Thaksinomics มีที่ไหน?
ผมเคยกล่าวไว้ในหนังสือ “พิษทักษิณ: ผลกระทบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมภายใต้ระบอบทักษิณ” (OPENBOOKS, 2547) ว่า ก่อนที่เราจะถกเถียงกันว่า ระบอบเศรษฐกิจแบบทักษิณ หรือ Thaksinomics มีเนื้อหาสาระอย่างไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนตรงไหน คำถามสำคัญ ที่ต้องตอบเสียก่อนก็คือ Thaksinomics มีจริงหรือไม่? คำตอบของผมคือ ไม่มี !!!
ผมคิดว่า Thaksinomics ไม่มีจริง หากเป็นเพียงวาทกรรมที่ถูกริเริ่มสร้างขึ้นและผลิตซ้ำบ่อยครั้งโดยฝ่ายนิยมทักษิณ จนติดปาก สื่อมวลชนและสังคม ที่ทางของ Thaksinomics เหมือนกับเป็นวาระที่ถูกกำหนดมาให้แล้ว จำเป็นต้องยอมรับมัน จนดูเสมือนว่าเราทำได้ แค่เพียงตอบคำถามว่า เราจะ “อธิบาย” มันอย่างไร “อยู่” กับมันอย่างไร และมันจะนำเราไปสู่อะไรThaksinomics ลอยมาจากที่ใดและปักรากอยู่ในสังคมเศรษฐกิจไทยตั้งแต่เมื่อใด ผมเชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ตัวและยังรู้สึกงงๆ อยู่ รู้ตัวอีกทีเราก็อยู่ภายใต้ Thaksinomics กันหมดแล้ว จึงถือเป็นภาระที่จะคิด ฟัง อ่าน เขียน เพื่อ “เข้าใจ” มันให้มากที่สุด จะได้ “วิเคราะห์” และ “วิจารณ์” มันได้ เมื่อนักวิชาการพยายามผลิตคำอธิบายและหาเหตุผลประกอบดำรงอยู่ของมัน (เสมือนว่ามันมีอยู่จริง มันมีอยู่แล้ว) นักวิชาการจึงได้แต่เล่นตามเกมวาทกรรมที่ถูกกำหนดวาระมาแล้วตั้งแต่ต้น ยิ่งทุ่มทรัพยากร ทั้งสมองและเวลา ในการผลิตคำอธิบายด้วยเหตุผลทางวิชาการ ไม่ว่าจะในทางบวกหรือลบ มากเท่าใด ก็ยิ่งสะท้อนความเชื่อที่ว่า Thaksinomics มีอยู่จริง และยิ่งยืนยันความเชื่อว่าระบอบดังกล่าวมีลักษณะตัวตนเฉพาะ (Identity) ซึ่งแตกต่างออกไปจากระบอบอื่นหรือ แตกต่างจากอดีต จริงความชอบธรรม (ในการดำรงอยู่) ของระบอบดังกล่าวก็เกิดขึ้น แม้จะเป็นระบอบที่ไม่ชอบธรรมก็ตาม หรือจะเป็นระบอบที่ชอบธรรมก็ตาม (ซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกต่อไปแล้ว แต่ประเด็นสำคัญคือ เรายอมรับการมีอยู่ของมันแล้วต่างหาก ซึ่งการยอมรับการมีอยู่จริงของมันมีความสำคัญไม่แพ้ประเด็นที่ว่า มันอยู่อย่างไร ทำงานอย่างไร ดีหรือเลว)
ผมมีความเห็นว่า Thaksinomics มีหน้าที่ในการดำรงอยู่ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง มากกว่าในฐานะชุดของนโยบายเศรษฐกิจที่มีเนื้อหาสาระและตัวตนเฉพาะ อย่างที่ระบอบหนึ่งๆ ควรจะเป็น Thaksinomics เป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการสร้างยี่ห้อทางการเมือง เป็นหนึ่งในกระบวนการทำสินค้า(ทางการเมืองที่ผลิตโดยคุณทักษิณ)ให้ผู้บริโภคในตลาดนโยบายรู้สึกแตกต่าง Thaksinomics ทำหน้าที่เป็น “เปลือก” หุ้มสินค้าเดิมๆ ให้ดูแตกต่างทันสมัย แม้เนื้อหาข้างในจะกลวงโบ๋ ซ้ำซาก ไร้อุดมการณ์เบื้องหลัง และไร้จุดยืน ก็ตามเช่นนี้แล้ว สำหรับเจ้าของที่ต้องการขายสินค้ายี่ห้อนี้ การที่สังคมยอมรับการมีอยู่ของมัน ก็คือ การยอมรับว่าสินค้านั้นแตกต่างจากสินค้าอื่นจริง จะใช้ดีหรือไม่ สะอาดหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่คนให้ “คุณค่า” และถูก “ทำให้เชื่อ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึง “ความแตกต่าง” ของมัน เป็นทุนทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของคุณทักษิณ ที่ทำให้เขาแตกต่างโดดเด่นเหนือนักการเมืองอื่น
เหตุใดผมจึงคิดว่า Thaksinomics ไม่มีจริง? ผมคิดว่า หากเราจะเรียกนโยบายเศรษฐกิจว่าเป็น “ระบอบ” อะไรสักอย่าง ชุดของนโยบายเศรษฐกิจนั้นต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นสิ่งที่เจ้าของระบอบได้คิดใหม่ทำใหม่ขึ้นมา อย่างแท้จริง อย่างแตกต่างจากชุดความคิดเดิม มุมมองต่อโลกเดิม ที่เคยคิดเคยเชื่อกันอยู่แล้ว นอกจากนั้น ชุดของนโยบายเศรษฐกิจต้องมี “ความคงเส้นคงวา” (Consistency) อย่างยิ่ง และสามารถสืบค้นไปถึง “อุดมการณ์” (Ideology) ที่อยู่เบื้องหลังชุดของนโยบายเศรษฐกิจเหล่านั้นได้ Thaksinomics ไม่มีลักษณะสำคัญดังกล่าว เราจึงไม่ควรให้คุณค่ามันในฐานะระบอบ ในทางกลับกันเราจำเป็นต้องตรวจสอบการดำรงอยู่ของมัน ก่อนที่จะถูกทำให้เชื่อง และเชื่อในการมีอยู่ของมันอย่างง่ายๆ หรืออย่างไม่รู้ตัว เหตุผลสำคัญที่ผมคิดว่า Thaksinomics มีสถานะเพียงแค่เครื่องมือทางการเมือง หาใช่ระบอบเศรษฐกิจใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจาก
หนึ่ง Thaksinomics ไม่มีแก่นแกนความคิดที่เป็นระบบ และไม่มีความคงเส้นคงวาของนโยบาย เต็มไปด้วยความคิดและนโยบายเศรษฐกิจที่สะเปะสะปะ แยกส่วน ยากจะหาจุดร่วม ไม่มีความคิดองค์รวมที่เป็นระบบ หาแก่นแกนที่เป็นปรัชญาพื้นฐานหรืออุดมการณ์เบื้องหลังไม่ได้
หากถามผมว่า ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของคุณทักษิณคืออะไร ผมตอบไม่ได้ เพราะมันไม่มีคุณทักษิณเป็นนักธุรกิจทั้งตัวและหัวใจ หาใช่นักเศรษฐศาสตร์ไม่ ไม่ว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์กระแสใด
วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มีเป้าหมายเพื่อจัดสรรทรัพยากรส่วนรวมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งแตกต่างจากนักธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด สนใจเฉพาะส่วนของตัวเองเป็นสำคัญ มิได้ใส่ใจภาพรวม หรือป่าทั้งป่า ที่มีตัวละครหลากหลายประกอบกันเป็นเศรษฐกิจ ต้องเข้าใจว่า หน่วยเศรษฐกิจหนึ่งอาจดีขึ้นรวยขึ้นภายใต้การแบกรับต้นทุนของหน่วยเศรษฐกิจอื่น
วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสรอง มีเป้าหมายเพื่ออธิบายกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ปัจจัยทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม โดยส่วนมาก มีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมในบั้นปลาย วิธีคิดเช่นนี้ยิ่งแตกต่างจากวิธีคิดของนักธุรกิจทั่วไปในระบบทุนนิยมที่ให้คุณค่ากับการแสวงหาความร่ำรวยส่วนตนเหนือสิ่งอื่นใด หาได้ใส่ใจปัจจัยอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่ มิหนำซ้ำ บ่อยครั้ง บนเส้นทางแสวงหาความร่ำรวยยังได้ทำลายความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม
เช่นนี้แล้ว ชุดของนโยบายเศรษฐกิจในรัฐบาลทักษิณจึงมิได้มีจุดปลายเพื่อให้สังคมส่วนรวมมีสวัสดิการสูงสุด (คนทั่วไปในสังคมกินดีอยู่ดีมากที่สุด) แต่อย่างใด หากเป็นนโยบายเฉพาะส่วน เฉพาะกลุ่ม เสียมากกว่า กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มอาจได้ประโยชน์จากบางนโยบาย โดยที่กลุ่มอื่นต้องแบกรับภาระต้นทุน
แม้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้จะเป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลอื่นก็จริง แต่เมื่อนำนโยบายที่แยกส่วนมาผสมกันแล้ว กลับขัดแย้งไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
นโยบายเศรษฐกิจแต่ละนโยบายตอบสนองอุดมการณ์ต่างรูปแบบกัน อย่างชนิดที่ไม่น่าจะอยู่ร่วมกันได้ ดังเช่น การผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับนโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่น โฆษณาชวนเชื่อว่าส่งเสริมให้คนไทยและประเทศไทยพึ่งตนเอง ยืนอยู่บนขาตนเอง แต่กลับใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทำให้ชาวบ้านมีหนี้และต้องพึ่งรัฐมากขึ้น อีกทั้ง ยังผลักดันนโยบายเปิดเสรีการค้าและการเงิน ที่ลดอำนาจอธิปไตยในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและทำให้ต้องพึ่งพิงภาคต่างประเทศมากขึ้น
ตัวอย่างอื่นๆ ของนโยบายที่ขัดแย้งกันเองในเชิงอุดมการณ์ เช่น นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ(เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กับนโยบายแปลงวิสาหกิจเอกชนเป็นของรัฐ (เช่น รถไฟฟ้าหรือซื้อสโมสรฟุตบอล) นโยบายให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคน แต่ใช้ผลกำไรของหวยบนดิน ที่ทำลายคุณภาพคน นโยบายประกาศสงครามกับคอร์รัปชั่นทั้งที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น
สอง โดยเนื้อหาแล้ว นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณมิได้มีชุดความคิดหรือนโยบายเศรษฐกิจที่คิดใหม่ทำใหม่ ไม่มีการประดิษฐ์องค์ความรู้ใหม่ทางเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลก็ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจคล้ายกันนี้ โดยด้านหนึ่ง ใช้นโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่นส่งเสริมการเปิดเสรี แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ลดการกำกับควบคุมของภาครัฐ เป็นมิตรกับสถาบัน “ตลาด” ตามแรงกดดันจากสถาบันแบบเสรีนิยมใหม่ เช่น จากองค์กรระหว่างประเทศ อย่าง IMF จากสิ่งแวดล้อมของโลกาภิวัตน์ ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ใช้นโยบายชาตินิยม ท้องถิ่นนิยม และประชานิยม เช่น ช่วยเหลือกลุ่มทุนในประเทศ เอาใจคนยากจนระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้คนจนหายจน และลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย นโยบายหรือเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ เช่น นโยบายรัฐสวัสดิการทั้งหลาย นโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ก็เคยมีผู้ใช้ในอดีต หรือเลียนแบบต้นตอมาจากต่างประเทศแล้วนำมาประยุกต์ ปรับปรุง จัดหีบห่อเสียใหม่
ลำพังการพิจารณาเฉพาะรูปแบบการบริหารที่แตกต่าง เช่น การตัดสินใจอย่างฉับไว การดึงอำนาจบริหารแทบทุกระดับเข้าสู่ตัวเองเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท การใช้วิถีนักธุรกิจมาบริหารระบบราชการ ความโดดเด่นและเหนือชั้นด้านการตลาด ฯลฯ ไม่เพียงพอที่จะเรียกมันว่า “ระบอบใหม่” เพราะปัจจัยเหล่านั้นเป็นเพียงระดับพื้นผิวหรือเปลือกนอก หาใช่ระดับเนื้อในที่เป็นแก่นแท้ของมัน
Thaksinomics จึงเป็นระบอบ (จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ระบอบ) ที่เราให้คุณค่ามันสูงเกินไป ทั้งที่ไส้ในฉาบฉวยสับสน ไร้อุดมการณ์เบื้องหลัง ไร้จุดยืน มิได้ผลิตองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาใหม่แต่อย่างใด มิพักต้องเอ่ยถึงปัญหาการขาดกติกากำกับควบคุมที่ดี (Good Governance) นอกจากนั้น ชุดของนโยบายเศรษฐกิจอาจสร้างภาระให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว ดังที่นักเศรษฐศาสตร์มักวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนืองๆ
น่าเศร้าตรงที่ คนไทยสามารถทำได้ดีที่สุด ก็แค่ “รู้ทัน” เท่านั้น
รู้ทัน ... แล้วไงต่อล่ะครับ ?
ทางออกสำหรับคนกลัวถูกกระทืบอยู่ตรงไหนครับ ?
-- ปกป้อง จันวิทย์
ผมคิดว่า Thaksinomics ไม่มีจริง หากเป็นเพียงวาทกรรมที่ถูกริเริ่มสร้างขึ้นและผลิตซ้ำบ่อยครั้งโดยฝ่ายนิยมทักษิณ จนติดปาก สื่อมวลชนและสังคม ที่ทางของ Thaksinomics เหมือนกับเป็นวาระที่ถูกกำหนดมาให้แล้ว จำเป็นต้องยอมรับมัน จนดูเสมือนว่าเราทำได้ แค่เพียงตอบคำถามว่า เราจะ “อธิบาย” มันอย่างไร “อยู่” กับมันอย่างไร และมันจะนำเราไปสู่อะไรThaksinomics ลอยมาจากที่ใดและปักรากอยู่ในสังคมเศรษฐกิจไทยตั้งแต่เมื่อใด ผมเชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ตัวและยังรู้สึกงงๆ อยู่ รู้ตัวอีกทีเราก็อยู่ภายใต้ Thaksinomics กันหมดแล้ว จึงถือเป็นภาระที่จะคิด ฟัง อ่าน เขียน เพื่อ “เข้าใจ” มันให้มากที่สุด จะได้ “วิเคราะห์” และ “วิจารณ์” มันได้ เมื่อนักวิชาการพยายามผลิตคำอธิบายและหาเหตุผลประกอบดำรงอยู่ของมัน (เสมือนว่ามันมีอยู่จริง มันมีอยู่แล้ว) นักวิชาการจึงได้แต่เล่นตามเกมวาทกรรมที่ถูกกำหนดวาระมาแล้วตั้งแต่ต้น ยิ่งทุ่มทรัพยากร ทั้งสมองและเวลา ในการผลิตคำอธิบายด้วยเหตุผลทางวิชาการ ไม่ว่าจะในทางบวกหรือลบ มากเท่าใด ก็ยิ่งสะท้อนความเชื่อที่ว่า Thaksinomics มีอยู่จริง และยิ่งยืนยันความเชื่อว่าระบอบดังกล่าวมีลักษณะตัวตนเฉพาะ (Identity) ซึ่งแตกต่างออกไปจากระบอบอื่นหรือ แตกต่างจากอดีต จริงความชอบธรรม (ในการดำรงอยู่) ของระบอบดังกล่าวก็เกิดขึ้น แม้จะเป็นระบอบที่ไม่ชอบธรรมก็ตาม หรือจะเป็นระบอบที่ชอบธรรมก็ตาม (ซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกต่อไปแล้ว แต่ประเด็นสำคัญคือ เรายอมรับการมีอยู่ของมันแล้วต่างหาก ซึ่งการยอมรับการมีอยู่จริงของมันมีความสำคัญไม่แพ้ประเด็นที่ว่า มันอยู่อย่างไร ทำงานอย่างไร ดีหรือเลว)
ผมมีความเห็นว่า Thaksinomics มีหน้าที่ในการดำรงอยู่ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง มากกว่าในฐานะชุดของนโยบายเศรษฐกิจที่มีเนื้อหาสาระและตัวตนเฉพาะ อย่างที่ระบอบหนึ่งๆ ควรจะเป็น Thaksinomics เป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการสร้างยี่ห้อทางการเมือง เป็นหนึ่งในกระบวนการทำสินค้า(ทางการเมืองที่ผลิตโดยคุณทักษิณ)ให้ผู้บริโภคในตลาดนโยบายรู้สึกแตกต่าง Thaksinomics ทำหน้าที่เป็น “เปลือก” หุ้มสินค้าเดิมๆ ให้ดูแตกต่างทันสมัย แม้เนื้อหาข้างในจะกลวงโบ๋ ซ้ำซาก ไร้อุดมการณ์เบื้องหลัง และไร้จุดยืน ก็ตามเช่นนี้แล้ว สำหรับเจ้าของที่ต้องการขายสินค้ายี่ห้อนี้ การที่สังคมยอมรับการมีอยู่ของมัน ก็คือ การยอมรับว่าสินค้านั้นแตกต่างจากสินค้าอื่นจริง จะใช้ดีหรือไม่ สะอาดหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่คนให้ “คุณค่า” และถูก “ทำให้เชื่อ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึง “ความแตกต่าง” ของมัน เป็นทุนทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของคุณทักษิณ ที่ทำให้เขาแตกต่างโดดเด่นเหนือนักการเมืองอื่น
เหตุใดผมจึงคิดว่า Thaksinomics ไม่มีจริง? ผมคิดว่า หากเราจะเรียกนโยบายเศรษฐกิจว่าเป็น “ระบอบ” อะไรสักอย่าง ชุดของนโยบายเศรษฐกิจนั้นต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นสิ่งที่เจ้าของระบอบได้คิดใหม่ทำใหม่ขึ้นมา อย่างแท้จริง อย่างแตกต่างจากชุดความคิดเดิม มุมมองต่อโลกเดิม ที่เคยคิดเคยเชื่อกันอยู่แล้ว นอกจากนั้น ชุดของนโยบายเศรษฐกิจต้องมี “ความคงเส้นคงวา” (Consistency) อย่างยิ่ง และสามารถสืบค้นไปถึง “อุดมการณ์” (Ideology) ที่อยู่เบื้องหลังชุดของนโยบายเศรษฐกิจเหล่านั้นได้ Thaksinomics ไม่มีลักษณะสำคัญดังกล่าว เราจึงไม่ควรให้คุณค่ามันในฐานะระบอบ ในทางกลับกันเราจำเป็นต้องตรวจสอบการดำรงอยู่ของมัน ก่อนที่จะถูกทำให้เชื่อง และเชื่อในการมีอยู่ของมันอย่างง่ายๆ หรืออย่างไม่รู้ตัว เหตุผลสำคัญที่ผมคิดว่า Thaksinomics มีสถานะเพียงแค่เครื่องมือทางการเมือง หาใช่ระบอบเศรษฐกิจใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจาก
หนึ่ง Thaksinomics ไม่มีแก่นแกนความคิดที่เป็นระบบ และไม่มีความคงเส้นคงวาของนโยบาย เต็มไปด้วยความคิดและนโยบายเศรษฐกิจที่สะเปะสะปะ แยกส่วน ยากจะหาจุดร่วม ไม่มีความคิดองค์รวมที่เป็นระบบ หาแก่นแกนที่เป็นปรัชญาพื้นฐานหรืออุดมการณ์เบื้องหลังไม่ได้
หากถามผมว่า ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของคุณทักษิณคืออะไร ผมตอบไม่ได้ เพราะมันไม่มีคุณทักษิณเป็นนักธุรกิจทั้งตัวและหัวใจ หาใช่นักเศรษฐศาสตร์ไม่ ไม่ว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์กระแสใด
วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มีเป้าหมายเพื่อจัดสรรทรัพยากรส่วนรวมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งแตกต่างจากนักธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด สนใจเฉพาะส่วนของตัวเองเป็นสำคัญ มิได้ใส่ใจภาพรวม หรือป่าทั้งป่า ที่มีตัวละครหลากหลายประกอบกันเป็นเศรษฐกิจ ต้องเข้าใจว่า หน่วยเศรษฐกิจหนึ่งอาจดีขึ้นรวยขึ้นภายใต้การแบกรับต้นทุนของหน่วยเศรษฐกิจอื่น
วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสรอง มีเป้าหมายเพื่ออธิบายกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ปัจจัยทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม โดยส่วนมาก มีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมในบั้นปลาย วิธีคิดเช่นนี้ยิ่งแตกต่างจากวิธีคิดของนักธุรกิจทั่วไปในระบบทุนนิยมที่ให้คุณค่ากับการแสวงหาความร่ำรวยส่วนตนเหนือสิ่งอื่นใด หาได้ใส่ใจปัจจัยอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่ มิหนำซ้ำ บ่อยครั้ง บนเส้นทางแสวงหาความร่ำรวยยังได้ทำลายความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม
เช่นนี้แล้ว ชุดของนโยบายเศรษฐกิจในรัฐบาลทักษิณจึงมิได้มีจุดปลายเพื่อให้สังคมส่วนรวมมีสวัสดิการสูงสุด (คนทั่วไปในสังคมกินดีอยู่ดีมากที่สุด) แต่อย่างใด หากเป็นนโยบายเฉพาะส่วน เฉพาะกลุ่ม เสียมากกว่า กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มอาจได้ประโยชน์จากบางนโยบาย โดยที่กลุ่มอื่นต้องแบกรับภาระต้นทุน
แม้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้จะเป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลอื่นก็จริง แต่เมื่อนำนโยบายที่แยกส่วนมาผสมกันแล้ว กลับขัดแย้งไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
นโยบายเศรษฐกิจแต่ละนโยบายตอบสนองอุดมการณ์ต่างรูปแบบกัน อย่างชนิดที่ไม่น่าจะอยู่ร่วมกันได้ ดังเช่น การผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับนโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่น โฆษณาชวนเชื่อว่าส่งเสริมให้คนไทยและประเทศไทยพึ่งตนเอง ยืนอยู่บนขาตนเอง แต่กลับใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทำให้ชาวบ้านมีหนี้และต้องพึ่งรัฐมากขึ้น อีกทั้ง ยังผลักดันนโยบายเปิดเสรีการค้าและการเงิน ที่ลดอำนาจอธิปไตยในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและทำให้ต้องพึ่งพิงภาคต่างประเทศมากขึ้น
ตัวอย่างอื่นๆ ของนโยบายที่ขัดแย้งกันเองในเชิงอุดมการณ์ เช่น นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ(เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กับนโยบายแปลงวิสาหกิจเอกชนเป็นของรัฐ (เช่น รถไฟฟ้าหรือซื้อสโมสรฟุตบอล) นโยบายให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคน แต่ใช้ผลกำไรของหวยบนดิน ที่ทำลายคุณภาพคน นโยบายประกาศสงครามกับคอร์รัปชั่นทั้งที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น
สอง โดยเนื้อหาแล้ว นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณมิได้มีชุดความคิดหรือนโยบายเศรษฐกิจที่คิดใหม่ทำใหม่ ไม่มีการประดิษฐ์องค์ความรู้ใหม่ทางเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลก็ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจคล้ายกันนี้ โดยด้านหนึ่ง ใช้นโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่นส่งเสริมการเปิดเสรี แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ลดการกำกับควบคุมของภาครัฐ เป็นมิตรกับสถาบัน “ตลาด” ตามแรงกดดันจากสถาบันแบบเสรีนิยมใหม่ เช่น จากองค์กรระหว่างประเทศ อย่าง IMF จากสิ่งแวดล้อมของโลกาภิวัตน์ ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ใช้นโยบายชาตินิยม ท้องถิ่นนิยม และประชานิยม เช่น ช่วยเหลือกลุ่มทุนในประเทศ เอาใจคนยากจนระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้คนจนหายจน และลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย นโยบายหรือเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ เช่น นโยบายรัฐสวัสดิการทั้งหลาย นโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ก็เคยมีผู้ใช้ในอดีต หรือเลียนแบบต้นตอมาจากต่างประเทศแล้วนำมาประยุกต์ ปรับปรุง จัดหีบห่อเสียใหม่
ลำพังการพิจารณาเฉพาะรูปแบบการบริหารที่แตกต่าง เช่น การตัดสินใจอย่างฉับไว การดึงอำนาจบริหารแทบทุกระดับเข้าสู่ตัวเองเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท การใช้วิถีนักธุรกิจมาบริหารระบบราชการ ความโดดเด่นและเหนือชั้นด้านการตลาด ฯลฯ ไม่เพียงพอที่จะเรียกมันว่า “ระบอบใหม่” เพราะปัจจัยเหล่านั้นเป็นเพียงระดับพื้นผิวหรือเปลือกนอก หาใช่ระดับเนื้อในที่เป็นแก่นแท้ของมัน
Thaksinomics จึงเป็นระบอบ (จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ระบอบ) ที่เราให้คุณค่ามันสูงเกินไป ทั้งที่ไส้ในฉาบฉวยสับสน ไร้อุดมการณ์เบื้องหลัง ไร้จุดยืน มิได้ผลิตองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาใหม่แต่อย่างใด มิพักต้องเอ่ยถึงปัญหาการขาดกติกากำกับควบคุมที่ดี (Good Governance) นอกจากนั้น ชุดของนโยบายเศรษฐกิจอาจสร้างภาระให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว ดังที่นักเศรษฐศาสตร์มักวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนืองๆ
น่าเศร้าตรงที่ คนไทยสามารถทำได้ดีที่สุด ก็แค่ “รู้ทัน” เท่านั้น
รู้ทัน ... แล้วไงต่อล่ะครับ ?
ทางออกสำหรับคนกลัวถูกกระทืบอยู่ตรงไหนครับ ?
-- ปกป้อง จันวิทย์