็คง ทราบว่าสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้เกิด “การค้าเสรี” ถือเป็นการสิ้นสุดของ “การผูกขาดการค้าต่าง ประเทศ” โดย “พระคลังสินค้า” ของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ

แต่ก็คงมีน้อยคนที่จะทราบว่าเซอร์จอห์น เบาว์ริง เป็นมนุษย์มหัศจรรย์ของยุคสมัยจักรวรรดินิยมล่าอาณานิคม ที่เป็นทั้งเจ้าเมืองฮ่องกง (ถึง 9 ปีระหว่าง ค.ศ. 1848-57) เป็นพ่อค้า เป็นนักการทูต เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นนักการศาสนา เป็นนัก แต่งเพลงสวด เป็นกวี เป็นนักประพันธ์ เป็นบรรณาธิการ เป็นนักภาษาศาสตร์ (รู้ถึง 10 ภาษาหลักๆ ทั้งหมด ในยุโรป รวมทั้งภาษาจีน) กล่าวกันว่าเบาว์ริงเชื่อมั่นอย่างรุนแรงทั้ง “การค้าเสรี” ทั้ง “พระเยซูเจ้า” ดังนั้นจึงได้กล่าว “คำขวัญ” ไว้ว่า "Jesus Christ is free trade, free trade is Jesus Christ" หรือ “พระเยซู คริสต์คือการค้าเสรี และการค้าเสรีก็คือพระเยซูคริสต์”

ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำลอน ดอน และยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยา สยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” เบาว์ริงเกิด พ.ศ. 2335 (17 ตุลาคม 1792) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ท่านมี อายุมากกว่าพระจอมเกล้า 12 ปี ท่านสิ้นชีวิต พ.ศ. 2415 (23 พฤศจิกายน 1872) เมื่ออายุ 80 ปี หรือ ภายหลังการสวรรคตของพระจอมเกล้าฯ 4 ปีนั่นเอง

“หนังสือ” สนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริง ว่าด้วย “การค้าเสรี” อันเป็น “ระเบียบใหม่” ของโลกในยุคลัทธิจักรวรรดินิยม อาณานิคมตะวันตก ลงนามกันระหว่างอังกฤษและสยามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ในสมัยรัฐบาล “ประชาธิปไตย” ของพระบาทสมเด็จฯ พระราชินีนาถวิกตอเรีย และ สยามสมัย “ราชาธิปไตย” ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 สนธิสัญญานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่เป็นเวลา ถึง 70 กว่าปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้ง ที่ 1 สิ้นสุดลงเมื่อปี 2461 (1918) แต่กว่าไทยจะมี “เอกราชสมบูรณ์” ก็ต่อเมื่อในปี 2482 (1938) ใน สมัย “รัฐธรรมนูญนิยม” ของรัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงครามที่มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญา ใหม่กับโลกตะวันตก (และญี่ปุ่น) ทั้งหมด

แม้ว่าในปัจจุบันสนธิสัญญาเบาว์ริง จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วก็ตาม แต่หลักการว่าด้วย “การค้า เสรี” ที่ลงรากในสมัยนั้น ก็ยังคงเป็น “ระเบียบแบบแผน” ของเศรษฐกิจกระแสหลักของโลกอยู่ใน ปัจจุบันอยู่ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจสนธิสัญญาเบาว์ริงนี้ตามสมควร

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี 2394 (1851) พร้อมด้วยการตั้งพระทัยอย่าง มุ่งมั่นว่า หากสยามจะดำรงความเป็นเอกราชอยู่ได้และพระองค์จะทรงมีฐานะเป็น “เอกกษัตราธิราชสยาม” ได้ ก็จะต้องทั้ง “เรียนรู้” และ “ลอกเลียน” รูปแบบจากชาติตะวันตก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอำนาจอังกฤษ) จะต้องประนีประนอมประสานแบ่งปันผลประโยชน์กับฝรั่ง ทั้งนี้เพราะ 10 กว่าปีก่อนการขึ้นครองราชของพระองค์นั้น จีนซึ่งเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งเป็น “อาณาจักรศูนย์กลาง” ของโลกเอเชีย (และจีนก็ยังคิดว่าตนเป็น “ศูนย์กลาง” ของโลกทั้งหมด โปรดสังเกตชื่อประเทศและตัวหนังสือจีนที่ใช้สำหรับประเทศของตน) และก็ถูกบังคับด้วยแสนยานุภาพทางนาวีให้เปิดประเทศให้กับการค้า ของฝรั่ง ดังที่เป็นที่ทราบกันดีว่าจีนพ่ายแพ้อย่างย่อยยับใน “สงครามฝิ่น” ปี พ.ศ. 2383-85 (1840-42 ) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3) ต้องยกเลิกระบบบรรณาการ “จิ้มก้อง” และเปิดการค้าเสรีกับเมืองท่าชาย ทะเลให้ฝรั่ง (ขายฝิ่นได้โดยเสรี) แถมยังต้องเสียเกาะฮ่องกงไปอีกด้วย

การล่มสลายของจีนต่อ “ฝรั่งอั้งม๊อ” (คนป่าคนเถื่อน) ครั้งนี้น่าจะส่งอิทธิพลต่อพระจอมเกล้าฯ อย่างมหาศาล ที่เห็นได้ชัดคือการส่งบรรณาการ “จิ้มก้อง” ที่ไทยไม่ว่าจะสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ก็ได้ส่งไปยังเมืองจีนเพื่อถวายกับจักรพรรดิจีนมาเป็นเวลากว่าครึ่ง สหัสวรรษ นั้นต้องสิ้นสุดลง

ดังนั้น พระจอมเกล้าฯ จึงทรงเป็นกษัตริย์ไทยองค์สุดท้ายที่ส่ง “บรรณาการ” หรือ “จิ้มก้อง” ครั้งสุดท้ายไปกรุง ปักกิ่งเมื่อปี 2396 (1853) หรือก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงเพียง 2 ปีเท่านั้นเอง ในรัชสมัย ของพระองค์ สยามก็หลุดออกจากวงจรแห่งอำนาจของจีน และก้าวเข้าสู่วงจรแห่งอำนาจของ อังกฤษด้วยการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงดังกล่าวข้างต้น

แต่เรื่องของอำนาจทางการเมืองของตะวันตก ก็หาใช่เหตุผลสำคัญประการเดียว ในการที่พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จะทรงผูกมิตรอย่างมากกับฝรั่งไม่ ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงเชื่อว่า สยามใหม่ของพระองค์ น่าจะได้รับประโยชน์ ในการที่จะมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับชาติตะวันตก พร้อมๆกับการ เปลี่ยนแปลงเรื่องของรายได้ ภาษีอากรภายในประเทศด้วย พระองค์จึงพอพระทัยที่จะแสวงหาและพัฒนาความสัมพันธ์นั้น

ดังนั้น เซอร์ จอห์น เบาว์ริงก็โชคดีมาก ที่การเจรจาสนธิสัญญาใหม่ทำได้โดยง่ายกว่าบรรดาทูต หรือตัวแทนของอังกฤษที่มาก่อนหน้านั้น ที่ต้องเผชิญกับขุนนางและข้าราชสำนักสยามที่ไม่ เป็นมิตรนัก ซ้ำยังต้องเผชิญกับกษัตริย์ (พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) ที่ไม่ทรงเห็นด้วยกับ การที่สยามจะต้องทำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบฝรั่งในลักษณะดังกล่าว และที่สำคัญคือไม่ทรงเห็น ด้วยที่จะให้ฝรั่งเข้ามาค้าขาย “ฝิ่น” ได้อย่างเสรี ดังปรากฎอยู่ใน “ประกาศห้ามซื้อขายและสูบกิน ฝิ่น” ปี พ.ศ. 2382 (1839) ที่ออกมาบังคับใช้แบบไม่ค่อยจะเป็นผลนัก ก่อนหน้า “สงครามฝิ่น” เพียงปีเดียว

แม้ว่าเบาว์ริงจะมีปัญหาในการเจรจากับข้าราชสำนักบางท่าน (เช่นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย หรือเจ้าพระยาพระคลัง) แต่ดูเหมือนพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงอยู่ในปีกความคิดฝ่ายเดียวกับเบาว์ริงมาแต่เริ่มแรก ว่าไปแล้วในประเทศเช่นสยาม ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีอำนาจเกือบจะสมบูรณ์นั้น ก็ถือว่าเป็นความได้เปรียบของเบาว์ริงอย่างยิ่ง

ในสมัยก่อนหน้าเบาว์ริงนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษ ถูกกำหนดไว้โดยสนธิสัญญา เบอร์นีปี 2369 (1826) และเบาว์ริงก็ใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา ทั้งนี้โดยรักษามาตราเดิมๆ ที่ยังใช้ได้ไว้ บางมาตราก็เพียงแต่ให้นำมาบังคับใช้ให้เป็นผล และมีเพียงไม่กี่มาตราที่จะต้องทำการ แก้ไขใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เบาว์ริงต้องการขจัดออกไปให้ได้จากข้อผูกมัดของสนธิสัญญา เบอร์นี คือ

1. ข้อความที่ให้คนในบังคับอังกฤษในสยาม ต้องขึ้นกับกระบวนการของกฎหมายสยาม

2. ข้อความที่ให้อำนาจข้าราชสำนักสยามห้ามพ่อค้าอังกฤษไม่ให้ปลูกสร้าง หรือว่าจ้าง หรือซื้อบ้านพักอาศัย ตลอดจนร้านค้าได้ในแผ่นดินสยาม

3. ข้อความที่ให้อำนาจต่อเจ้าเมืองในหัวเมือง ที่จะไม่อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษค้าขายในท้อง ที่ของตน

4. ข้อความที่กำหนดให้ฝิ่นเป็นสินค้า “ต้องห้าม” (แบบที่จักรพรรดิจีนและรัชกาลที่ 3 เคยห้าม หรือให้เฉพาะแต่เจ้าภาษีนายอาการผูกขาดไป)

5. ข้อความที่กำหนดว่าเรือของอังกฤษที่เข้ามายังเมืองท่าบางกอกนั้น จะต้องเสียค่าระวาง (ค่าธรรมเนียมปากเรือ) สูง และในมาตราเดียวกันของข้อความนี้ ยังมีการห้ามส่งออกข้าวสารและข้าวเปลือกรวมทั้งปลาและเกลืออีกด้วย

กล่าวโดยย่อ เซอร์ จอห์น เบาว์ริงมีวัตถุประสงค์ในการเจรจาสนธิสัญญาใหม่ ที่จะขจัดข้อจำกัดกีด ขวางเรื่องของการค้าทั้งหมด และก็ประสบความสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ใจ แต่ก็กล่าวได้เช่นกันว่า ที่พระจอม เกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงยินยอมต่อข้อเรียกร้องทางผลประโยชน์ของฝรั่งตะวันตก ทั้งหมดนั้น กลายเป็น win-win situation ทั้งสองฝ่าย แม้ว่าบางเรื่องจะมาเกิดปัญหาอย่างหนักหน่วง และต้องเจรจาแก้ไขภายหลัง เช่น เรื่อง “คนในบังคับ” ของต่างชาติ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ สิทธิสภาพ นอกอาณาเขต ฯลฯ

ข้อตกลงหลักๆในสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ลงนามกันในปี 2398 (1855) ก็มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. คนในบังคับอังกฤษ จะขึ้นกับอำนาจของศาลกงสุลอังกฤษ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิ สภาพนอกอาณาเขต” ขึ้นในสยามเป็นครั้งแรก ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาหนักของสยามใน สมัยต่อๆมา

2. คนในบังคับอังกฤษ มีสิทธิที่จะทำการค้าโดยเสรีตามเมืองท่าของสยาม (หัวเมืองชาย ทะเล)ทั้งหมด และสามารถพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เป็นการถาวร คนในบังคับอังกฤษ สามารถซื้อหาหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในปริมณฑลของกรุงเทพฯ คือ ในบริเวณ 4 ไมล์ หรือ 200 เส้นจากกำแพงพระนคร หรือ “ตั้งแต่กำแพงเมืองออกไป เดินด้วยกำลังเรือแจว เรือพายทาง 24 ชั่วโมง” ได้ อนึ่ง คนในบังคับอังกฤษได้รับอนุญาตให้เดินทางภายใน ประเทศได้อย่างเสรี โดยให้ถือใบผ่านแดนที่ได้รับจากกงสุลของตน

3. มาตรการต่างๆ ทางภาษีอากรเดิมให้ยกเลิก และกำหนดภาษีขาเข้าและขาออก ดังนี้

(ก) ภาษีขาเข้ากำหนดแน่นอนไว้ที่ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าทุกประเภท ยกเว้นฝิ่น ซึ่งจะปลอดภาษี แต่จะต้องขายให้แก่เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ส่วน เงินแท่งก็จะปลอดภาษีเช่นกัน (ตรงนี้เบาว์ริงและอังกฤษได้ไปอย่างสม ประสงค์ ไม่ต้องทำ “สงครามฝิ่น” กับไทย แต่ทางฝ่ายไทย คือ เจ้าภาษีนาย อากรก็ได้ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น ที่ลักลอบทั้งซื้อ ทั้งสูบทั้งกิน ที่ทำมาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 3 แล้ว ในเวลาเดียวกันเจ้านายราชสำ นักไทยในรัชกาลใหม่ ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินจนกระทั่งเจ้านายทรงกรมต่างๆ ก็ได้ผล ประโยชน์ จากเงินรายได้ภาษีฝิ่นนี้ เพราะมีการให้สัมปทานฝิ่น กับเจ้าภาษีนายอากรมาแล้วก่อนการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงด้วยซ้ำไป

(ข) สินค้าขาออกจะถูกเก็บภาษีเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาษีภายใน หรือผ่านแดน หรือส่งออกก็ตาม

4. พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อและขายโดยตรงกับคนชาวสยาม ทั้งนี้โดยไม่มีการ แทรกแซงจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด

5. รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ที่จะห้ามการส่งออก ข้าว เกลือ และปลา หากเห็นว่าสินค้าดังกล่าว อาจจะขาดแคลนได้

6. กำหนดให้มีมาตราที่ว่าด้วย a most-favored nation ซึ่งหมายถึง “ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใดๆ แก่ชาติอื่นๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้อังกฤษ แลคนในบังคับอังกฤษ เหมือนกัน”

สรุปแล้ว สนธิสัญญาเบาว์ริง มีสาระสำคัญอยู่ที่การกำหนดให้มี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ให้มี “การค้าเสรี” และให้มีภาษีขาเข้าและขาออกในอัตราที่แน่นอน (3 %) แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ การที่ข้อกำหนด ต่างๆ ได้รับการเคารพและปฏิบัติตามโดยรัฐบาลสยามเป็นอย่างดี มิได้เป็นเพียงแต่ตัวหนังสือในตัวบทกฎข้อสัญญาเท่านั้น กล่าวได้ว่านี่ก็เนื่องจากความตั้งพระทัยแน่วแน่ของรัชกาลที่ 4 และขุนนางรุ่นใหม่ที่มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะกลาโหมเป็นผู้นำ ที่จะทำให้สนธิสัญญาเป็นผลอย่างแท้จริง เป็นผลประโยชน์ของราชสำนักและขุนนางร่วมกัน เป็น win-win situation ดังกล่าวข้างต้น และอาจจะมีเพียงมาตราที่เกี่ยวกับเรื่องการส่งออกข้าวเท่านั้น เอง ที่ดูจะคลุมเครือและขึ้นอยู่กับการตีความของราชสำนักเป็นสำคัญ แต่ก็หาได้เป็นการเสียผลประ โยชน์ของฝ่ายอังกฤษไม่

สนธิสัญญาเบาว์ริง ยังมีความหมายถึงการที่สยามต้องยอมเสีย “อำนาจอธิปไตย” บางประการ ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่องของการมี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ของคนในบังคับอังกฤษเท่านั้น แต่มีทั้ง เรื่องของภาษีขาเข้าร้อยละ 3 กับการกำหนดภาษีขาออก ที่ราชสำนักสยามต้องยอมปล่อยให้ภาษีศุล กากรนี้หลุดมือไป มีสินค้า 64 รายการทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอนและ ละเอียดยิบไว้ในสนธิสัญญานี้ (เบาว์ริงเป็นนักการบัญชีด้วย พร้อมๆกับการที่ต้องเผชิญเจรจากับเจ้า พระยาพระคลัง (รวิวงศ์หรือทิพกรวงศ์) ที่ก็มีความละเอียดถี่ถ้วน เช่นกัน) และในจำนวนนี้มีถึง 51 รายการที่จะไม่ต้องเสียภาษีภายในประเทศเลย ส่วนอีก 13 รายการก็ไม่ต้องเสียภาษีขาออก ด้วยเช่นกัน

กล่าวได้ว่ารายได้สำคัญของสยาม(กษัตริย์ เจ้า และขุนนาง) ก็สูญหายไปเป็นจำนวนมากด้วยสน ธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับนี้ และกล่าวได้ว่ารายได้สำคัญที่เข้ามาแทนที่ในตอนแรก คือ “ฝิ่น” การพะนัน ตลอดจนภาษีอบายมุขด้านอื่นๆ ฯลฯ และต่อมาจะชดเชยด้วยการผลิต “ข้าว” เพื่อส่งออกขนานใหญ่ ที่จะมาเห็นผลชัดเจน ในกลางรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5

ดังนั้น แม้สนธิสัญญาเบาว์ริง จะทำให้การค้าและการผูกขาดของรัฐ หรือที่รู้จักกันในนามกิจการของ “พระคลัง สินค้า” ต้องสิ้นสุดลงก็ตาม แต่ราชสำนัก เจ้านาย ขุนนางสยาม ก็ผันตัวไปสู่รายได้จาก “การค้าเสรี” ในรูปแบบใหม่ และในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาดของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและบ่อนเบี้ยการพะนัน)

การเจรจาสนธิสัญญาเบาว์ริง

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง อยู่ในกรุงสยาม 1 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์เจรจากับ “ผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม” 5 ท่านที่ได้ รับการแต่งตั้งโดย “กุศโลบายทางรัฐประศาสนศาสตร์” ของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ

(1) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

(2) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาปยุรวงศ์ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้มีอาญาสิทธิ์บังคับบัญชาได้สิทธิขาดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร

(3) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร

(4) เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกระลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่ายตะวันตก

(5) เจ้าพระยารวิวงศ์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ทิพากรวงศ์” หรือ ขำ บุนนาค) พระคลัง และสำเร็จราชการกรมท่า บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก

น่าสนใจที่ว่าทางฝ่ายสยามมีถึง 5 ท่าน (ตามปกติในแง่ของประเพณีโบราณ หากจะมีการแต่งตั้งทูต เป็นผู้แทน ก็มักจะมีเพียง 3 เท่านั้น) ซึ่ง ต่างก็ตระหนักดีว่านี่เป็นความเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวง ใน 5 ท่านนี้ บุคคลที่มีอำนาจอย่างมากในยุคนั้น คือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ที่มีผลประโยชน์อยู่กับระบอบเดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และมักถูกตั้งข้อสงสัยว่าขัดขวางการเจรจากับตัวแทนของอังกฤษและอเมริกามาก่อนหน้า ที่เบาว์ริงจะเข้ามา

แต่การที่พระจอมเกล้าฯ ทรงสามารถแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสอง ต้องเข้าร่วมเป็นตัวแทนสยามเจรจา และต้องตกลงกับเบาว์ริงจนได้ ก็หมายถึงการที่ “ทรงเล่นเกม” ได้ถูก (“กุศโลบายทางรัฐประศาสน ศาสตร์”) หรือไม่ก็ทรงมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ของพระองค์เอง น่าเชื่อว่าในด้านหนึ่งจากความ แก่ชราและโรคภัยที่เบียดเบียนอยู่ ก็ทำให้สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ (หัวหน้าตระกูลบุนนาค) ต้องคล้อยตามไปกับการเจรจาสนธิสัญญาครั้งนี้ ท่านสิ้นชีวิตไปในวันที่ 25 เมษายน 2398 (1855) หรือเพียง 7 วันหลังจากประทับตราในสนธิสัญญาร่วมกับเบาว์ริง

และก็น่า เชื่อว่าการค้าแบบใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้ทำให้ฝ่ายเจ้าและขุนนางเดิมต้องเสียประ โยชน์ไปมากมายแต่อย่างใด ที่สำคัญคือบุตรชายของท่าน คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ “สมุหพระกระลาโหม” ก็เห็นด้วย อย่างยิ่งกับความสัมพันธ์แบบใหม่นี้ และเป็นตัวจักรสำคัญในการบรรลุซึ่งการเจรจา

อนึ่ง สนธิสัญญาเบาว์ริงได้กลายเป็นแม่แบบของการที่ประเทศอื่นๆ ที่สำคัญๆ (ยกเว้นจีน ที่หมดอำนาจไปแล้วในศตวรรษนี้) ติดตาม เข้ามาทำสัญญาแบบเดียวกันอย่างรวดเร็ว มีทั้งหมด 14 ประเทศที่ทำสนธิสัญญากับสยามตามลำดับ

1856 สหรัฐอเมริกา

1856 ฝรั่งเศส

1858 เดนมาร์ค

1859 โปรตุเกศ

1860 เนเธอร์แลนด์

1862 เยอรมนี

1868 สวีเดน

1868 นอรเวย์

1868 เบลเยี่ยม

1868 อิตาลี

1869 ออสเตรีย-ฮังการี

1870 เสปน

1898 ญี่ปุ่น

1899 รัสเซีย

พระราชอาณาจักรและราษฎรสยาม -- หนังสือ 2 เล่มของเบาว์ริง

เมื่อประสบความสำเร็จในการทำสัญญากับสยามแล้ว เบาว์ริงกลับไปฮ่องกง และก็เขียนหนังสือขึ้นมาหนึ่งเรื่อง คือ The Kingdom and People of Siam ท่านเขียน “คำนำ” เสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2399 (1856) ประมาณ 1 ปีครึ่งหลังจากกลับออกไปจากเมืองไทย และตีพิมพ์เป็นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน เมื่อปี 2400 (1857) หรือสองปีภายหลังการลงนามสนธิสัญญา นับเป็นหนังสือสำคัญที่สุดเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับสยามประเทศ หนังสือชุดนี้มี 2 เล่ม หนาถึงเกือบ 1 พันหน้า มีทั้งหมด 16 บทพร้อมทั้งภาคผนวก อีก 7 ตอนด้วยกัน

หนังสือชุดนี้ เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆของสยาม ตั้งแต่เรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประชากร ผลิตผลธรรมชาติ ประเทศราชของสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไปจนถึง “บันทึกประจำวัน 1 เดือนเต็ม” ของเบาว์ริงเอง ที่จดไว้อย่างละเอียดตั้งแต่เรือมาถึงสันดอน ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ 24 มีนาคม จนถึงวันลงนามสนธิสัญญา 18 เมษายน และออกเรือจากสยาม ไปเมื่อ 24 เมษายน รวมแล้ว 1 เดือนเต็ม

เซอร์จอห์น เบาว์ริง เป็นคนละเอียดละออ (รู้เรื่องระบบบัญชี) ดังนั้น จึงเก็บรายละเอียด ข้อมูลสยามมากมายเหลือจะคณานับ นอกเหนือจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้ว เบาร์ริงยังมีรูปประกอบ คับคั่งอีกด้วย ทั้งหมด 19 รายการ มีรูปงามๆ ของแม่น้ำเจ้าพระยา วัง วัด พระแก้วมรกต ช้างเผือก และพระฉายาทิศลักษณ์ ของ “พระเจ้ากรุงสยาม” รวมทั้ง “แผนที่สยามประเทศ” สมัยนั้น

ดังที่กล่าวแล้วว่า หนังสือชุดนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1857 (พ.ศ. 2400) ที่กรุงลอนดอน และกลายเป็นหนังสือหายาก มีคนเล่นกันแบบเก็บ “ของเก่า” ทำให้ไม่สะดวกสำหรับการศึกษา ค้นคว้า แต่น่าดีใจที่ว่าในปี พ.ศ. 2512 (1969) สำนักพิมพ์อ๊อกซฟอร์ดได้นำมาตีพิมพ์ซ้ำ และให้ “ศ. เดวิต วัยอาจ” เขียนคำนำให้ แต่ในการพิมพ์ครั้งหลังนี้ได้ตัดบางอย่างที่สำคัญทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย นั่นคือพระราชลัญจกรตัวหนังสือขอมเขมร และจีนของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงประทับตีตรา ไปใน “พระราชสาสน (จดหมาย)” ถึงเบาว์ริง

สำหรับตราตัวหนังสือจีนนั้นอาจจะเป็นตราเดียวกับที่ทรงประทับเวลาไป “จิ้มก้อง” กรุงปักกิ่ง ซึ่งมีการส่งเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2396 (1853) ก่อนหน้าการทำสัญญาเบาว์ริง 2 ปี และใช้พระปรมาภิไธยเป็นภาษาและตัวหนังสือจีนว่า “แต้ปิ๋ง” คือพระแซ่ “แต้” พระนาม “ปิ๋ง” ตามเสียงแต้จิ๋ว (หรือ “เจิ้ง” ในเสียงจีนกลาง) พระนามว่า “ปิ๋ง” หรือ “หมิง” แปลว่า “สว่าง”

นี่เป็นธรรมเนียมมาแต่สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน) จนกระทั่งรัชกาลที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่กษัตริย์ทุกองค์จะส่ง “จิ้มก้อง” ไปเมืองจีนและใช้ “พระแซ่แต้” ในการติด ต่อกับกรุงปักกิ่ง สำหรับจักรพรรดิจีนที่พระจอมเกล้าฯ ทรงติดต่อด้วย คือ "พระเจ้าฮำฮอง" (Xianfeng 1851-1861) ซึ่งมีสนมเอกลือชื่อ "ซูสีไทเฮา" จีนกำลังอ่อนแอมาก และในที่สุดเมื่อสยาม คบฝรั่ง ไทยก็เลิกส่ง "จิ้มก้อง" แถมรัชกาลที่ 4 "ทรงสวด" ด้วยว่าถูกจีนหลอกมาหลายร้อยปี

เบาว์ริงได้เอกสารหลักฐานของไทยสมัยนั้นไปมากมาย ไม่ว่าสำเนาศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (แถมพระจอมเกล้าฯ ทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เป็นตัวอย่างไป 1 บรรทัดด้วยว่า My father named Surindradity, my mother, Lady Suang, my elder brother…) เบาว์ริงได้ บทความประวัติศาสตร์สยาม ที่รัชกาลที่ 4 ทรงแต่งเองเป็นภาษาอังกฤษ ส่งไปตีพิมพ์มาก่อนแล้วที่เมืองจีน เบาว์ริงนำพระราชสาส์นส่วนพระองค์มารวมตีพิมพ์ไว้ด้วย เช่น ในบทที่ 2 (หน้า 65-66) ของเล่มแรก ที่รัชกาลที่ 4 ทรงเล่าไปว่า “ต้นตระกูล” ของพระองค์ท่านเป็น “มอญปนจีน” อย่างไร โยงกลับไปมอญหงสาวดี (พะโค) ที่อพยพมาในสมัยพระนเรศวร สืบลูกหลานมาสมัยโกษาปาน แล้วก็ไปตั้งหลักแหล่งที่ “สะแกกรัง” (อุทัยธานี) เมืองชายแดน โดยทรงกล่าวถึงพระปฐมบรมมหาชนกนาถ (บิดาของรัชกาลที่ 1) ไว้ว่า

“...ท่านผู้เป็นอภิชาตบุตร คนดังกล่าวได้ถือกำเนิดขึ้นที่นั่น และได้กลายเป็นผู้มีความชำนาญ และมีความรู้ความสามารถในทางราชการ ท่านได้ออกจาก ‘สะเกตรัง’ ไปยังอยุธยา ที่ซึ่งได้รับ คำแนะนำ ให้เข้ารับราชการ และได้สมรสกับธิดารูปงามของครอบครัวคหบดีจีน ที่ร่ำรวยที่สุด ในย่านที่อยู่อาศัยของชาวจีนภายในกำแพงเมือง ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอยุธยา...”

นี่เป็นข้อมูลที่มีเสน่ห์และน่าสนใจมากจากหนังสือสองเล่มของเบาว์ริง เราจะไม่พบข้อมูลเช่นนี้ ในเอกสารประวัติศาสตร์ของไทย ที่ให้ภาพ “ผู้นำใหม่” รุ่นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 ที่ลงมาตั้งกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นมี “ความหลากหลาย” ทางชาติพันธุ์ เป็น “จีนปนไทย” อย่างในกรณีของพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน) ที่มีบิดาเป็นจีนแต่มารดาเป็นไทย ในขณะที่พระพุทธยอดฟ้า (รัชกาลที่ 1) มีบิดาเป็นไทย (มอญ) แต่มารดาเป็นจีน

นอกเหนือจากเรื่องประวัติศาสตร์อันละเอียดอ่อน และหาไม่ได้ในฉบับภาษาไทยเองแล้ว ยังมีทั้งเรื่องกฎหมาย เรื่องการพิพากษาคดีความ เรื่องทาส เรื่องประเพณี อะไรต่อมิอะไร ที่เบาว์ริงนำเอาไปจากบางกอกหรือหารวบรวมได้เองในเมืองจีน (ฮ่องกงของท่านในสมัยนั้น มีทั้งนักปราชญ์ราชบัณฑิตฝรั่ง มิชชันนารี การตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์และวารสาร อยู่คับคั่ง นับว่าเป็นโลกของ “ความรู้สมัยใหม่”) สิ่งเหล่านี้ เบาว์ริงทั้งรวบรวมทั้งให้ทำการแปล เป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ 2 เล่มของท่านอย่างละเอียด นี่ทำให้หนังสือของท่านน่าสนใจอย่างยิ่ง

เบาว์ริง “ตัด ต่อ และแปะ” กลายเป็นเสมือน “คู่มือประเทศสยาม” อย่างดี ผงาดขึ้นมาเคียงบ่าเคียงไหล่กับหนังสือคลาสิกอย่างของลาลูแบร์สมัยอยุธยา (Loubere, Simon de la, Du Royaume de Siam. Amsterdam, 1691, Description du Royaume de Siam, Amsterdam, 1700, 1713, ซึ่ง สันต์ ท. โกมลบุตร. แปลไว้ใน จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์. กทม. สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2510

หรืออีกเล่มหนึ่งของสังฆราชปัลเลอกัวซ์ (Bishop Pallegoix: Description du Royuame Thai ou Siam, 1852) ที่แปลเป็นไทยแล้ว คือ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” ท่านสังฆราชใช้ทั้งชีวิตในกรุงสยาม แต่เบาว์ริงอยู่ในเมืองหลวงของเราเพียง 1 เดือนเท่านั้นเอง หนังสือของฝรั่งเศสทั้งสองเล่มนี้ เบาว์ริงใช้ทั้งอ้าง ทั้งอิง และทั้งยกข้อความมาใส่ไว้ในหนังสือใหม่ของท่านอย่างมากมาย

การแปลหนังสือของเบาว์ริงเป็นภาษาไทย (ฉบับสมบูรณ์)

หนังสือของเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ที่แม้จะปรากฎในภาษาอังกฤษมาเกือบ 150 ปีแล้ว และมีการนำมาตีพิมพ์ซ้ำอีกดังกล่าวข้างต้น แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าฉบับแปลที่ “สมบูรณ์” ในภาษาไทยหามีไม่ อาจจะเป็นเพราะความใหญ่โตหนาตั้งเกือบ 1000 หน้า อาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่อง “ไทยๆ” ที่คนไทยเราเองมักจะมองข้ามไป กลายเป็น “ใกล้เกลือกินด่าง” ซึ่งทำให้ชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในวงการ “อุษาคเนย์ศึกษา” ดูจะรู้เรื่องของเราดีกว่าตัวเราด้วยซ้ำไป จะมีก็แต่เพียงข้าราชการกรมศิลปากรและอาจารย์น้อยท่านเท่านั้น ที่ให้ความสนใจและแปลบางบทออกมาเป็นครั้งคราว

ดังนั้น จากความสำคัญของหนังสือของเบาว์ริงทั้งสองเล่ม และเนื่องในโอกาสมหามงคล คือ ครบรอบ 200 ปีแห่งพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2547-2547 (2804-2004) นี้ ทำให้เราในนามของสองมูลนิธิ คือ มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ซึ่งมี ฯพณฯ พลตำรวจเอก เภา สารสิน เป็นประธาน และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งมี ศ. เสน่ห์ จามริก เป็นประธาน ได้มีความเห็นร่วมกันว่าการเฉลิมฉลองที่ดีที่สุด คือ การจัดทำหนังสือดีๆสำหรับโอกาสดังกล่าว และนี่ก็เป็นที่มาของการดำเนินการให้มีการแปลเบาว์ริงให้สมบูรณ์ทั้งหมดเป็นครั้งแรก

ในเบื้องต้น เราได้สำรวจเอกสารที่แปลมาจากหนังสือของเบาว์ริงเพื่อดูว่ามีการแปลข้อความตอนใดเป็นภาษาไทยแล้ว พร้อมกับเสาะหาเอกสารต้นฉบับภาษาไทย เพื่อเปรียบเทียบกับต้นฉบับที่เบาว์ริงได้อ้างอิงถึง พบว่าข้อความในหนังสือของเบาว์ริงเล่มแรกคล้ายคลึงกับหนังสือของลาลูแบร์และสังฆราชปัลเลอกัวซ์ รวมทั้งหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร เช่น ภาคที่ 32 อธิบายเรื่องเบื้องต้นที่ไทยจะเป็นไมตรีกับฝรั่งเศส ภาคที่ 39 เรื่องจดหมายเหตุของพวกบาทหลวงฝรั่งเศสฯ ตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ ครั้งกรุงธนบุรีและครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น หากพิจารณาอย่างผิวเผินจะคิดว่าข้อความในหนังสือเล่ม 1 ไม่มีสิ่งแปลกใหม่ จึงไม่พบว่ามีผู้ใดแปลข้อความจากเล่มนี้ สิ่งที่เห็นว่าเผยแพร่กันมากกลับเป็นพระบรมสาทิศลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในตอนต้นของหนังสือ

ข้อความในหนังสือเบาว์ริงที่มีการแปลเป็นภาษาไทยเผยแพร่อย่างมากหลายมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ บทที่ 16 Personal Journal of Sir John Bowring’s Visit to Siam อันเป็นตอนสำคัญที่นายเพ่ง พ.ป. บุนนาค ได้แปลเป็นหนังสือเรื่อง “เซอร์ยอนโบว์ริงเข้ามาเมืองไทย” เมื่อ พ.ศ. 2456 และมีการตีพิมพ์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2509 ต่อมา ประยุทธ สิทธิพันธ์ ได้คัดมาเป็นบทหนึ่งในหนังสือเรื่อง “สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม (เล่มปลาย)” (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยาม, 2515) เพื่อให้เรื่องราวนั้นแพร่หลายยิ่งขึ้น สำนวนแปลเป็นสำนวนโบราณตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้มอบหมายให้นางนันทนา ตันติเวสส ซึ่งขณะนั้นเป็นนักอักษรศาสตร์ 5 ฝ่ายแปลและเรียบเรียง กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ แปลข้อความตอนนี้ใหม่เป็นสำนวนปัจจุบัน โดยมีเรื่อง Sir John Bowring’s Mission 1855 อันเป็นหัวข้อสุดท้ายในบทที่ 15 Diplomatic and Commercial Relations of Western Nations with Siam มาเป็นบทนำของหนังสือ “บันทึกรายวันของเซอร์ จอห์น เบาริง” เผยแพร่เมื่อ 2532

กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานที่จัดแบ่งเนื้อหาในหนังสือเบาว์ริง เล่ม 2 จัดแปลออกเป็นตอนๆ ให้สอดคล้องกับความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยมีนันทนา ตันติเวสส เป็นผู้แปล และตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2527-2535 เริ่มต้นจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ดังนี้

2527 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามกับต่างประเทศในสมัยอยุธยา แปลและเรียบเรียงจากบางตอนในบทที่ 15 Diplomatic and Commercial Relations of Western Nations with Siam (คือ ตอนที่ 1-4 คณะทูตของโปรตุเกส ดัตช์ ฝรั่งเศสและสเปน) ของเซอร์ จอห์น เบาว์ริง กับ "Seventeenth Century Japanese Documents about Siam" ของยูเนโอะ อิชิอิ (Yoneo Ishii, Journal of the Siam Society, 59:2, July 1971)

2528 เมืองประเทศราชของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ แปลและเรียบเรียงจาก บทที่ 14 Dependencies upon Siam ของเซอร์ จอห์น เบาว์ริง และ Kedah-Siam Relations 1821-1905 ของชารอม อาหมัด

2532 รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ 1 “คณะทูตมิสเตอร์ครอว์เฟิด พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822)” หน้า 1-56. แปลจากบางส่วนใน บทที่ 15 คือ ตอนที่ 5 คณะทูตของอังกฤษ

2532 บันทึกรายวันของ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง แปลและเรียบเรียง จากบางตอนในบทที่ 15 คือ ตอนที่ 7 คณะทูตของเซอร์จอห์น เบาว์ริง และบทที่ 16 บันทึกส่วนตัวของเซอร์จอห์น เบาว์ริง

2535 รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ 2. “ประวัติของคอนสแตนติน ฟอลคอน” หน้า 57-96 แปลจาก ภาคผนวก E History of Constance Phaulcon

ส่วนสำคัญในหนังสือของเบาว์ริงที่ไม่ใคร่มีผู้กล่าวถึง คือ ข้อมูลที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเตรียมไว้ให้เบาว์ริง เป็นการนำเสนอทั้งเรื่องราวของประเทศสยามและพระราชวงศ์ วินัย พงศ์ศรีเพียร แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้นำพระราชนิพนธ์อันเป็นข้อสังเกตโดยสังเขปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม ที่เป็นภาคผนวก A ของหนังสือมาแปลเป็น “พงศาวดารสยามอย่างย่อ” ในหนังสือเรื่อง ความยอกย้อนของอดีต : พิพิธนิพนธ์เชิดชูเกียรติ พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒน์ เกษมศรี (กรุงเทพฯ พฤศจิกายน 2537, หน้า 71-106) เพื่อให้คนไทยได้ทราบบทพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่มีรายละเอียดบางประการต่างไปจากสิ่งที่คุ้นเคยกันมา และนับจาก พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ก็ไม่มีผู้ใดแปลข้อความในหนังสือชุดนี้อีก

สำหรับภาคผนวกอื่นๆ นั้น บางชิ้นเป็นเอกสารที่มีต้นฉบับเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บางชิ้นเป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงเรื่องของฟอลคอนเท่านั้นที่เบาว์ริงแปลมาจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส สำหรับเอกสารต้นฉบับที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คือ ประกาศเรื่องฝิ่นในรัชกาลที่ 3 กับ อาการประชวรและสวรรคตของพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีนั้น เราได้พยายามหาต้นฉบับเอกสารภาษาไทยมาศึกษา เพื่อรักษาสำนวนการเขียนแบบโบราณให้คงไว้ให้ได้มากที่สุด

เบาว์ริงเป็นทั้งนักเขียนและนักภาษา ผลงานของเขาจึงเต็มไปด้วยการอ้างอิงถึงผลงานของผู้อื่นและคำศัพท์หลากภาษาเป็นจำนวนมาก ยากที่จะหาผู้แปลเพียงคนเดียวแปลผลงานของเบาว์ริงได้อย่างครบถ้วนในอัตราความเร็วเดียวกับที่เบาว์ริงเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเกี่ยวกับไทยๆ ที่ดูว่าน่าจะง่าย แต่กลับเป็นสิ่งที่ยากอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเบาว์ริงแปลเรื่องราวของไทยมาจากเอกสารภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและละติน การแปลกลับไปกลับมาทำให้มีบางสิ่งคลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับภาษาไทย เพราะได้ผ่านการตีความไปเป็นภาษาอื่นโดยคนต่างวัฒนธรรมไปแล้ว หากใช้คำศัพท์หรือสำนวนแบบไทยๆ แทนที่ข้อเขียนของเบาว์ริง โดยไม่แปลก็จะทำให้เสีย “ความ” ดังที่เบาว์ริงเข้าใจ

ดังนั้น การตั้งใจแปลความโดยใช้ถ้อยคำและสำนวนแบบไทย จึงอาจเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมในบางตอน และเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการแปล เพราะจำเป็นต้องทบทวนเรื่องการใช้ถ้อยคำหลายครั้ง จากที่เคยตั้งใจว่าจะแปลให้คนไทยอ่านโดยใช้คำที่คนไทยคุ้นเคย ก็ทำไม่ได้เพราะเป็นคำที่ไม่ตรงกับการใช้ของเบาว์ริง ทั้งยังแฝงนัยที่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นเอาไว้ด้วย เช่น คำว่า Cochin Chine กับ Cambodia ที่ในเอกสารพงศาวดารของไทยเรียกว่า ญวน กับ เขมร เป็นต้น

คำศัพท์ภาษาต่างๆ ที่แสดงให้เห็นความสามารถทางด้านภาษาของผู้เขียนก็เป็นปัญหาสำคัญอีกเช่นกัน เพราะผู้แปลไม่มีความรอบรู้มากพอที่จะเข้าใจทุกอย่างได้ แม้เป็นคำเล็กน้อยเพียงไม่กี่คำ ก็ทำให้ต้องวิ่งรบกวนบรรดานักวิชาการผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางจำนวนมาก ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษามอญ ภาษาจีน ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์และภาษาละติน เพราะปัญหาเรื่องคำศัพท์มิได้ยุติเพียงว่า คำศัพท์นั้นแปลว่าอะไรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์นั้นด้วย ความยากและซับซ้อนเช่นนี้ประกอบกับเวลาที่จำกัด ทำให้ผู้แปลจัดทำเชิงอรรถอธิบายความได้เพียงเท่าที่จำเป็น ปล่อยข้อสงสัยหลายตอนไว้ให้เป็นการบ้านของผู้อ่านที่จะได้ค้นหาความกระจ่างด้วยตนเอง

ปัญหาอีกประการหนึ่งของผู้แปลเกิดจากการอธิบายความและอ้างอิงของผู้เขียน ที่ได้รีบทำงานชิ้นนี้อย่างเร่งด่วน จึงมิได้เคร่งครัดกับการอ้างอิงเหมือนบรรดานักวิชาการในปัจจุบันที่มีระบบการอ้างอิงอย่างชัดเจนเพียงระบบเดียว แม้จะเห็นได้ชัดว่าเบาว์ริงใช้เชิงอรรถ ทั้งอ้างอิงและอธิบายความ แต่นั่นก็เป็นส่วนน้อย หากแต่มีการอ้างอิงในเนื้อความเป็นอันมาก โดยเบาว์ริงระบุที่มาของข้อมูลไว้ในวงเล็บด้านท้ายของย่อหน้า และบางคราวก็อธิบายแทรกไปในเนื้อความโดยใช้เครื่องหมายวงเล็บในกรณีที่เขาเขียนข้อความนั้นเอง แต่ต้องการให้ผู้อ่านชาวตะวันตกเข้าใจ บางครั้งเขียนอธิบายในวงเล็บสี่เหลี่ยมเพราะเป็นการอ้างอิงในผลงานของคนอื่น บางครั้งใช้ทั้งตัวเอนและวงเล็บเพื่ออธิบายความ ทำให้ผู้แปลที่จำเป็นต้องแทรกความในเนื้อเรื่องบ้างจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายวงเล็บปีกกาแทนการใช้การอธิบายและเขียนว่า ผู้แปล ไว้ในวงเล็บ เพื่อมิให้ดูรกรุงรังจนเกินไป

การแปลงานชิ้นนี้ให้สำเร็จทันเวลาที่จะเฉลิมฉลองวาระสำคัญ 2 วาระในเวลาเดียวกัน คือ 200 ปี พระจอมเกล้าฯ (18 ตุลาคม 2004) กับ 150 ปีสนธิสัญญาเบาว์ริง (18 เมษายน 2005) จึงต้องบังคับและขอร้องให้หลายท่านมาช่วยกันแปลงานที่ยังไม่เคยมีการแปลมาก่อน ในขณะเดียวกัน ก็ติดต่อขออนุญาตทำผลงานที่แปลแล้วมาพิมพ์รวมไว้ด้วยกันโดยไม่มีการแปลใหม่ แต่ขอปรับรูปแบบให้เหมือนกันทั้งสองเล่ม

กล่าวโดยสรุปว่า หนังสือเล่มที่ 1 เป็นการแปลใหม่ทั้งเล่มโดยผู้แปล 3 คน คือ อนันต์ ศรีอุดม, กัณฐิกา ศรีอุดม และพีรศรี โพวาทอง ส่วนหนังสือเล่มที่ 2 นั้น เป็นการรวมผลงานที่ได้มีการเผยแพร่มาแล้ว ของนันทนา ตันติเวสส สำหรับภาคผนวกนั้น มีทั้งการรวบรวมงานแปลที่ได้พิมพ์เผยแพร่แล้ว ของวินัย พงศ์ศรีเพียร การรวบรวมเอกสารโบราณและการแปลใหม่ โดยกัณฐิกา ศรีอุดม, ศศิพันธ์ ตรงยางกูร และคมคาย อิทธิถาวร

เราหวังว่าการเฉลิมฉลองทางด้านวิชาการในโอกาส 200 ปีของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2347-2547 (1804-2004) งานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยของเราโดยรวม และขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ร่วมกันทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงลงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิฯ ทั้งสอง ที่เอ่ยนามมาแล้ว และบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย ตลอดจนนักวิชาการ ผู้แปล และผู้ร่วมงานจำนวนมาก อาทิ

อธิบดีกรมศิลปากร ผู้อนุญาตให้นำผลงานแปลมารวมพิมพ์ นันทนา ตันติเวสส, วินัย พงศ์ศรีเพียร,อนันต์ ศรีอุดม, พีรศรี โพวาทอง, ศศิพันธุ์ ตรงยางกูร, คมคาย อิทธิถาวร, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ทรงยศ แววหงษ์, ธีรวัติ ณ ป้อมเพชร, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ฯ, วรพร ภู่พงศ์พันธุ์ ตลอดจนมิตรสหายในวงวิชาการต่างประเทศ อาจารย์ Geoff Wade, Maureen and Michael Aung Thwin, Benedict Anderson, Kyaw Yin Hlaing, Nai Sunthorn ปรีชา โพธิ และทีมงานของโตโยต้ากับ “ดรีมแคชเชอร์” ที่ทำให้เบาว์ริงปรากฏขึ้นมาเป็นจริงอีกครั้งหนึ่งของ “อดีต” ของสังคมไทย

สาวตูดไว ใจเยี่ยงโจร !

ตํานานพื้นบ้าน ที่ไม่เหน็ดเหนื่อย กับการจี้ปล้นทางกาย และทางใจ

คนโบราณมักกล่าวถึง "สาวตูดไว" เมื่อพบเจ้าหล่อนที่ออกหน้าออกตา ด่วนใจ "จับ" สุภาพบุรุษรูปงาม ที่มักจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าตัวหล่อนเอง นอกจากนี้ก็มักจะต้องมีการ แย่ง ชิงตัวสุภาพบุรุษจากสุภาพสตรีกระกูลสูง ที่หมั้นหมายกันไว้แล้ว

ม.ร.ว. คึกฤทธิ ปราโมช ได้เขียนบทไว้อย่างดุเดือดใน สี่แผ่นดิน ...

"อ้าว ! ก็พี่เนื่องเขาบอกว่าจะแต่งงานกับลูกสาวแม้ค้าขายข้าวแกงพ่อเป็นเจ๊กไงล่ะ...
ฉันไม่เห็นใจ ! ฉันไม่ยอมเข้าใจ ! มีอย่างรึ อยู่ๆก็ลุกขึ้นมีเมียไม่รู้เนื้อรู้ตัว ฉันเคยพูดหลายครั้งแล้วว่าพี่เนื่องเป็นคนเหลวแหลกไม่มีสติ คราวนี้เห็นหรือยังล่ะพลอย คิดถึงใจฉันบ้างซี ได้พี่สะใภ้เป็นลูกคนขายข้าวแกง ทีนี้ฉันจะไปดูหน้าใครได้ ถ้ามีใครเขาถามขึ้นมา ฉันจะทําอย่างไร"

นางสมบุญ สาวสวยจากนครสวรรค์ผู้ "จับ" พี่เนื่องได้นี้ จึงถูกมองโดยชนชั้นศักดินาอย่าง ม.ร.ว. คึกฤทธิ ปราโมช ว่าตํ่าช้า และเข้าข่าย "สาวตูดไว" อย่างหาตําหนิมิได้ทีเดียว

แต่ถึงกระนั้น ตํานาน "สาวตูดไว" ก็ยังเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่สามัญชนและชนชั้นล่างอยู่มิน้อยทีเดียว ยิ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจมากเท่าใด "สาวตูดไว" ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากเท่านั้น

คุณป้าท่านหนึ่งที่ตลาดนํ้าพุ มักจะร้องเพลง "แต๊ะอั๋ง แต๊ะเอีย" ของพุ่งพวง ดวงจันทร์ เมื่อยามคึงคะนอง (จังหวะสามช่า)

"หนูอยาก จะได้แต๊ะเอีย หนูยอมให้เสี่ยเขาแตะแต๊ะอั๋ง
เสี่ยจ๋ามาหาหนูมั่ง ไม่มาแต๊ะอั๋ง ก็ควรจะส่งแต๊ะเอีย !"

นอกจากเพลงลูกทุ่งที่มักจะมี "สาวใช้เกรด A" ขโมยผัวของหญิงไฮโซแล้ว ยังมีเพลงพื้นบ้านอย่าง "มะเมี๊ย" สาวพม่าที่เสี่ยงโชค"จับ" เจ้าชายเชียงใหม่

"มะเมี๊ยเป็นสาวแม้ค้าชาวพม่า เมืองมะละแม่ง
งามลํ้าเหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่งหลงฮักสาว
มะเมี๊ยบ่เคยฮักใผ๋ มอบใจ๋ให้หนุ่มเชื้อเจ้า
เป็นลูกอุปราชชาวเชียงใหม่"

นิยายพื้นบ้านหลายเรื่องที่นํามาทําเป็นภาพยนตร์อย่าง ดาวพระศุกร์ หรือ บ้านทรายทอง ก็เป็นเรื่องราวและความหวังของชนชั้นล่างที่จะนําความมั่งมีมาให้ครอบครัว พจมาน สว่างวงศ์ ไม่เพียงเป็นแค่ลูกเลี้ยงเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์และ ความหวังของชนชั้นที่ถูกเอาเปรียบทางสังคมเอาทีเดียว เธอคือผู้บริสุทธิ์ ที่ถูกรังแก และการที่เธอได้ครอบครองบ้านทรายทองในที่สุดนั้น ก็เป็นสิ่งที่ชาวบ้านเห็นว่ายุติธรรมแล้ว

ในทางกลับกัน พวกไฮโซ มักจะมอง "สาวตูดไว" ว่ามันไม่ต่างจากการเป็น "โจร" ท่านคึกฤทธิ ปราโมช เล็งเห็นว่าความรักกับฐานะทางสังคมนั้นมันแยกออกจากกันไม่ได้ และเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นบุคคล (ุอย่างที่ Madonna เคยวิเคราะห์ไว้ในเพลง Material Girl ) นางสมบุญจากนครสวรรค์ จึงถูกมองว่าเป็นโจร ที่ลักตัวพี่เนื่องไปจากสาวตระกูลมั่งมีอย่างแม่พลอย

อันที่จริงแล้ว ตํานาน "โจร" พื้นบ้านก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับตํานาน "สาวตูดไว" อย่างแยกไม่ออกและก็เป็นที่นิยมชมชอบไม่แพ้กัน ตํานานปล้นคนรวย ช่วยคนจนนั้นมีมากในสังคมที่มีความเหลื่อมลํ้าสูง

ตํานานโจรที่มีชื่อว่า Robin Hood ก็เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวบ้านผู้ตกยากในยุโรปยุคกลาง ในหมู่ประเทศลาตินอเมริกาก็มีตํานานโจรมากมาย ที่เล่าขานกันในหมู่ชาวบ้าน อย่างเรื่องของนายปันโจ เวีย (Pancho Villa) โจรผู้ช่วยปลดแอกประเทศ Mexico หรือตํานานสงครามกองโจรของ เช กูวาร่า (Che Guevara) เป็นต้น

หากท่านไปเที่ยว Mexico ภาพที่ท่านจะได้เห็นบ่อยที่สุด (ในที่ธุรกันดาร) ก็คือภาพนายปันโจ ขุนโจร ตัวคลํ้า หนวดยาว หมวกบาน ปืนคู่ โพสท์ท่าอยู่บนรองเท้าบูท โดยมีต้นกระบองเพชรเป็นฉากหลัง

ในภูมิภาคแถบเอเชียของเรา ตํานานโจรที่ออกจะเด่นชัดที่สุดก็คือตํานาน 108 โจรจากเหลียงซาน (อย่าไปสับสนกับ 108 โจรใต้นะครับ) ตํานานโจรอันนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 900 ปีที่แล้วในประเทศจีน ณ ภูเขาเหลียงซาน โจร 108 ท่านนี้ ประกอบด้วยปัญญาชนที่ถูกรัฐบาลรังแก หรือชาวบ้านที่ทําผิดกฎหมาย อย่างการชกพ่อค้ามาเฟียที่ชอบลักตัวลูกสาวชาวบ้านไปเป็นเมีย หรือการเตะต่อยนายอําเภอที่เรียกร้องส่วยมากเกินไป

เนื่องจากกฎหมายของจีนในยุคนั้นมักจะเข้าข้างพ่อค้าที่เซ็งลี้เก่ง คนจีนที่มีใจซื่อสัตย์จึงต้องรวมตัวกันเป็น "โจร" เพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่และกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่ที่สุดแล้วโจร 108 ทั้งหมดนี้ก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐหลอกฆ่าเสียจนสิ้น เหลือไว้เพียงแค่ตํานานให้เล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองของจีนยังเชื่อว่าวิญญาณของโจร 108 ท่านนี้ยังไม่ตาย เช่นเดียวกับวิญญาณของ กวนอู หรือ กบฎผีบุญ ของบ้านเรา

ตํานานโจรพื้นบ้านเหล่านี้คือสัญลักษณ์และความหวังของชนชั้นล่าง จึง ยังตายไม่ได้ และมักถูกเหมาให้เป็น "ผี" เอาไว้คุ้มครองชาวบ้านผู้ไร้ซึ่งอํานาจ

มีนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง เคยถามว่าทําไมตํานานโจรพื้นบ้านเหล่านี้จึงมีผู้หญิงน้อยนัก ?

ข้อสังเกตุข้อหนึ่งก็คือว่า แท้จริงแล้วเรามีตํานานโจรหญิงเป็นจํานวนมาก แต่เจ้าหล่อนนั้นใช้บริบทในการปล้น (หรือกระบวนการทอดถอนทุนจากเจ้าสัว) ที่ต่างจากหนุ่มปืนไวทั้งหลาย โดยเฉพาะในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (patriarchy) การจี้ปล้นในรูปแบบของ "เมียน้อย" หรือ "กะหรี่" นั้นทําได้ง่ายกว่าและได้ประสิทธิภาพเหนือการใช้ปืนหลายเท่า

ตํานานโจรในสังคมที่เหลื่อมลํ้า (ไม่ว่าจะตูดไว หรือ ปืนไว) จึงน่าจะเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นถึงความต้องการและความหวังของชนพื้นบ้านที่จะปลดปล่อยตนเองจากสภาพชีวิตที่ถูกเอาเปรียบ แต่มันเป็นความต้องการที่ยังไร้ระบบการจัดการอันชัดเจน เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางสังคม มันเป็นเพียงแค่ความหวังให้ชาวบ้านได้เสพไปวันๆเท่านั้น

ทว่า คนเรานั้นเมื่อถูกเอาเปรียบก็ยังพอทนได้
แต่ถ้าสิ้นหวังแล้วนั้นคงจะดํารงชีวิตอยู่ยาก